Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7010
Title: การศึกษาเปรียบเทียบการรณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์แก่เด็กหูหนวกโดยผ่านสื่อละครใบ้และสื่อละครใบ้ประกอบภาษามือ
Other Titles: A comparative study of AIDS education for deaf students through pantomime and pantomime with sign language
Authors: ทิตวัจน์ ณรงค์แสง
Advisors: จาระไน แกลโกศล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Jaranai.G@chula.ac.th
Subjects: เด็กหูหนวก
ละครใบ้
โรคเอดส์ -- การป้องกันและควบคุม
ภาษามือ
การรับรู้
การโน้มน้าวใจ
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงความรู้เรื่องโรคเอดส์และทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียนหูหนวก ก่อนและหลังการชมละครใบ้และละครใบ้ประกอบภาษามือ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 120 คน ซึ่งเป็นนักเรียนหูหนวกระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนเศรษฐเสถียร และโรงเรียนโสตศึกษาทุ่งมหาเมฆ ในรูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimentation) ด้วยวิธี one-group Pretest-posttest design และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความรู้เรื่องโรคเอดส์ของนักเรียนหูหนวกภายหลังชมละครใบ้ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียนหูหนวกภายหลังชมละครใบ้มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 3. ความรู้เรื่องโรคเอดส์ของนักเรียนหูหนวกภายหลังชมละครใบ้ประกอบภาษามือมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 4. ทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียนหูหนวกภายหลังชมละครใบ้ประกอบภาษามือมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 5. นักเรียนหูหนวกกลุ่มที่ชมละครใบ้ประกอบภาษามือมีความรู้เรื่องโรคเอดส์เพิ่มขึ้นแตกต่างจากนักเรียนกลุ่มที่ชมละครใบ้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6. นักเรียนหูหนวกกลุ่มที่ชมละครใบ้ประกอบภาษามือมีทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์ดีขึ้นแตกต่างจากนักเรียนกลุ่มที่ชมละครใบ้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สำหรับความคิดเห็นที่มีต่อสื่อละครใบ้และละครใบ้ประกอบภาษามือ พบว่านักเรียนส่วนใหญ่ได้รับความรู้และความสนุกสนานจากสื่อที่ตนได้รับ โดยสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ดี และส่วนใหญ่คิดว่ามีความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคเอดส์ดีขึ้น และคิดว่าสามารถอธิบายให้เพื่อนเข้าใจได้ หากมีการเผยแพร่ในครั้งต่อไป นักเรียนส่วนใหญ่สนใจที่จะรับสื่อทั้ง 2 ประเภทนี้อีก
Other Abstract: The purpose of this study is to find the differences of knowledge and attitude towards AIDS among deaf students before and after seeing the pantomime and the pantomime with sign language. A quasi-experimental research with a one-group pretest-posttest design was implemented with 120 samples from setsatian and Thungmahamek deaf schools with grade 7-9 students. Means of percentage, frequency and t-test were used to analysis the data. The result of the research could be summed up as follows: 1. The knowledge on AIDS of deaf students after seeing the pantomime does not differ at significance level .05. 2. The attitude towards AIDS of deaf students after seeing the pantomime is different at significance level .001. 3. The knowledge on AIDS of deaf students after seeing the pantomine with sign language is different at significance level .001. 4. The attitude towards AIDS of deaf students after seeing the pantomime with sign language is different at significance level .001. 5. Deaf students seeing the pantomime with sign language have increased their knowledge on AIDS different from the deaf students seeing the pantomime at significance level .01. 6. In term of attitude change, deaf students seeing the pantomime with sign language have changed more positively than those seeing only the pantomime at significance level .01. The students got knowledge and entertainment from their media. They could understand the contents and got more information. So they could share their knowledge with their friends. Besides, most of them wanted to receive pantomime and pantomime with sign language again.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7010
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.289
ISBN: 9743347909
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.289
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Titawat.pdf9.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.