Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70162
Title: การฟื้นฟูสภาพของเสียซีโอไลต์ซึ่งปนเปื้อนคลอไรด์ด้วยกระบวนการทางเคมีและกายภาพ
Other Titles: Regeneration of chloride contaminated zeolite waste by chemical and physical process
Authors: กวิศรา หอมชื่น
Advisors: อรทัย ชวาลภาฤทธิ์
เรวดี อนุวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Orathai.C@Chula.ac.th
Rewadee_A@Tistr.or.th
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาการฟื้นฟูสภาพของเสียซีโอไลต์ที่ใช้ในกระบวนการกำจัดก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ ซึ่งปนเปื้อนอยู่ในก๊าซไฮโดรเจนในโรงกลั่นน้ำมัน โดยทำการศึกษาวิธีการฟื้นฟูสภาพของเสียซีโอไลต์โดยใช้สารละลายกรดและด่าง สารละลายกรดและด่างร่วมกับความร้อน และไฟฟ้าเคมี โดยทำการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการฟื้นฟูได้แก่ความเข้มข้นของสารละลาย ระยะเวลาการเกิดปฏิกิริยา อุณหภูมิของสารละลาย ความหนาแน่นของกระแสไฟฟ้า และค่าพีเอชเริ่มต้นของสารละลายอิเล็กโทรไลต์ ที่มีผลต่อการฟื้นฟูสภาพของเสียซีโอไลต์ดังกล่าวเทียบกับน้ำปราศจากไอออน รวมทั้งการศึกษาองค์ประกอบ โครงสร้าง พื้นที่ผิว ปริมาตรรูพรุนและขนาดของรูพรุนของซีโอไลต์ที่ผ่านการฟื้นฟูสภาพแล้วด้วยวิธีการวิเคราะห์ XRD XRF SEM และ BET  พบว่าสภาวะการฟื้นฟูของเสียซีโอไลต์ที่เหมาะสมที่ดีที่สุดคือการใช้สารละลายด่างโซเดียมไฮดรอกไซด์ 0.3 โมลาร์ ที่ระยะเวลา 60 นาที มีประสิทธิภาพสูงสุดการคายคลอไรด์เท่ากับร้อยละ 81.86 โดยมีปริมาณคลอไรด์เหลือในของเสียซีโอไลต์ ต่ำสุดเท่ากับ 3.88 มก.คลอไรด์ต่อกรัมซีโอไลต์ ผลการวิเคราะห์โครงสร้างและองค์ประกอบจากการฟื้นฟูสภาพของเสียซีโอไลต์ด้วยสารละลายด่างโซเดียมไฮดรอกไซด์ก่อให้เกิดการสร้างผลึกที่ดีกว่า ซึ่งรูปแบบโครงสร้างใกล้เคียงกับซีโอไลต์บริสุทธิ์ สอดคล้องกับองค์ประกอบหลักของซีโอไลต์โดยเฉพาะปริมาณโซเดียม ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการกำจัดก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ จึงเป็นสภาวะการทดลองที่เหมาะสมที่สุดที่มีแนวโน้มการนำกลับมาใช้ใหม่และยังสามารถลดการเกิดของเสียจากการกำจัดของเสียซีโอไลต์ด้วยวิธีการฝังกลบและการเผา
Other Abstract: This research studies on the regeneration of chloride contaminated zeolite wastes which were used for remove hydrogen chloride gas from hydrogen stream in gas separation unit of petroleum refinery process. The regeneration of chloride contaminated zeolite wastes by acid and base rinsing, thermal desorption and electrochemical process were investigated. This study, initial solution concentration, contact time, temperature, current density and pH of electrolyte solution were varied to find the optimum condition. In addition, the zeolite wastes were characterized by XRD, XRF, SEM, and Brunauer-Emmett-Teller (BET) surface area techniques. Results from testing showed that optimum condition could be achieved using NaOH 0.3 M and reaction time of 60 minutes. The efficiency of chloride desorption was 81.86% and chloride residual in regenerated zeolite was 3.88 mg chloride/g zeolite. The result of XRD represents the structure and composition of zeolite regenerated by NaOH were most likely pure zeolite which was consistent the case of the zeolite treated with sodium hydroxide solution, the proceeds in a more complete conformation and produces better crystallinity and Na content in zeolite affected the absorption potential. Consequently, it can be concluded that the regeneration of zeolite wastes could be recycle. Moreover, the regeneration process has shown several advantages such as reduction of waste disposal by landfilling.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70162
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570416821.pdf8.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.