Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7020
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ประสบการณ์การมีอาการ กลวิธีการจัดการอาการเจ็บหน้าอก กับความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลืดเฉียบพลัน โรงพยาบาลศูนย์ภาคใต้
Other Titles: Relationships between personal factors, symptom experiences, chest pain management strategies, and self-care ability of atients with acute ischemic syndromes, regional hospitals and medical centers, southern region
Authors: จรรวมล แพ่งโยธา
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: hchanokp@pioneer.netserv.chula.ac.th
Subjects: กล้ามเนื้อหัวใจตาย -- ผู้ป่วย
หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค
การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
โรงพยาบาลศูนย์ -- ไทย (ภาคใต้)
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ การมีอาการ กลวิธีการจัดการอาการเจ็บหน้าอกกับความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วย กลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยกลุ่ม อาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช โรงพยาบาลสุราษฎ์ธานีและโรงพยาบาลตรัง ทั้งเพศชายและหญิง อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป และยินยอมให้ความร่วมมือในการวิจัย จำนวน 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามประสบการณ์การมีอาการ แบบสอบถาม กลวิธีการจัดการอาการเจ็บหน้าอกและแบบสอบถามความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยกลุ่ม อาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โดยเครื่องมือที่ใช้ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และหาความเที่ยงของแบบสอบถามประสบาการณ์การมีอาการ แบบสอบถามกลวิธีการจัดการ อาการและแบบสอบถามความสามารถในการดูแลตนเอง โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา ของ คอนบาคได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .82 ,.81 และ .80 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติหาค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน สถิติอีต้าและไคแสควร์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยกลุ่ม อาการหัวใจ ขาดเลือดเฉียบพลัน อยู่ในระดับปานกลาง (xbar = 2.01 SD = .23) โดยความสามารถ ในการดูแลตนเองอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน คือด้านเบี่ยงเบนทางสุขภาพ ด้านทั่วไปและด้าน พัฒนาการ (xbar = 2.20, 2.12 และ 1.81 ตามลำดับ) 2.ประสบการณ์การมีอาการของผู้ป่วยกลุ่ม อาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันอยู่ในระดับมาก (xbar = 3.62, SD = .39) 3. กลวิธีการจัดการอาการ เจ็บหน้าอกด้วยวิธีใช้ยาของผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันอยู่ในระดับปานกลาง (xbar = 2.95, SD = 1.08) และกลวิธีการจัดการอาการเจ็บหน้าอกด้วยวิธีไม่ใช้ยาของผู้ป่วย กลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันอยู่ในระดับปานกลาง (xbar = 2.31, SD = 1.10) 4. รายได้ ระยะเวลาการเจ็บป่วย กลวิธีการจัดการอาการเจ็บหน้าอกมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถ ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=190,.188และ.657ตามลำดับ) 5. เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์มีอาการ ไม่มีความ สัมพันธ์กับความสามารถในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (p > .05)
Other Abstract: The purpose of this research was to study the relationships between personal factors, symptom experience, chest pain management strategies, and self care ability of patients with acute ischimic syndromes. The sample consisited of 150 patients admitted at the medical department at Maharaja Nakornsithammarat Hospital, Surajtane Hospital, and Trung Hospital. The patients were males and females, 20 years old and over, and voluntarity participated in the study. Data were collected by using by the following instruments : personal data questionnaire, symptom experiences questionnaire, chest pain management strategies questionnaire. and self care ability questionnaire. All instruments were validated by a panel of experts. The reliability of the instrument was .82, .81, and .80, receptively. The data were analyzed using mean, standard deviation, Pearson Product Moment., Eta and Chi-Square test. The research findings were as follows : 1. Self - care ability of the patients with acute coronary syndrome were at the medium level (xbar = 2.01), health deviation requisites, universal self - care requisites, development self - care requisites mean score were at the medium level. (xbar = 2.20, 2.12 and 1.81 respectively). 2. Symptom Experiences of the patients with acute coronary syndrome were at the medium level (xbar = 3.62, SD = .39). 3. Chest pain management strategies (using medicines) were at the medium level (xbar = 2.95, SD = 1.08), chest pain management strategies (using medicines) were at the medium level (xbar = 2.31, SD = 1.10). 4. There were positively statistical correlation between incomes, time of illness, chest pain management strategies and self - care ability at the level of .05 (r = .190,. 188 and .657, respectively). 5. There was no correlation between sex, age, education, symptom experiences and self - care ability.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7020
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.542
ISBN: 9741433301
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.542
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
janwamon.pdf2.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.