Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70282
Title: การศึกษาการเกิดเศษโลหะของเหล็กกล้าไร้สนิม ในกระบวนการผลิตวาล์วควบคุมแรงดัน สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์
Other Titles: Study of chip formation in stainless steel in pressure control valve process for auto part manufacturing
Authors: พยุห์ เกิดจงรักษ์
Advisors: สมเกียรติ ตั้งจิตสิตเจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Somkiat.Ta@Chula.ac.th
Subjects: โลหะ -- การตกแต่งชิ้นงาน -- การลดปริมาณของเสีย
อุตสาหกรรมยานยนต์ -- การลดปริมาณของเสีย
Metals -- Finishing -- Waste minimization
Motor vehicle industry -- Waste minimization
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเกิดเศษโลหะของเหล็กกล้าไร้สนิม เนื่องจากพบปัญหาเศษโลหะติดอยู่ในรูของชิ้นงาน จากการเก็บข้อมูลของเสียระหว่างเดือนสิงหาคม-ตุลาคม พ.ศ.2562 ในไลน์การผลิตที่ 1 และไลน์การผลิตที่ 2 พบว่าทั้งสองไลน์การผลิตมีสัดส่วนของเสียเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.11 หรือคิดเป็น 1,130 PPM ต่อเดือน ในการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 5 ระยะ โดยในระยะที่ 1 ทำการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา พบว่าปัญหาเศษโลหะติดอยู่ในรูชิ้นงานเกิดในกระบวนการกลึงปาดหน้าด้วยมีดตัดหยาบเนื่องจากลักษณะของเศษโลหะที่เกิดปัญหากับเศษโลหะในกระบวนการมีความใกล้เคียงกันทั้งขนาดและรูปร่าง ระยะที่ 2 ศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเศษโลหะ โดยพบว่ามีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการแตกหักและทิศทางของเศษโลหะคือเงื่อนไขการตัด ที่ประกอบด้วย ความลึกตัด อัตราป้อนตัดและความเร็วรอบสปินเดิล ระยะที่ 3 กำหนดขั้นตอนในวิธีดำเนินการวิจัย ระยะที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ปัจจุบันเศษโลหะมีโอกาสตกลงไปในรูของชิ้นงานทุกระยะตัด จากผลการเปลี่ยนเงื่อนไขการตัด พบว่าเงื่อนไขที่เหมาะสมคือเงื่อนไขที่ 1 คือการเพิ่มความลึกตัดให้มากสุดที่ไม่ส่งผลต่อขนาดของชิ้นงาน เนื่องจากเศษโลหะจะมีความหนาเพิ่มขึ้นทำให้แตกหักง่าย มีความโค้งงอที่ลดลง จาก 2.04-3.12 มิลลิเมตร เป็น 0.56-1.48 มิลลิเมตร ทิศทางการแตกหักจะชนกับชิ้นงานทำให้กระเด็นไปทางอื่น ผลทดลองกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 ข้อมูล ไม่พบปัญหาเศษโลหะติดอยู่ในรูชิ้นงานเนื่องจากขนาดของเศษโลหะที่เล็กลง สรุปได้ว่าเงื่อนไขการตัดหลังปรับปรุงมีความเหมาะสมในการลดโอกาสที่ทำให้เศษโลหะติดค้างในรูชิ้นงานได้ และระยะที่ 5 สรุปผลการทดลอง ข้อเสนอแนะและอุปสรรคในการทดลอง 
Other Abstract: The thesis's purpose is learning chip formation, due to the problem chip stuck inside hole. Data between August - October in 2019 of production line no.1-2 reveal the average of defect proportion is between 0.11 percentage, or 1,130 PPM per month. Implement categories have 5 steps, the first step is root cause analysis found chip stuck inside hole in rough cutting process because shape and dimension of chip between part in process and claim part are similar. Second step is study theory relate to chip formation. It's revealed that influence factor of chip formation is cutting condition, consist by depth of cut, feed, and spindle speed. Third step. to define how to implement. Forth step is analysis result, from current cutting condition, have a chance to drop inside hole for all cutting phase. The suitable to prevent chip stuck inside hole comes from condition no.1 which adding depth of cut as much as possible with no effect to dimension of part. It can be explained as the more depth of cut, the more chip thickness increase, the more easier chip breakability. Chip curling decreased from 2.04-3.12 mm. to 0.56-1.48 mm. Chip flow direction is flow away from part. Refer to 20 pcs sample not found chip stuck in hole because smaller chip size. Conclude whether cutting condition after adjustment is suitable to decrease a chance of chip stuck inside hole. The fifth step, conclusion suggestion and an obstable of thesis.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70282
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1324
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.1324
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6070943021.pdf2.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.