Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70790
Title: แนวคิดของกลุ่มบุคคลในภาครัฐ ภาควิชาชีพ และภาคประชาชนเกี่ยวกับมาตรการเฝ้าระวังสื่อหนังสือพิมพ์
Other Titles: The government officers', professional and public precepts of the surveillance on the press
Authors: ชื่นกมล สุวรรณโชติ
Advisors: สุกัญญา สุดบรรทัด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Sukanya.S@chula.ac.th
Subjects: อำนาจนิยม
การรู้เท่าทันสื่อ
ข่าวหนังสือพิมพ์
การควบคุมทางสังคม
สื่อมวลชน -- การควบคุม
การสื่อข่าวและการเขียนข่าว
จรรยาบรรณนักหนังสือพิมพ์
หนังสือพิมพ์ -- ความเป็นกลาง
Authoritarianism
Media literacy
Social control
Journalistic ethics
Reporters and reporting
Mass media -- Control
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาแนวคิดของกลุ่มบุคคลในภาครัฐ ภาควิชาชีพ และภาคประชาชนเกี่ยวกับมาตรการเฝ้าระวังสื่อหนังสือพิมพ์ โดยเน้นศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่าง "แนวคิดเชิงอำนาจ" ของบุคคล กับแนวคิดของบุคคลเกี่ยวกับมาตรการเฝ้าระวังสื่อหนังสือพิมพ์ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ อันได้แก่ ภาครัฐ ภาควิชาชีพ และภาคประชาชน โดยภาคประชาชนแบ่งกลุ่มย่อยเป็น กลุ่มบิดา-มารดา กลุ่มครู-อาจารย์ และกลุ่มนักเรียน-นักศึกษา รวมทั้งหมด 200 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์รายบุคคล (Individual Interview) ประกอบไปด้วย คำถามเกี่ยวกับลักษณะทางด้านประชากรศาสตร์ แบบวัดพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชน แบบวัดลักษณะอำนาจนิยม แบบวัดแนวคิดเกี่ยวกับมาตรการเฝ้าระวังสื่อหนังสือพิมพ์ และแบบวัดความคิดเห็นเกี่ยวกับการเสนอข่าวของสื่อหนังสือพิมพ์ ส่วนการวิเคราะห์ใช้การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างคู่ด้วยวิธี T-Method ของ Tukey การทดสอบโดยค่า t-test และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคคลมีแนวคิดเชิงอำนาจแตกต่างกันตามลักษณะของกลุ่ม อายุ และพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) บุคคลมีแนวคิดเกี่ยวกับมาตรการเฝ้าระวังสื่อหนังสือพิมพ์แตกต่างกันตามลักษณะของกลุ่ม และพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ตัวแปรอื่นๆ ไม่มีผลให้บุคคลมีแนวคิดเกี่ยวกับมาตรการเฝ้าระวังสื่อหนังสือพิมพ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 3) บุคคลมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเสนอข่าวของสื่อหนังสือพิมพ์ แตกต่างกันตามลักษณะทางด้านเพศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ตัวแปรอื่นๆ ไม่มีผลให้บุคคลมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเสนอข่าวของสื่อหนังสือพิมพ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 4) แนวคิดเชิงอำนาจของบุคคล มีความสัมพันธ์กับแนวคิดเกี่ยวกับมาตรการเฝ้าระวังสื่อหนังสือพิมพ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยพบว่าผู้ที่มีแนวคิดเชิงอำนาจอยู่ในระดับสูง ก็จะมีแนวคิดเกี่ยวกับมาตรการเฝ้าระวังสื่อหนังสือพิมพ์ที่โน้มเอียงไปในทางอำนาจนิยมสูงด้วย 5) แนวคิดเชิงอำนาจของบุคคล ไม่มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นเกี่ยวกับการเสนอข่าวของสื่อหนังสือพิมพ์ ทั้งในด้านการทำหน้าที่เสนอข่าวสารในปัจจุบัน และในด้านความรับผิดชอบต่อจรรยาบรรณและการคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและวัฒนธรรม
Other Abstract: The main purpose of this research was to study the relationship between people's authoritarian perspective and their precepts of the surveillance on the press. With the purposive sampling technique, 200 people were selected to be the sample divided into 3 groups : Government officers', Professional and the Public. The public was subdivided into parents, teachers and students. The questionairs designed for data gathering consisted of the questions about respondents' demographic information and the attitude rating scale of their exposure to the mass media, of their authoritarian characteristics, of their precepts of the surveillance on the press, and of their opinions about the press performance. Finally, data analysis was presented in a form of percentage, mean, one-way analysis of variance (one-way ANOVA), t-test, test of mean difference by t-method, and the Pearson Product Moment of Correlation. The results indicated that 1) the authoritarian precepts were significantly different according to group types, age and the exposure to the mass media, 2) the precepts of the surveillance on the press were significantly different according to group types and the exposure to the mass media, other factors did not have significantly different effects of the precepts of the surveillance on the press, 3) the opinions about the press performance were significantly different according to sex, other factors did not have significantly different effects of the opinions about the press performance, 4) the authoritarian precepts were significantly correlated to the surveillance precepts, ones who expressed the high authoritarian perspective would show the high surveillance on the press, 5) the authoritarian precepts were not associated with the opinions about the press performance in terms of both present performance and responsibilities for codes of ethics and for social and cultural effects.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การหนังสือพิมพ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70790
ISSN: 9746383035
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chunkamon_su_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ451.32 kBAdobe PDFView/Open
Chunkamon_su_ch1.pdfบทที่ 11.24 MBAdobe PDFView/Open
Chunkamon_su_ch2.pdfบทที่ 21.46 MBAdobe PDFView/Open
Chunkamon_su_ch3.pdfบทที่ 3597.99 kBAdobe PDFView/Open
Chunkamon_su_ch4.pdfบทที่ 44.14 MBAdobe PDFView/Open
Chunkamon_su_ch5.pdfบทที่ 51.74 MBAdobe PDFView/Open
Chunkamon_su_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.