Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70873
Title: Isolation and hybridization of high temperature tolerant killer wine yeasts
Other Titles: การคัดแยกเชื้อและสร้างลูกผสมเชื้อยีสต์หมักไวน์ชนิดทนอุณหภูมิสูง ที่มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อยีสต์อื่น
Authors: Wimolsiri Porntaveewat
Advisors: Romanee Sanguandeekul
Pradit Karuwanna
Angkana Chaiprasert
Other author: Chulalongkorn University. Graduate School
Subjects: Yeast
Fermentation
ยีสต์
แซคคาโรมัยซีส ซีรีวิซิอี
การหมัก
Issue Date: 1987
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Five out of 1,190 strains of yeast, which had been isolated from variuos food and from culture collection of Institute of Food Research and Product Development (IFRPD), -Kasetsart University, exhibited killing activity against sensitive tester strain at elevated temperature (37°C and 40°C). Four selected strains i.e., No. 23, 50, 265 and 266 were identified to be Saccharomyces cerevisiae and the other i.e., KY 78 was Hansenula aturnus. Only Saccharomyces cerevisiae No.266 which had the strongest killing ability and highest killing stability was selected to be parental killer yeast strain. The main objective of this investigation is to produce a high emperature tolelant killer wine yeast. The genetic analysis of wine yeast (strain No. 2) and killer yeast (strain No. 266) was done. Both strains were induced auxotrophic markers by using ethylmethanesulfonate and then crossed the different marked strains together. Complementary genetic markers were used in hybridization to facilitate hybrid recovery. The genotype of the selected strain No.2 was a his (heterothallic) while the genotype of the selected strain No. 266 was a/∝ lys (homothallic). Spore-to-cell mating was used in this research, so that killer wine yeast strain having extended ranges of desirable characteristics can be obtained by genetic techniques. The hybrid could fermented at nearly the same rate as the parental wine strain (No.2) and also had the killing ability as the parental killer strain (No. 266).
Other Abstract: จากการคัดแยกเชื้อยีสต์จำนวน 1,190 สายพันธุ์ ซึ่งได้มาจากการแยกเชื้อยีสต์ที่มีอยู่ในตัวอย่างอาหารชนิดต่าง ๆ รวมทั้งเชื้อยีสต์ที่ได้รับมาจากงานวิจัยที่เกี่ยวกับอาหารของสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่ามีอยู่จำนวน 5 สายพันธุ์เป็นเชื้อยีสต์ที่มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อยีสต์อื่นได้แม้ในที่มีอุณหภูมิสูง ซึ่งมีอยู่ 4 สายพันธุ์ ที่จัดเป็นแซคคาโรมัยซีส ชีรีวิซิอี (Saccharomyces cerevisiae) ได้แก่สายพันธุ์หมายเลข 23 50 265 และ 266 ส่วนอีกหนึ่งสายพันธุ์เป็น แฮนเซนูล่า แชทเทอนัส (Hansenula saturnus) ได้แก่สายพันธุ์ KY 78 พบว่าเชื้อยีสต์หมายเลข 266 เป็นเชื้อยีสต์ที่มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อยีสต์อื่นได้หลายชนิด และมีเสถียรภาพในการฆ่าดี จึงถูกคัดเลือกให้เป็นยีสต์ต้นแบบในการสร้างลูกผสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อยีสต์นี้จัดอยู่ในสายพันธุ์ แซคคาโรมัยซีส ชิรีวิซีอี ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่นิยมมากในการผลิตไวน์ ฉะนั้นเชื้อยีสต์ที่จะนำมาเป็นต้นแบบในการสร้างลูกผสมดังกล่าว ได้แก่ เชื้อยีสต์หมักไวน์สายพันธุ์หมายเลข 2 กับเชื้อยีสต์ที่มีคุณสมบัติในการฆ่า คือ สายพันธุ์หมายเลข 266 ในการสร้างลูกผสมสมควรที่จะต้องมีการวิเคราะห์ลักษณะทางพันธุกรรมก่อน โดยเริ่มจากการชักนำให้ยีสต์ทั้งสองสายพันธุ์นี้มีตำหนิการสร้างกรดอะมิโนและไนโตรจีเนียสเบส (Auxotrophic marker) ที่ต่างกันด้วยสารชักนำให้เกิดการผ่าเหล่า ได้แก่ เอทธิลมีเธนซัลไฟเนท (Ethylmethanesulfonate) เพื่อช่วยให้สามารถติดตามลูกผสมเชื้อยีสต์โดยอาศัยลักษณะโดยตำหนิ (marker) กันสายพันธุ์ต้นแบบที่นำมารวมกับ ซึ่งลูกผสมที่ถูกคัดเลือกจะเป็นสายพันธุ์เจริญเติบโตได้บนอาหารแข็งต่ำสมบูรณ์ชนิดไม่มีกรดอะมิโนอยู่เลย โดยเป็นไปตามหลักคอมพลีเมนทารี (Complememtary) ในการทดลองได้สายพันธุ์ที่เหมาะสมจากการคัดเลือกคือ สายพันธุ์หมายเลข 2 บีจีโนไทพ์ (Genotype) เป็น a his ส่วนสายพันธุ์หมายเลข 266 บีจีโนไทพ์ a/∝ lys ซึ่งเป็นไฮโมธาลลิดยีสต์ ด้วยสาเหตุนี้จึงนำมาผสมโดยตรงระหว่างสเปอร์กับเซลของเชื้อทั้งสองในการสร้างลูกผสม อันเป็นวิธีการหนึ่งที่จะได้เชื้อสายพันธุ์ใหม่ที่มีคุณลักษณะดังกล่าวตามต้องการเมื่อทดสอบคุณสมบัติของการหมักไวน์ของลูกผสมพบว่า มีความสามารถดีใกล้เคียงกับสายพันธุ์หมายเลข 2 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ควบคุมในการหมักไวน์และยังมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อยีสต์อื่นด้วย
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 1987
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Food Technology
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70873
ISBN: 9745679909
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wimolsiri_po_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ898.6 kBAdobe PDFView/Open
Wimolsiri_po_ch1_p.pdfบทที่ 1825.75 kBAdobe PDFView/Open
Wimolsiri_po_ch2_p.pdfบทที่ 21.13 MBAdobe PDFView/Open
Wimolsiri_po_ch3_p.pdfบทที่ 31.71 MBAdobe PDFView/Open
Wimolsiri_po_ch4_p.pdfบทที่ 4642.41 kBAdobe PDFView/Open
Wimolsiri_po_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.