Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70899
Title: ผลกระทบทางเศรษฐกิจของครัวเรือน ที่มีผู้ป่วยวัณโรคในประเทศไทย
Other Titles: Economic impact of tuberculosis on household in Thailand
Authors: จินตนา ศรีวงษา
Advisors: วรวิทย์ หัตตากร
ภิรมย์ กมลรัตนกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Pirom.K@Chula.ac.th
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัณโรคได้กลับมาเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของหลายประเทศอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากการะบาดของโรคเอดส์ ปัญหาเชื้อดื้อยา การรักษาไม่ครบ การย้ายถิ่นและความเป็นอยู่ที่แออัดข้อมูลทางด้านเศรฐกิจมีความสำคัญต่อผู้บริหาร ในการวางแผนนโยบายการควบคุมป้องกันวัณโรค อย่างไรก็ตามในประเทศไทยยังไม่ได้มีการศึกษาถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจของครัวเรือนที่มีผู้ป่วยวัณโรค ดังนั้นการวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจของครัวเรือนที่มีผู้ป่วย วัณโรคในประเทศไทย ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ป่วยวัณโรคที่มารับยาเป็นเดือนสุดท้าย ในศูนย์วัณโรคเขต 4 แห่ง (ศูนย์วัณโรคเขต 3 จ.ชลบุรี ศูนย์วัณโรค เขต 7 จ.อุบลราชธานี ศูนย์วัณโรคเขต 12 จ. ยะลา ศูนย์วัณโรคเขต 9 จ.พิษณุโลก) โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 4 แห่ง (โรงพยาบาลศูนย์พระปกเกล้า จ.จันทบุรี โรงพยาบาลทั่วไป จ.ยโสธร โรงพยาบาลทั่วไป จ.แพร่ โรงพยาบาลศูนย์ยะลา) และโรงพยาบาลชุมชน 8 แห่ง (โป่งน้ำร้อน ท่าใหม่ เด่นชัย ลอง มหาชนะชัย กุดชุม ยะหา และ รามัน) จำนวน 674 ราย จาก 4 ภาค ตัวอย่างถูกคัดเลือกเข้ามาทำการศึกษาโดยใช้วิธี Cluster random sampling ใน 4 ภาคของประเทศไทย และใช้วิธี Self weigthing sampling จากนั้นใช้วิธี Simple random sampling ในระดับสถานบริการโดยทำการเก็บข้อมูลในธันวาคม 2539 โดยใช้ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยวัณโรค 1 รายมีค่าใช้จ่ายตลอดการรักษา 6 เดือน 4,218 บาท คิดเป็นร้อยละ 32.3 ของรายได้เฉลี่ยผู้ป่วยต่อปี ร้อยละ 6.8 ของรายได้เฉลี่ยครัวเรือนต่อปี ร้อยละ 6.8 ของรายได้เฉลี่ยต่อหัว มีค่าใช้จ่ายก่อนมารับการรักษาที่สถานบริการของรัฐ เฉลี่ย 2,732 บาท ในการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของค่าใช้จ่ายดังกล่าว พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในแต่ละภาค และในแต่ละระดับสถานบริการ แต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ในผู้ป่วยวัณโรค แต่ละประเภท และมีค่าใช้จ่ายทางตรงเฉลี่ย 724 บาทต่อผู้ป่วย 1 ราย ค่าใช้จ่ายทางอ้อมเฉลี่ย 2,564 บาทต่อผู้ป่วย 1 ราย อัตราส่วนของค่าใช้จ่ายทางตรง และ ค่าใช้จ่าย ทางอ้อม คิดเป็น 1:3.5
Other Abstract: Tuberculosis is currently re-emerging as a major public health problem in many countries. This disease re-emerge because of increasing of HIV infection, multi-drug resistance, immigration and life style changing . The economic data is very importance to policy maker for planning in the national tuberculosis control programme. However in Thailand there is no such study about economic impact of tuberculosis on household. Therefore the purpose of this study was to investigate the economic impact of tuberculosis on household in Thailand. The subject were the patients with tuberculosis who recieved anti-tuberculosis drug treatment in four Tuberculosis center (Chonburi province, Pisanuloke province, Ubolrachathani province, Yala Province), four provincial hospital (Chunthaburi, Phrea, Yasothorn, Yala) and eight district hospital (Pong-Num-Ron, Thamai, Denchai, Long, Kudchum, Mahachanachai, Ramun, Yaha). There were 674 patients who were recruited in this study. The sample was selected by Stratified random sampling in 4 region in Thailand, using self weighting sampling. Then, simple random sampling was used at health care level. The questionaire was be structured for this study and the data collection was collect in December 1996. It was found that the average total cost of tuberculosis patient in six months of treatment was 4,218 Baths per case which equal to 32.3 % of the patient’s income, 6.8 % of the households income and 6.8 % of the Gross Domestic Product per capita. The expenditure of tuberculosis patient prior to recieved treatment was 2,732 Baths. There was statistical difference significant among the average total cost in each region, health care’s level but no statistical difference in kind of tuberculosis patient. The average direct cost of TB patient was 724 Baths and indirect cost was 2,564 Baths. The ratio of direct cost and indirect cost was 1:3.5.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ชุมชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70899
ISBN: 9746363697
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jintana_sr_front_p.pdf975.18 kBAdobe PDFView/Open
Jintana_sr_ch1_p.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Jintana_sr_ch2_p.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open
Jintana_sr_ch3_p.pdf813.91 kBAdobe PDFView/Open
Jintana_sr_ch4_p.pdf2.34 MBAdobe PDFView/Open
Jintana_sr_ch5_p.pdf982.85 kBAdobe PDFView/Open
Jintana_sr_back_p.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.