Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70949
Title: | กราฟแสดงผลผลิตน้ำนมของโคนมลูกผสมโฮลสไตน์ฟรีเชียนระยะให้นมครั้งที่ 1 ในประเทศไทย |
Other Titles: | Lactation curves of the first lactation period of holstein friesian crossbred in Thailand |
Authors: | อังคณา เมฆวิลัย |
Advisors: | จันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ ศักดิ์ชัย โตภาณุรักษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Chancharat.R@Chula.ac.th Sakchai.T@Chula.ac.th |
Subjects: | ผลผลิตน้ำนม โคนม พันธุกรรม Milk yield Dairy cattle Heredity |
Issue Date: | 2541 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นข้อมูลโคนมลูกผสมโฮลลไตน์ฟรีเชียน ในโครงการ คปร. ที่เก็บรวบรวมโดย องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) มีจำนวนข้อมูลเข้าทำการวิเคราะห์ทั้งสิ้น 3,926 ระเบียน ประมาณค่าสหสัมพันธ์ทางลักษณะพันธุกรรมและลักษณะ ปรากฏระหว่างลักษณะปริมาณน้ำนมที่ 100 วัน กับลักษณะปริมาณน้ำนมปรับที่ 305 วัน ลักษณะปริมาณน้ำนมที่ 100 วัน กับลักษณะปริมาณน้ำนมทั้งหมด และลักษณะปริมาณน้ำนมปรับที่ 305 วัน กับลักษณะปริมาณนํ้านมทั้งหมด ด้วยวิธี DF-REML (Derivative Free Restricted Maximum Likelihood) ได้ค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของลักษณะข้างต้น เท่ากับ 0.818 0.319 และ 0.727 ตามลำดับ ค่าสหสัมพันธ์ทางลักษณะปรากฏมีค่าเท่ากับ 0.405 0.318 และ 0.665 ตามลำดับ สมการสำหรับสร้างกราฟแสดงผลผลิตน้ำนมที่สร้างได้โดยใช้ Wood's gamma function ( Y1 = athe-cl ) ในโคที่มีระยะการให้นมตั้งแต่ 7 เดือนขึ้นไป และในโคที่มีระยะการให้นมเท่ากับ 10 เดือน คือ Y1 = 11.205/0 203e-0123 และ Y1 = 11.070/0255e-0119 ตามลำดับ สมการที่สร้างได้โดยใช้ Exponential function (Y1 = ae-tk ) คือ Y1 = 11,334e-0066' และ Y1 = 11.497e-0056' ตามลำดับ และสมการที่สร้างได้โดยใช้ Parabolic exponential function (Y1 = ac hl+c'2 ) คือ Y1 = 10.794e0035/-0003/2และ Y1 = 10.128e0015/-0007/2 ตามลำดับเส้นกราฟ ที่สร้างได้จากสมการทั้ง 3 แบบสามารถอธิบายลักษณะของการให้ผลผลิตนํ้านม โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ตัวกำหนด (Coefficient of determination , R2) เท่ากับ 0.224 0.210 0.219 และ 0.234 0.206 0.226 ในโคที่มีระยะการให้นมตั้งแต่ 7 เดือนขึ้นไป และโคที่มีระยะการให้นมเท่ากับ 10 เดือน ตามลำดับ และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation coefficient , r) ระหว่างข้อมูลปริมาณนํ้านมจริงกับข้อมูลปริมาณนํ้านมที่ได้จากการประมาณโดยใช้สมการที่สร้างได้ทั้ง 3 แบบ ในโคที่มีระยะการให้นมตั้งแต่ 7 เดือนขึ้นไป มีค่าเท่ากับ 0.985 0.978 และ 0.970 ตามลำดับ และในโคที่มีระยะการให้นมเท่ากับ 10 เดือน มีค่าเท่ากับ 0.995 0.930 และ 0.974 ตาม ลำดับ เมื่อพิจารณาฟังก์ชั่นที่นำมาสร้างสมการพบว่าเส้นกราฟที่ได้จากการสร้างโดย Wood’s gamma function เท่านั้น ที่แสดงการเพิ่มขึ้นของผลผลิตน้ำนมในช่วงเดือนแรกถึงเดือนที่ 2 ของการให้นม ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของการให้นมในโคนม |
Other Abstract: | Milk production records of 3,926 cows in the Government Dairy Promotion Project were used in this study. Genetic and phenotypic correlations between milk yield at 100 day and adjusted milk yield at 305 day, milk yield at 100 day and total milk yield and adjusted milk yield at 305 day and total milk yield analyzed by Derivative Free Restricted Maximum Likelihood (DF-REML) were 0.818, 0.319, 0.727 and 0.405, 0.318, 0.665 , respectively. Lactation curves which were analyzed by Wood's gamma function (Y1 =athe-a) for cows having milk production for 7 months and 10 months were Y1 = 11.205/0203e-0123/ and Y1 = 11.070/0225e-0119/ , respectively. Lactation curves produced by Exponential function analysis function (Y1= ae-kl ) for 7 and 10 months lactation periods were Y1= 11.334e-0066/ and Y1 = 11.497e-0056/ , respectively. Lactation curves which were analyzed by Parabolic exponential function (Y1= ae ht+ct2) for 7 and 10 months lactation periods were Y1 = 10.794e-0035/-0003/2 and Y1= 10.128e0015/-0 007/2 , respectively. All models explain milk production traits with coefficient of determination (R2) of 0.224, 0.210, 0.219 and 0.234, 0.206, 0.226 for 7 and 10 months lactation periods respectively. Correlation coellicienl (r) between milk production records and milk production predicted by corresponding lactation curves were 0.985, 0.978, 0.970 and 0.995, 0.930, 0.974 for Wood's gamma function, Exponential function and Parabolic exponential function for 7 and 10 months lactation periods 1 respectively. Lactation curves analyzed by Wood's gamma function can explain both the ascending and descending phases of milk production better than the other two functions. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70949 |
ISBN: | 9743311688 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Angkana_ma_front_p.pdf | หน้าปก และบทคัดย่อ | 962.74 kB | Adobe PDF | View/Open |
Angkana_ma_ch1_P.pdf | บทที่ 1 | 849.19 kB | Adobe PDF | View/Open |
Angkana_ma_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
Angkana_ma_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Angkana_ma_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 1.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Angkana_ma_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Angkana_ma_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 1.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Angkana_ma_back_p.pdf | บรรณานุกรม และภาคผนวก | 1.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.