Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70997
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุนทร บุญญาธิการ-
dc.contributor.authorวันเอก กิจสมใจ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-11-25T05:31:12Z-
dc.date.available2020-11-25T05:31:12Z-
dc.date.issued2539-
dc.identifier.isbn9746344757-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70997-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539en_US
dc.description.abstractการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่ออุณหภูมิผิวภายนอกของผนังอาคาร มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาปัจจัยที่มีผล ต่อผิววัสดุภายนอกของผนังอาคาร เพื่อแนวทางการออกแบบผนังภายนอกของอาคารที่เหมาะสม โดยวัสดุที่เลือกใช้ในการทดลองเปรียบเทียบทั่ว ๆ ไปมี 2 ประเภท ได้แก่ วัสดุที่มีมวลสารมากคือ คอนกรีต และวัสดุที่มีมวลสารน้อยคือ โพลีสไดรีนโฟม ส่วนปัจจัยที่ทำการศึกษาได้แก่ ตำแหน่งการติดตั้งฉนวน การดูดความร้อน ความหยาบของพื้นผิว การกระจายรังสีความร้อน มวลสารและความจุความร้อน และสร้างอาคารทดลองขนาด 7.5 X 7.5 เมตร ซึ่งบุฉนวนทุกด้านเพื่อให้อาคารไม่มีอิทธิพลจากความร้อนใด ๆ ภายนอกเข้ามาเที่ยวข้อง ติดตั้งผนังทดลองแต่ละชนิดกับอาคารด้านทิศใต้ และวัดอุณหภูมิผิวภายนอกของผนังแต่ละชนิดเปรียบเทียบกันทั้งในภาวะที่มีการควบคุมอุณหภูมิภายในห้องทดลองและไม่มีการควบคุมอุณหภูมิภายในห้องทดลอง ผลการทดลองปัจจัยด้านมวลสารพบว่า การเพิ่มความหนาของวัสดุมวลสารมาก ที่มีการนำความร้อนสูง ทำให้อุณหภูมิผิวภายนอกเปลี่ยนแปลงช้าลง และการเพิ่มความหนาของวัสดุมวลสารน้อย ที่มีการนำความร้อนตํ่า ทำให้อุณหภูมิผิวภายนอกเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น ผลการทดลองปัจจัยด้านความหยาบของพื้นผิวเฉพาะกรณีวัสดุ มวลสารมากพบว่า ความหยาบของพื้นผิวที่มากขึ้น ทำให้อุณหภูมิผิวภายนอกเปลี่ยนแปลงได้เร็วขึ้น ผลการทดลองปัจจัยด้านการดูดกลืนความร้อนพบว่า ในเวลาที่มีแสงแดดผนังที่มีสีเข้มจะมีอุณหภูมิผิวสูงกว่าผนังที่มีสีอ่อน ส่วนในเวลาที่ไม่มีแสงผนังสีเข้มและผนังสีอ่อนอุณหภูมิผิวจะลดลงจนมีอุณหภูมิใกล้เคียงกันแต่วัสดุที่มิมวลสารมาก อุณหภูมิผิวจะลดลงช้ากว่าวัสดุที่มีมวลสารน้อย ผลการทดลองปัจจัยด้านการกระจายความร้อนพบว่า ผนังที่มีค่า การกระจายความร้อนสูงจะมีอุณหภูมิผิวสูงกว่าปกติในเวลากลางวัน และอุณหภูมิผิวลดได้ต่ำกว่าปกติในเวลากลาง คืน และ วัสดุที่มีมวลสารมากอุณหภูมิจะลดลงช้ากว่าวัสดุที่มีมวลสารน้อย ผลการทดลองปัจจัยด้านตำแหน่งการติดตั้งฉนวนพบว่า การติดตั้งฉนวนไว้ภายนอกทำให้อุณหภูมิผิวสูงกว่าปกติในเวลากลางวันและอุณหภูมิผิวลดได้ตํ่ากว่าปกติในเวลากลางคืน เมื่อเปรียบเทียบกับการติดตั้งฉนวนไว้ภายใน นอกจากนั้น ยังพบว่าถ้าเพิ่มความหนาของฉนวนที่ติดตั้งเอาไว้ภายนอกให้มากขึ้นทำให้อุณหภูมิผิวภายนอกเปลี่ยนแปลงได้เร็วขึ้นในเวลากลางวัน แต่ในเวลากลางคืนอุณหภูมิผิวของฉนวนทุกความหนาลดลงมาจนใกล้เคียงกัน การทดลองทั้งหมดในภาวะปรับอากาศภายใน และไม่ปรับอากาศภายในได้ผลสอดคล้องกัน แต่อย่างไรก็ตามผลจากการปรับอากาศทำให้อุณหภูมิผิวภายนอกลดต่ำกว่าการไม่ปรับอากาศเนื่องจากอัตราการถ่ายเทความร้อนเปลี่ยนแปลงไม่เป็นไปอย่างอิสระตามธรรมชาติ ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางตัดสินใจในการออกแบบรายละเอียดของผนังภายนอกอาคารใน กรณีที่มีการใช้งานภายนอกอาคาร ให้มิอุณหภูมิตํ่าที่สุดตามความต้องการ โดยพิจารณาจากผลของปัจจัยต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาในข้างต้น-
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research is to study factors affecting external wall surface temperature in order to find guideline of suitable external wall design. The materials used in this experiment were high thermal mass, ie. Concrete and low thermal mass, ie. Polystyrene foam. The study is about the effects of the position of insulation installment, heat absorbtion, surface roughness, emissivity, thermal mass and heat capacity. Every side of the experimental building size 7.5 X 7.5 meters were installed with insulation for protecting the affect from outside air temperature. Each different testing panel was installed to the south side to compare the external surface temperature. The testing process in all cases were held in both non-controlled and controlled room temperature. The result from the thermal mass experiment shows that the increasing of concrete thickness with high conduction caused a gradual change in the external wall surface temperature, while the increasing of polystyrene foam with low conduction caused a rapid change in external wall surface temperature. Also, the experiment of the surface roughness in the case of concrete material found that the increasing in the surface roughness will make the temperature of external surface change rapidly. Moreover, the result from the heat absorption experiment found that during daytime, wall with dark colour will cause higher temperature than the lighter one. Without sunlight, the temperature of both light and dark colour wall gradually reduced to the same level. However, the temperature of polystyrene foam will reduce faster than that of concrete thickness. The outcome from the surface emissivity factor experiment found that wall with high surface emissivity will have higher surface temperature during daytime^ and lower than the normal level at night. Besides, the temperature of the concrete thickness will reduce at a slower rate than that of polystyrene foam. The results of fixing the position of the insulator factor found that positioning the insulator outside will cause the surface temperature to be higher in the daytime and lower at night when compared to the experiment whereby the insulator was placed indoor. In addition, if the thickness of the insulator placed outside is increased, the surface temperature will change more gradually in the daytime. At night, however, the surface temperature of the insulator regardless of the thickness will reduce to the same level. All the tests in the case of controllable temperature indoor and non-controllable temperature indoor will generate similar result. However, the lower inside temperature will cause the external surface temperature to reduce to a lower level than the non-controllable temperature, since the rate of heat transfer will not change freely. The result of this research can use as a guideline for the decision of external wall designed with low surface temperature by using the above mentioned.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectผนังภายนอกen_US
dc.subjectความร้อน -- การถ่ายเทen_US
dc.subjectวัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้าง -- สมบัติทางความร้อนen_US
dc.titleปัจจัยที่มีต่ออุณหภูมิผิวภายนอกของผนังอาคารen_US
dc.title.alternativeFactors affecting external wall surfaceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSoontorn.B@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wan-Ake_gi_front_p.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
Wan-Ake_gi_ch1_p.pdf940.7 kBAdobe PDFView/Open
Wan-Ake_gi_ch2_p.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Wan-Ake_gi_ch3_p.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open
Wan-Ake_gi_ch4_p.pdf6.64 MBAdobe PDFView/Open
Wan-Ake_gi_ch5_p.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open
Wan-Ake_gi_back_p.pdf630.94 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.