Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71088
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จาระไน แกลโกศล | - |
dc.contributor.author | สาทิศ เขียวชะอุ่ม | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2020-11-27T07:43:25Z | - |
dc.date.available | 2020-11-27T07:43:25Z | - |
dc.date.issued | 2539 | - |
dc.identifier.isbn | 9746340662 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71088 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาเปรียบเทียบภาพลักษณ์องค์กรที่เกิดขึ้นจากการเสนอข่าวของหนังสือพิมพ์ จำนวน 12 ฉบับ เกี่ยวกับโครงการโทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมาย และการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนผู้ใช้บริการโทรศัพท์จำนวน 100 คนทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ผลการวิจัยพบว่า ภาพลักษณ์องค์กรที่เกิดขึ้นจากแหล่งข้อมูลทั้งสองมีความแตกต่างกัน โดยผลที่เกิดขึ้นจากการเสนอข่าวของหนังสือพิมพ์จำนวน 12 ฉบับ พบว่า บริษัทเทเลคอมเอเชียฯ มีภาพลักษณ์ด้านบวกมากที่สุด องค์การโทรศัพท์ฯ และบริษัทไทยเทเลโฟนฯ มีภาพลักษณ์ด้านบวกรองลงมาตามลำดับ ส่วนกระทรวงคมนาคมปรากฏภาพลักษณ์ในเชิงกลาง ๆ มากที่สุด เมื่อจำแนกหนังสือพิมพ์จำนวน 12 ฉบับ ออกเป็น 2 ประเภท คือหนังสือพิมพ์ทั่วไปกับหนังสือพิมพ์ธุรกิจ พบว่า ผลการเสนอข่าวของหนังสือพิมพ์ทั้ง 2 ประเภท มีความแตกต่างกัน โดยหนังสือพิมพ์ทั่วไปเสนอ ข่าวเกี่ยวกับบริษัทเทเลคอมเอเชียฯ เป็นภาพลักษณ์เชิงบวกมากที่สุด รองลงมาบริษัทไทยเทเลโฟนฯ ส่วนองค์การโทรศัพท์ฯ ปรากฏภาพลักษณ์เชิงลบ กระทรวงคมนาคมปรากฏภาพลักษณ์ในเชิงกลาง ๆ สำหรับหนังสือพิมพ์ธุรกิจ ปรากฏผลด้านภาพลักษณ์เชิงบวกกับบริษัทเทเลคอมเอเชียฯ มากที่สุดองค์การโทรศัพท์ฯ และบริษัทไทยเทเลโฟนฯ มีภาพลักษณ์เชิงบวก รองลงมาตามลำดับ กระทรวงคมนาคม ปรากฏภาพลักษณ์เชิงกลางๆ มากที่สุด การสำรวจความคิดเห็นประชาชนผู้ใช้บริการโทรศัพท์ ผลปรากฏว่าประชาชนมีทัศนคติที่ดีต่อองค์การโทรศัพท์ฯ มากที่สุด รองลงมาบริษัทเทเลคอมเอเชียฯ บริษัทไทยเทเลโฟนฯ และกระทรวงคมนาคม ประชาชนมีทัศนคติเชิงเป็นกลาง ในคุณสมบัติเด่นด้านภาพลักษณ์องค์กร พบว่าองค์การโทรศัพท์ฯ มีคุณสมบัติเด่นมากที่สุด รองลงมาคือบริษัทเทเลคอมเอเชียฯ บริษัทไทยเทเลโฟนฯ และ กระทรวงคมนาคมมีคุณสมบัติเด่นปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบผลการศึกษาทั้ง 2 ลักษณะแล้ว สามารทสรุปได้ว่า มีความแตกต่างกัน ระหว่างผลที่เกิดขึ้นจากการเสนอข่าวของหนังสือพิมพ์ กับการสำรวจความคิดเห็นประชาชนผู้ใช้บริการโทรศัพท์ | - |
dc.description.abstractalternative | The main purpose of the research is to find the organization images reflected in Thai newspaper concerning the Three-Million-Lines Telephone Expansion Project. The research methodologies concerned are content analysis to locate the images and the survey of 100 subscribers inhabitant in Bangkok and some major provinces to recheck the reflection. The result of the research could be summed up that the image result as cause by 12 newspaper reflects that TelecomAsia Corporation Limited Public Company (TA) holds the most positive image, follow by Telephone Organization of Thailand (TOT) and Thai Telephone & Telecommunications Limited Public Company respectively and the Ministry of Transport and Communications (MOTC) was neutral. Comparing between the images as reflected in the two types of newspapers, it is found that the images are found to be significantly different in such the way that among the 4 organization concerned the main images tends to be positive in case of TA i and TT&T, tends to be negative in case of TOT and tends to be neutral in case of MOTC. As ! appeared in business newspapers the images of all 3 organizations TA, TOT and TT&T appears to be positive whereas MOTC appears to be neutral. 100 telephone subscribers enrolled in the field interview, however, had a reverse point of view, that is, TOT is considered as the most favorable, followed by TA, while TT&T and MOTC is ; reported of neutral issue. Regarding positive qualifications of organizational images, TOT had I most noticeable qualities among other organizations, followed by TA while those of TT&T and ; MOTC were average. Comparing the study on organizational images from the two aforementioned sources, the evidence, conclusively, provided obviously distinctive difference results. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | หนังสือพิมพ์ -- ภาพลักษณ์ | - |
dc.title | การศึกษาภาพลักษณ์องค์กรจากเนื้อหาหนังสือพิมพ์ : กรณีโทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมาย | - |
dc.title.alternative | Study of organization image as appeared in newspaper content concerning three-million-lines telephone expansion project | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | การสื่อสารมวลชน | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Satis_ke_front_p.pdf | 959.37 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Satis_ke_ch1_p.pdf | 1.09 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Satis_ke_ch2_p.pdf | 1.58 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Satis_ke_ch3_p.pdf | 971.28 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Satis_ke_ch4_p.pdf | 7.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Satis_ke_ch5_p.pdf | 2.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Satis_ke_back_p.pdf | 2.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.