Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71104
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุจิตรา สวัสดิวงษ์-
dc.contributor.authorสมบัติ สิริคงคาสกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-11-30T01:56:15Z-
dc.date.available2020-11-30T01:56:15Z-
dc.date.issued2539-
dc.identifier.isbn9746360221-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71104-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของการสอนกลวิธีในการสื่อสารที่มีต่อความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 2) ศึกษาความคงทนของความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนที่ได้รับการสอนกลวิธีในการสื่อสาร 3) ศึกษาผลของการสอนกลวิธีในการสื่อสารที่มีต่อการใช้กลวิธีในการสื่อสารของนักเรียนที่ ได้รับการสอนกลวิธีในการสื่อสาร 4) ศึกษาความคงทนของการใช้กลวิธีในการสื่อสารของนักเรียนที่ได้รับการสอนกลวิธีในการสื่อสาร ตัวอย่างประชากรในการวิจัยคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนธนบุรีวรเทพีพลารักษ์กรุงเทพมหานครปี : การศึกษา 2539 ซึ่งได้จากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงมา 2 กลุ่ม ๆ ละ 20 คน โดยสุ่มให้นักเรียนกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่ม ทดลองที่ได้รับการสอนกลวิธีในการสื่อสาร และอีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนแบบปกติ ผู้วิจัยสอนนักเรียนทั้งสองกลุ่มด้วยตนเอง ใช้เวลาสอนทั้งสิ้น 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการสอน กลุ่มละ 12 แผน แบบสอบความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร จำนวน 2 ฉบับ ที่เป็นแบบสอบคู่ขนาน และ แบบสังเกตการใช้กลวิธี ในการสื่อสารจำนวน 1 ฉบับ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น ผู้วิจัยทำการทดสอบความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนทั้ง 2 กลุ่มหลังสิ้นสุดการทดลองด้วยแบบสอบฉบับที่ 1 และทดสอบความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในกลุ่มทดลองหลังการทดลอง 3 สัปดาห์ โดยใช้แบบสอบฉบับที่ 2 และประเมินความถี่ในการใช้กลวิธีในการสื่อสารของกลุ่มทดลอง ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และหลังการทดลอง 3 สัปดาห์ แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที และค่าร้อยละ ผลกาวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนที่ได้รับสอนกลวิธีในการสื่อสารมีความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. นักเรียนที่ได้รับการสอนกลวิธีในการสื่อสารไม่มีความคงทนของความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนที่เป็นตัวอย่างประชากรที่ได้รับการสอนกลวิธีในการสื่อสารมีการใช้กลวิธีในการสื่อสารหลังการทดลองมากกว่าก่อนการทดลอง 4. นักเรียนที่เป็นตัวอย่างประชากรที่ได้รับการสอนกลวิธีในการสื่อสารไม่มีความคงทนของการใช้กลวิธีในการสื่อสาร-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to investigate 1) the effect of communication strategy instruction on English oral communicative proficiency, 2) the retention of English oral communicative proficiency of students taught by using communication strategy, 3) the effect of communication strategy instruction on using communication strategy and 4) the retention of [using communication strategy of students taught by using communication strategy. The samples of this study were two' groups, 20 students each of mathayom suksa three students purposively selected from Thonburi Worathephiphalarak School, Bangkok Metropolis, in the academic year 1996. They were randomly assigned as the experimental group taught by using communication strategy and the control group taught by using conventional method. Th^ researcher taught each group by himself for 6 weeks. The research instruments were 12 lesson plans per group, 2 parallel sets of speaking proficiency test and a set of communication strategy observation form constructed by the researcher. The first speaking proficiency test was administered to both groups at the end of the experiment. Three weeks after the experiment, the second speaking proficiency test was administered to the experimental group. The communication strategy observation form was used to collect communication strategy of the experimental group before the experiment, at the end of and three weeks after the experiment. The collected data were analyzed by means of arithmetic mean, standard deviation, t- test and percentage. The results of the study were as follows: 1. The students taught by using communication strategy gained higher English oral comunicative proficiency than those [taught by using conventional method at the .01 level of significance. 2. The students taught by using communication strategy gained no retention of English oral communicative proficiency at the .05 level of significance. 3. The samples taught by using communication strategy used more communication strategy after the experiment than before the experiment. 4. The samples taught by using communication strategy gained no retention of using communication strategy.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectการสื่อสาร-
dc.subjectการสื่อทางภาษาพูด-
dc.subjectภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)-
dc.subjectCommunication-
dc.subjectOral communication-
dc.subjectEnglish language -- Study and teaching (Secondary)-
dc.titleผลของการสอนกลวิธีในการสื่อสารที่มีต่อความสามารถ ในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3-
dc.title.alternativeEffect of communication strategy instruction on English oral communicative proficiency of mathayom suksa three students-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineมัธยมศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sombat_si_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อและสารบัญ959.16 kBAdobe PDFView/Open
Sombat_si_ch1_p.pdfบทที่ 11.07 MBAdobe PDFView/Open
Sombat_si_ch2_p.pdfบทที่ 24.93 MBAdobe PDFView/Open
Sombat_si_ch3_p.pdfบทที่ 31.34 MBAdobe PDFView/Open
Sombat_si_ch4_p.pdfบทที่ 4848.96 kBAdobe PDFView/Open
Sombat_si_ch5_p.pdfบทที่ 51.01 MBAdobe PDFView/Open
Sombat_si_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก3.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.