Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7124
Title: โมเดลสมการโครงสร้างเชาวน์ปัญญา ความฉลาดทางอารมณ์ ความคิดสร้างสรรค์ กลยุทธ์ในการศึกษาและการเรียนรู้ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: A structural equation model of intelligence quotient, emotional intelligence, creative thinking, learning and studying strategies, and academic achievement of undergraduate students, Chulalongkorn University
Authors: มีนมาลย์ สุภาผล
Advisors: ศิริชัย กาญจนวาสี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Sirichai.k@chula.ac.th
Subjects: ความฉลาดทางอารมณ์
ระดับสติปัญญา
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ความคิดสร้างสรรค์
ลิสเรลโมเดล
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างของเชาวน์ปัญญา ความฉลาดทางอารมณ์ ความคิดสร้างสรรค์ กลยุทธ์ในการศึกษาและการเรียนรู้ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และเพื่อตรวจสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดล ระหว่างสายสังคมศาสตร์ และสายวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิตระดับปริญญาบัณฑิตจำนวน 720 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ตัวแปรภายในแฝง 2 ตัวแปร คือ กลยุทธ์ในการศึกษาและการเรียนรู้ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตัวแปรภายนอกแฝง 3 ตัวแปร คือ เชาวน์ปัญญา ความฉลาดทางอารมณ์ ความคิดสร้างสรรค์ กลยุทธ์ในการศึกษาและการเรียนรู้ วัดจากตัวแปรสังเกตได้ 18 ตัวแปร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบเชาวน์ปัญญาเมตริกซ์ก้าวหน้าขั้นสูง แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ด้วยรูปภาพแบบ A แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์สำหรับผู้ใหญ่ (อายุ 18-60 ปี) และแบบสอบถามกลยุทธ์ในการศึกษาและการเรียนรู้ ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงตั้งแต่ 0.64-0.99 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์โมเดลลิสเรล และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างกลุ่มพหุ ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแฝงมีค่าอยู่ระหว่าง 0.002-0.825 ซึ่งทุกคู่เป็นความสัมพันธ์แบบมีทิศทางเดียวกันโดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกลยุทธ์ในการศึกษาและการเรียนรู้กับตัวแปรผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าสูงสุด (0.825) รองลงมา คือ ตัวแปรกลยุทธ์ในการศึกษาและการเรียนรู้กับตัวแปรความฉลาดทางอารมณ์ (0.658) 2. โมเดลภาพรวม ประกอบด้วย ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงสูงสุดต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิต ระดับปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ ตัวแปรกลยุทธ์ในการศึกษาและการเรียนรู้ และตัวแปรที่มีอิทธิพลรวมสูงสุดต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ ตัวแปรความฉลาดทางอารมณ์ โดยผ่านตัวแปรกลยุทธ์ในการศึกษาและการเรียนรู้ 3. โมเดลโดยภาพรวมมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยให้ค่า X[superscript 2] = 55.2, p = 0.687, df = 58, GFI = 0.990, AGFI = 0.973 และ RMR = 0.103 ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ร้อยละ 84.4 และโมเดลมีความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดลระหว่างสายการศึกษา โดยให้ค่า X [subscript 2]=107.21, p=0.449, df = 106, GFI = 0.975, NFI = 0.979, RFI = 0.945 และ RMR =0.141 แต่มีความแปรเปลี่ยนของค่าพารามิเตอร์ที่ทดสอบ
Other Abstract: The purpose of this research were to develop the structural equation model of intelligence quotient, emotional intelligence, creative thinking, learning and study strategy and academic achievement, to examine the goodness of fitting of the model to the empirical data, and to test invariance of the model of the effectiveness of different science. The research sample consisted of 720 undergraduate students, Chulalongkorn University; the variables consisted of two endogenous latent variables: learning and study strategy and academic achievement; and three exogenous latent variables: intelligence quotient, emotional intelligence and creative thinking. These latent variables were measure by 18 observed variables. Data were collected by Advanced Progressive Matrices-APM, Torrance Test of Creative Thinking Figural Form A, testing of emotional intelligence and testing of learning and study strategy having reliability from 0.64-0.99 and analyzed by using descriptive statistics, Pearson's product moment correlation, LISREL analysis and multiple group structural equation model analysis. The major findings were as follows: 1. Correlation coefficient between latent variable having between 0.002-0.825. These latent variables are positively correlated. Correlation coefficient between learning and study strategy with academic achievement (0.825) learning and study strategy with emotional intelligence (0.658) 2. The structural equation model showed that variable having maximum direct effect to academic achievement was learning and study strategies and variable having maximum total effect was emotional intelligence through learning and study strategy. 3. The structural equation model was valid and fit to the empirical data. The model indicated that the Chi-square goodness of fit to test was 55.27, p = 0.687, df = 58, GFI = 0.990, AGFI = 0.973 and RMR = 0.103 the model accounted for 84.4% of variance in effectiveness of academic achievement. The structural equation model indicated invariance of model form among two different sciences. The structural equation model indicated that the Chi-square goodness of fit test was 107.21, p = 0.449, df = 106, GFI = 0.975, NFI = 0.979, RFI = 0.945 and RMR = 0.141. But the tested parameters were not invariant among 2 fields of study.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7124
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1379
ISBN: 9741738137
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.1379
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
meenamal.pdf4.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.