Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71256
Title: การเปิดรับสื่อ ความผูกพัน และพฤติกรรมการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน
Other Titles: Consumer's exposure, engagement and behavior of ordering food via application
Authors: วรรณกานต์ สุวรรณมุข
Advisors: สุทธิลักษณ์ หวังสันติธรรม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อศึกษาการเปิดรับสื่อ ความผูกพัน และพฤติกรรมการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันสั่งและส่งอาหาร รูปแบบของการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกับกลุ่มผู้บริโภคที่สั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันในช่วงระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา อายุระหว่าง 18 – 45 ปี อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 390 คน แบ่งเป็นผู้สั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันไลน์แมน จำนวน 130 คน ผู้สั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันแกร็บฟู้ด จำนวน 130 คน และผู้สั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันเก็ท จำนวน 130 คน โดยใช้สถิติที่ใช้ทดสอบ คือ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และค่าสถิติถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1).ผู้บริโภคมีการเปิดรับสื่อจากแอปพลิเคชันสั่งและส่งอาหาร อยู่ในระดับปานกลาง โดยเปิดรับสื่อจากตราสัญลักษณ์บริเวณเสื้อหรือกระเป๋าของพนักงานส่งอาหารมากที่สุด 2).ความผูกพันที่ผู้บริโภคมีต่อแอปพลิเคชันสั่งและส่งอาหารอยู่ในระดับสูงโดยให้ความเห็นสูงสุดต่อข้อความ ท่านรู้สึกเสียดายเมื่อไม่มีแอปพลิเคชันไลน์แมน แกร็บฟู้ด และเก็ทให้สั่งอาหารอีกต่อไป 3).การตัดสินใจสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคอยู่ในระดับสูง 4).การเปิดรับสื่อและความผูกพันของผู้บริโภคมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 5).ความผูกพันมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันมากที่สุด (β= 0.405)
Other Abstract: The objectives of this quantitative research studied consumer’s exposure, engagement and behavior of ordering food via food delivery application. The researcher used questionnaires to collect the data from 390 respondents who is 18 – 45 years old, living in Bangkok and ordering food via food delivery application., LINEMAN application 130 respondents GrabFood application 130 respondents and GET application 130 respondents, the statistical techinques was used for analyzing the data were frequency distribute, mean, percentage, standard deviation, Pearson’s correlation coefficient and Multiple Regression Analysis. The result showed that 1). Consumers’ exposures from food delivery application are a medium level, especially from the symbol at a shirt or a bag’s officer. 2). Engagement of consumers is a high level. They give a high point for “If I didn’t have food delivery application such as LINEMAN GrabFood and GET! I feel regret.” 3). Consumer’s decision making is a high level 4). Consumers’ exposure and engagement showed relationship with consumer’s decision making with statistical significance at 0.01. 5). Engagement of consumers affect consumer decision making, ordering food via application (β= 0.405).
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71256
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.780
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.780
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6184687828.pdf4.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.