Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7125
Title: ปัจจัยและกระบวนการที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณธรรมระดับบุคคล เพื่อมุ่งความสำเร็จของส่วนรวมของนักศึกษามหาวิทยาลัย : การศึกษาเชิงปริมาณและคุณภาพ : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: Factors and process facilitating the development of individual university students' virtue towards success for all : a quantitative and qualitative study
Authors: สุวิมล ว่องวาณิช
นงลักษณ์ วิรัชชัย
Email: wsuwimon@chula.ac.th
Nonglak.W@chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: ความดี
จริยธรรม
นักศึกษา
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับคุณธรรมระดับบุคคลเพื่อมุ่งความสำเร็จของส่วนรวมของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัย (2) ศึกษาปัจจัยและกระบวนการที่นำไปสู่การพัฒนาคุณธรรมระดับบุคคลเพื่อความสำเร็จของส่วนรวมของนิสิตนักศึกษา (3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยและกระบวนการกับระดับคุณธรรมระดับบุคคลเพื่อมุ่งความสำเร็จของส่วนรวม (4) ประเมินแนวทางการพัฒนา "รูปแบบการพัฒนาคุณธรรมระดับบุคคลเพื่อมุ่งความสำเร็จของส่วนรวม" คุณธรรมระดับบุคคลเพื่อมุ่งความสำเร็จของส่วนรวมตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจากการวิเคราะห์ของ ไกรยุทธ ธีรตยาคีนันท์ ที่ใช้เป็นกรอบในการวิจัยครั้งนี้มี 4 ชุด โดย คุณธรรมชุดที่ 1 คุณธรรามที่เป็นปัจจัยแรงผลักดัน ได้แก่ (1.1) ความขยันหมั่นเพียร (1.2) ความอดทน (1.3) ความสามารถพึ่งตนเอง และ (1.4) การมีวินัย คุณธรรมชุดที่ 2 คุณธรรมที่เป็นปัจจัยหล่อเลี้ยงได้แก่ (2.1) ฉันทะ (2.2) สัจจะ (2.3) ความรับผิดชอบ ความสำนึกในหน้าที่ และ (2.4) ความกตัญญู คุณธรรมชุดที่ 3 คุณธรรมที่เป็นปัจจัยเหนี่ยวรั้ง ได้แก่ (3.1) ความมีสติและรอบคอบ และ (3.2) ความตั้งจิตให้ดี และ คุณธรรมชุดที่ 4 คุณธรรมที่เป็นปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ (4.1) ความเมตตา ความปรารถนาดีต่อกัน ความเอื้อเฟื้อต่อกัน (4.2) ความไม่เห็นแก่ตัว ความไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น และความอะลุ้มอล่วยถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน การวิจัยนี้ใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากหลายวิธีการ (multi-methods) โดยข้อมูลวิจัยนี้จึงมีทั้วข้อมูลเชิงปริมาณ (quantitative data) และข้อมูลเชิงคุณภาพ (qualitative data) ซึ่งได้จากวิธีการสำรวจด้วยแบบสอบถาม การศึกษากรณีตัวอย่าง การจัดประชุมระดมความคิดโดยใช้เทคนิคกลุ่มสมมุตินัย (Nominal Group Technique) ในการศึกษาด้วยวิธีเชิงสำรวจ ใช้กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มนิสิตนักศึกษาที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ 4 ในมหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษาสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานครทั้งสังกัดรัฐบาลและเอกชน และกระจายตามสาขาวิชาและทุกคณะ จำนวน 3,011 คน กลุ่มที่ 2 เป็น กลุ่มอาจารย์มหาวิทยาลัยสังกัดรัฐบาลและเอกชน สังกัดละ 8 แห่งเท่ากัน จำนวน 933 คน สำหรับการศึกษาจากกรณีตัวอย่าง ได้ทำการศึกษากับนิสิตนักศึกษาจำนวน 27 คนซึ่งเต็มในให้ข้อมูลเป็นนิสิตนักศึกษาที่มีคุณธรรมอยู่ในกลุ่มสูง 10 กลุ่มปานกลาง 14 คน และกลุ่มต่ำ 3 คน การศึกษากับกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิโดยการจัดประชุมสัมมนา ประกอบด้วยกลุ่มอาจารย์ที่มีประสบการณ์ในการสอนและมีโอกาสพัฒนาคุณธรรมแก่นิสิตนักศึกษา จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ประกอบด้วยแบบวัดคุณธรรมซึ่งมีค่าความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายในเท่ากับ .8571 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติภาคบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับคำถามปลายเปิด นอกจากนี้ยังใช้สถิติภาคสรุปอ้างอิง ได้แก่ การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance) การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) และการวิเคราะห์ GLM Repeated Measure สรุปผลการวิจัย 1. ระดับคุณธรรมของนิสิตนักศึกษา ระดับคุณธรรมจากการรายงานตนเองของนิสิตนักศึกษาไม่ค่อยสอดคล้องกับความคิดเห็นของกลุ่มอาจารย์ นิสิตนักศึกษาจะคิดว่าตนเองมีคุณธรรมในระดับสูงกว่าที่กลุ่มอาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่าโดยเฉลี่ยคุณธรรมที่สิสิตนักศึกษาควรได้รับการพัฒนาเร่งด่วนที่สุดคือ ด้านการมีวินัย ความรับผิดชอบ ความสามารถในการพึ่งตนเอง และสัจจะ (ความตั้งใจและจริงใจต่อการทำงาน) คุณธรรมทั้งสี่ประการนี้ กลุ่มอาจารย์เห็นว่านิสิตนักศึกษามีคุณธรรมในระดับปานกลาง โดยเฉพาะคุณธรรมด้านการมีวินัยซึ่งต้องพัฒนาโดยด่วนที่สุดนั้น นิสิตนักศึกษามีคุณธรรมระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ ในขณะที่นิสิตนักศึกษาเองกลับมองว่าตนเองมีคุณธรรมเหล่านี้ในระดับปานกลางหรือปานกลางค่อนข้างสูง 2. ปัจจัยและกระบวนการที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณธรรม 2.1 กระบวนการพัฒนาจากบุคคลรอบข้าง กลุ่มนิสิตนักศึกษาประมาณร้อยละ 70 ระบุว่าพ่อแม่ปู่ยาตายายเป็นผู้ให้การอบรมสั่งสอนนิสัยและพฤติกรรมที่ดี แต่นิสิตนักศึกษาร้อยละ 36 เห็นว่าพ่อแม่ได้ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแต่ไม่ได้อบรมสั่งสอนบุตรหลาน นิสิตนักศึกษาประมาณร้อยละ 4 ตอบว่าได้รับการอบรมจากครูอาจารย์ แต่ก็มีประมาณร้อยละ 2 เห็นว่าครูอาจารย์ไม่ได้อบรมสั่งสอนลูกศิษย์และยังประพฤติตนไม่เป็นแบบอย่างที่ดีด้วย โดยสรุปรวมนิสิตนักศึกษาเห็นว่าพ่อแม่มีส่วนในการปลูกฝั่งคุณธรรมมากกว่ากลุ่มครูหรือเพื่อนฝูงและครูจะมีส่วนในการปลูกฝังคุณธรรมมากกว่าเพื่อนฝูง 2.2 กระบวนการพัฒนาตนเอง นิสิตนักศึกษาคิดว่าตนเองมีความสนใจในการพัฒนาคุณธรรมตนเองน้อยกว่าคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นการไปวัดไปโบสถ์เพื่อฟังเทศน์และฟังธรรม การอ่านหนังสือหรือชมสื่อที่มีเนื้อหาคุณธรรม แต่ด้านการอุทิศตนบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคมนิสิตนักศึกษาคิดว่าตนเองปฏิบัติมากกว่าคนรอบข้าง 2.3 กระบวนการพัฒนาอาจารย์มหาวิทยาลัย อาจารย์ประมาณร้อยละ 53 ไม่ได้สอนวิชาที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรม แต่อาจารย์ส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 90 ได้มีการสอนสอดแทรกคุณธรรมแก่นิสิตนักศึกษา โดยใช้เวลาในการสอนไม่เกิน 20% ของจำนวนคาบเวลา ตอนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยและกระบวนการกับระดับคุณธรรมระดับบุคคลเพื่อมุ่งความสำเร็จของส่วนรวม ตัวแปรที่ใช้อธิบายระดับคุณธรรมของนิสิตนักศึกษามีทั้งหมด 19 ตัว แบ่งออกเป็น 4 ชุด ได้แก่ ชุดที่ 1 ตัวแปรเกี่ยวกับภูมิหลังของนิสิตนักศึกษา ประกอบด้วยตัวแปรย่อย 8 ตัว ได้แก่ ภูมิหลังทางครอบครัว คือ เพศ ภูมิลำเนา รายได้ของครอบครัว สถานภาพของครอบครัว จำนวนพี่น้อง สาขาวิชาที่ได้ศึกษา สังกัดของมหาวิทยาลัย เกรดเฉลี่ยสะสม (GPAX) ชุดที่ 2 ตัวแปรเกี่ยวกับลักษณะครอบครัวประกอบด้วยตัวแปรย่อย 1 ตัว คือ ระดับความอบอุ่นในครอบครัว ชุดที่ 3 ตัวแปรเกี่ยวกับความสนใจเรื่องการพัฒนาคุณธรรมในตนเอง ประกอบด้วยตัวแปรย่อย 4 ตัว ได้แก่ การทำบุญทำทาน การเข้าวัด ฟังเทศน์ ฟังธรรม การอ่านหรือฟังธรรมะ การบำเพ็ญประโยชน์ และ ชุดที่ 4 ตัวแปรเกี่ยวกับกระบวนการหล่อหลอม ประกอบด้วยตัวแปรย่อย 6 ตัว ได้แก่ การได้รับการปลูกฝังด้านคุณธรรมจากบิดามารดา การอบรมเอาใจใส่จากครูอาจารย์ การได้อยู่ในโรงเรียนที่มีปรัชญาเน้นการพัฒนาคุณธรรม การอยู่ในสภาพแวดล้อมของชุมชนที่ดี การมีเพื่อนดี ความตั้งใจในการพัฒนาปรับปรุงพฤติกรรมของตนเองให้เป็นคนดี ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณสรุปได้ดังนี้ 3.1 โดยสรุปตัวแปรทั้งหมด 19 ตัวสามารถอธิบายความแปรปรวนของระดับคุณธรรมของนิสิตได้ร้อยละ 18.10 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .426 ตัวแปรที่มีสัมประสิทธิ์ถดถอยที่มีนัยสำคัญและมีค่าเป็นบวก มี 12 ตัว ได้แก่ การพยายามปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ (.145) การบำเพ็ญประโยชน์ (.028) การได้รับการอบรมเอาใจใส่จากครู (.087) ความอบอุ่นของครอบครัว (.085) การฟังธรรมะ (.081) การได้รับการอบรมความเป็นคนดีจากพ่อแม่ (.078) การมีเพื่อที่ดี (.066) การทำบุญทำทาน (.064) การเข้าวัดฟังธรรม (.064) เพศ (.051) เกรดเฉลี่ยสะสม (.036) และ จำนวนพี่น้อง (.033) สำหรับตัวแปรที่มีสัมประสิทธิ์ถดถอยมีนัยสำคัญและมีค่าเป็นลบ มี 4 ตัว ได้แก่ ภูมิลำเนา (-.091) สาขาวิชาที่ศึกษา (-.085) สังกัดของมหาวิทยาลัย (-.039) และ สถานภาพของครอบครัว (-.034) 3.2 ผลการวิจัยจากการศึกษากรณีตัวอย่างพบว่าตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อคุณธรรมของนิสิตนักศึกษามีความคล้ายคลึงกับที่พบจากการวิเคราะห์ด้วยข้อมูลเชิงปริมาณ โดยตัวแปรส่วนใหญ่ที่มีอทิธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อคุณธรรมของนิสิตนักศึกษาเป็นตัวแปรที่เกี่ยวกับกระบวนการมากกว่าปัจจัย ตัวแปรที่ค่อนข้างให้ผลสอดคล้องกันได้แก่ จำนวนพี่น้อง การมีเพื่อนดี การบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม การได้รับการเอาใจใส่จากครู การได้รับความอบอุ่นจากครอบครัว การสนใจใฝ่ธรรมะ การอบรมจากพ่อแม่ การไปวัดเข้าโบสถ์ ตอนที่ 4 แนวทางการพัฒนาคุณธรรม แนวทางการพัฒนาคุณธรรมแก่นิสิตนักศึกษาที่ได้รับจากการสัมมนาของกลุ่มอาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิสามารถสรุปเป็นวิธีการที่น่าสนใจได้หลายวิธี ได้แก่ (1) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน (2) การสร้างวิชาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณธรรมให้นิสิตนักศึกษาได้เรียน (3) การชี้นำตัวแบบหรือแบบอย่างที่ดี (4) การสร้างบรรยากาศเพื่อส่งเสริมคุณธรรมในมหาวิทยาลัย
Other Abstract: The purposes of this research were (1) to study the level of individual university students' virtue towards success for all, (2) to study factors and process facilitating the development of virtue towards success for all, (3) to analyze the causal relationships among factors, process, and virtue towards success for all, and (4) to evaluate guidelines for developing the development model of virtue toward success for all. The virtue towards success for all was derived from the conceptual guides of His Majesty the King by Kraiyut Tiratayakeenan. This virtue was used as he conceptual framework of the study. The virtue consisted of four sets of sub-virtue. The first set was the push-virtue consisting of diligence/effort, patience/endurance, self-reliance, and discipline. The second set was facilitating virtue consisting of having a heart of zeal (Chanda), truthfulness (Sacca), responsibility, and gratefulness. The third set was pull-virtue consisting of mindfulness and equanimity (seeing things as they are witha mind that is even, steady, firm and fair like a pair of scale). The fourth set was supporting virtue consisting of loving-kindness and altruism. This research employed multi-methods to collect both quantitative and qualitative data, using questionnaire survey. Case study research, and brainstorming process through Nominal Group Technique. The questionnaire survey included two groups of the population: 3,011 senior students and 933 faculty members from 8 public and private universities in Bangkok Metropolitan Area. In addition, 27 cases were purposively selected for case study research: 10 of which possessing high-level virtue, 14 of which possessing moderate-level virtue, and 3 of which possessing low-level virtue. Sixteen experts in student development were invited to participate in the seminar to review the virtue development guideline. The research instrument was a virtue scale with the reliability coefficient of .8571. Data were analyzed through use of descriptive statistics, such as frequency, percentage, mean, standard deviation, and content analysis for open-ended questions. Inferential statistics were also employed, i.e. t-test, Analysis of Variance, Multiple Regression Analysis, and GLM Repeated Measure. Summary of the findings 1. Students' Virtue Level The level of students' virtue as reported by students were rather not consistent with that as perceived by faculty members. The former perceived that their virtue were tentatively higher than that as perceived by the latter. The experts, on the average, considered discipline as the most urgent virtue to be developed, followed by responsibility, self-reliance, and truthfulness, respectively. Based on the perceptions of the faculty members, students possessed moderate level for all of the four types of virtue, particularly the discipline virtue was in between low and moderate level. Whereas the students rated themselves in between moderate and high level 2. Factors and Process Facilitating Virtue Development 2.1 Development Process from the AssociatesApproximately 70% of the students identified that their parents and grandparents brought them up with a good teaching and training. Thirty-six percent thought that their parents were a good model but rarely taught their children. Four percent admitted that they were groomed by their teachers. Only 2% felt that their teachers had neither taught them to be good citizen nor behaved as an exemplar. In summary, the students perceived that their parents took great share in virtue cultivation for them as compared to their teachers or friends. 2.2 Self-development Process Students perceived that they were less interested in self-development than the people around them in terms of the frequencies of temple/church going in order to attend the good preaching, reading or engaging to Dhamma-related media. But, the students devoted more time in doing social welfare activities than their associates. 2.3 Development by University Faculty Approximately 50% of the instructors did not teach virtue-related courses. Nevertheless 90% identified that they had tried to teach the students to be a virtuous citizen by spending an approximation of 20% of the instruction period. 3. The Relationships among Factors, Process, and Virtue towards Success of All There were 19 variables used to predict virtue towards success for all. These predictors were categorized into 4 groups. The first group, background of the students, consisted of 8 variables: namely sex, hometown, family income, family status, number of siblings, area of study, type of the university (government/private), and academic achievement (GPA). The second group consisting only one variable was the warmth of family. The third group, interest in acquiring self-virtue development, consisted of 4 variables, namely offering and making merit, temple/church attending, acquiring good teaching form various sources of media, participating in social contribution. The fourth group, virtue moulding process, consisted of 6 variables, namely parental cultivating of virtue, socialization ofvirtue by teachers, attending schools emphasizing on virtue development, living in good community environment, having good friends, and intention to improve oneself to be a virtuous one. The results of the multiple regression analysis were as follows 3.1 As a whole, 19 predictors accounted for 18.15 of variance of the virtue level with a multiple regression coefficient of .425. The 12 predictors with positive and significant regression weights were intention to improve oneself (.145), participating in social contribution (.128), teacher's socializing of virtue (.087), the warmth of family (.085), acquiring good teaching from various sources of media (.081), parental cultivating of virtue (.078), having good friends (.066), offering and making merit (.064), temple/church attending (.064), sex (.051), academic achievement (GPA) (.036), and number of siblings (0.33). The four predictors with significant and negative regression coefficients were hometown (-.061), area of study (-.085), type of the university (government/private) (-.039), and family status (-.034) 3.2 The case study research revealed that the variables influencing students' virtue were similar to those obtained from the quantitative study. Most of the significant variables having effects on students' virtue were rather process variables, not related to input variables. The variables that yielded similar results were number of siblings, having good friends, participating in social contribution, socializing of virtue by teachers, the warmth of family, paying much attention to Dhamma, parental cultivation of virtue, and temple/church attendance. 4. Guidelines for Virtue Development. Based on the seminar of experts, guidelines for virtue developments were proposed and reviewed. The suggested interesting virtue development methods were (1) organizing teaching and learning activities, (2) designing new courses relating to virtue development for students, (3) seeking role models of virtuous people, (4) providing and arranging the university environment for virtue deveolpment.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7125
ISBN: 9743342761
Type: Technical Report
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fac(Suwimon).pdf14.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.