Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71313
Title: An empirical analysis of franchise system in Thailand focused on fast food business : case study of the Pizza Public Co., LTD. success franchisee in Thailand
Other Titles: การวิเคราะห์ระบบแฟรนไซส์ด้านธุรกิจอาหารในประเทศไทย : กรณีศึกษา บริษัทเดอะพิซซ่า จำกัด (มหาชน) ผู้ประสบความสำเร็จในธุรกิจแฟรนไซส์ในประเทศไทย
Authors: Pornsawan Wongkanchanakul
Advisors: Somchai Ratanakomut
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Economics
Subjects: The Pizza Company
Franchises (Retail trade) -- Thailand
food industry
management
บริษัทเดอะพิซซ่า
แฟรนไชส์ -- ไทย
Issue Date: 2000
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Nowadays franchise has an important role to Thais lifestyle both goods and services business l.e. Mobile phone’s service center, beauty center, dry cleaner, restaurant, pharmacy, etc. Although franchise has been introduced in Thailand for several years, people might confuse about the concept of franchise, advantage and disadvantage that franchisee might receive from franchise system. This study intends to analyze the advantage and disadvantage of franchise from both thefranchisor and franchisee’s viewpoints. The study further examines the key of success franchisee in Thailand. Case study of The Pizza Public Co., Ltd. A qualitative approach is taken towards the method of the study and analysis. Data comes from both primary and secondary sources. Primary data from interviews with the consumer and franchisee concentrated in Bangkok Metropolitan area. The secondary data is drawn from various publications of government offices, business magazines and newspapers. This study discovered that most of well-known franchise operations in Thailand are foreign franchises l.e. the United States of America, Japan The major sectors of franchise are fast food and retailing business. This study also found that most of the franchisees take a franchise because of brand name, know-how and economies of scale. In examining case study of The Pizza Public Co., Ltd. franchisee of Pizza Hut Inc., Group Company of Tricon International Restaurant Inc. The Pizza has effective management performance, systematically operation and continuous research and development which intended to reach 100% customer's satisfaction. The aforesaid are the crucial factors leading to success in franchise business. The Pizza also established Minor Cheese Co., Ltd. to produce and supply raw material to their group company. Having their own manufacturing facilities for cheese and ice cream has become a very strong competitive advantage of the company. From this study found that the success of franchise business is consisted of cooperate and intention of franchisor and franchisee.
Other Abstract: ปัจจุบันนี้ธุรกิจแฟรนไชส์เข้ามามีบทบาทสำคัญ ในชีวิตประจำวันของคนไทยอย่างมาก ทั้งธุรกิจจำหน่ายสินค้าและบริการ อาทิเช่น ศูนย์บริการและจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่,ศูนย์บริการชัก อบ รีด, ศูนย์บริการเสริมความงาม, ร้านอาหาร, ร้านขายยา ฯลฯ ถึงแม้ว่าระบบแฟรนไชส์จะเข้ามา เผยแพร่ ในประเทศไทยเป็นระยะเวลานานก็ตาม ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่อาจไม่เข้าใจว่า แฟรนไชส์คืออะไร มีข้อดี และข้อเสียอย่างไรกับการลงทุนในธุรกิจประเภทนี้ การศึกษานี้จึงมุ่งหวังที่จะวิเคราะห์ข้อดีและข้อเสียของระบบแฟรนไชส์ที่มีต่อ ผู้ซื้อสิทธิ์ที่เรียกว่าแฟรนไชส์ชี และเจ้าของสิทธิ์ที่เรียกว่าแฟรนไชส์เชอร์นอกจากนี้ยังศึกษาถึงปัจจัยสำคัญที่ จะนำไปสู่ความสำเร็จในธุรกิจแฟรนไชส์โดยนำกรณีศึกษาของ บริษัท เดอะพิชช่า จำกัด (มหาชน) ผู้ประสบความสำเร็จในการซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์จากต่างประเทศเข้ามาดำเนินการในประเทศไทยมาเพื่อศึกษาถึงปัจจัยแห่งความสำเร็จ และปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างเจ้าของสิทธิ์และผู้ซื้อสิทธิ์ โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการศึกษาครั้งนี้จะสามารถนำเสนอข้อมูลอันเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจและผู้ต้องการลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์นี้ จากการศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งได้รวบรวมจากแหล่งข้อมูลต่างๆ รวมถึงข้อมูลจากการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภค พบว่าธุรกิจแฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยมลงจากผู้ลงทุนได้แก่ ธุรกิจร้านอาหาร และ ธุรกิจค้าปลีกประเภทมินิมาร์ท แฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยมในประเทศไทยโดยมากเป็นแฟรนไชส์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการส่งออกธุรกิจแฟรนไชส์ มายังประเทศไทย ได้แก่ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น สาเหตุที่ผู้ลงทุนตัดสินใจลงทุนกับธุรกิจแฟรนไชส์เนื่องจากมีข้อดีคือ ช่วยลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจโดย อาศัยชื่อเสียงอันเป็นที่รู้จักอยู่แล้วในการเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น และประโยชน์จากการเป็นเครือข่ายของบริษัทใหญ่ที่ช่วยเสริมกำลัง การต่อรองในการเช่าสถานที่, การสั่งซื้อวัตถุดิบต่างๆ ในราคาพิเศษ นอกจากนี้ยังได้รับการฝึกอบรมและการพัฒนาสินค้าอย่างต่อเนื่องจากเจ้าของสิทธิ์อย่างไรก็ตาม แฟรนไชล์นั้นมีข้อเสีย คือ ผู้ซื้อสิทธิ์จะต้องดำเนินธุรกิจตามข้อกำหนดของเจ้าของสิทธิ์ อันทำให้ขาดอิสระในการดำเนินงานและในผู้ขายสิทธิ์บางราย ที่ขาดประสบการณ์ในการดำเนินงานอาจนำมาซึ่ง ความล้มเหลวทั้งแก่ธุรกิจของเจ้าของสิทธิ์เอง และะ ผู้ซื้อสิทธิ์ด้วยเช่นกัน จากกรณีศึกษาของบริษัท เดอะพิชช่า จำกัด (มหาชน) ผู้ซื้อสิทธิ์ดำเนินธุรกิจ พิซซ่าฮัทในประเทศไทยจากบริษัทไทรคอนเรสตัวรองท์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัดประเทศสหรัฐอเมริกา นั้นพบว่า เดอะพิซซ่า สามารถดำเนินงานตามข้อกำหนดของเจ้าของสิทธิ์ได้เป็นอย่างดี และยังมุ่งเน้นการพัฒนาเครือข่ายธุรกิจของตนเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากพิซซ่าฮัท แล้วเดอะพิซซ่า ยังได้รับสิทธิ์ดำเนินงานสินค้าอีกหลายชนิด ได้แก่ สเวนเซ่นส์, ชิชช์เลอร์, แดรี่ควีน, เบอร์เกอร์คิงส์ และ ซิกเก็น ทรีท ซึ่งล้วนได้รับความนิยมอย่างสูงในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีธุรกิจเสริมซึ่งงธุรกิจเหล่านี้สามารถรองรับ การขยายตัวของ เดอะพิซซ่า ได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างที่สามารถเห็นได้ชัดเจน คือ การเปิดโรงงานผลิตเนยแข็ง และ ไอศกรีมของตนเอง ซึ่งเนยแข็งและไอศกรีม ล้วนเป็นวัตถุดิบหลักของสินค้า เครือเดอะพิชช่าทั้งสิ้น นโยบายนี้สามารถทดแทนการนำเข้า และลดต้นทุนด้านวัตถุดิบ พร้อมทั้งช่วยเสริมประสิทธิภาพ ในการแข่งข้นกับคู่แข่งรายอื่นๆ ของเดอะพิซซ่า ได้เป็นอย่างดี จากการศึกษานี้กล่าวได้ว่าความสำเร็จในธุรกิจแฟรนไชส์นี้ประกอบด้วยหลายปัจจัยนอกจากระบบการดำเนินงานที่ผู้ซื้อสิทธิ์ได้รับจากเจ้าของสิทธิ์แล้ว ผู้ซื้อสิทธิ์ยังต้องมีด้วยความตั้งใจในการพัฒนาสินค้า, บริการ และบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลอยู่เสมอ
Description: Thesis (M.Econ.)--Chulalongkorn University,2000
Degree Name: Master of Arts
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: International Economics and Finance
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71313
ISBN: 9743347828
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornsawan_wo_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ809.29 kBAdobe PDFView/Open
Pornsawan_wo_ch1_p.pdfบทที่ 1653.95 kBAdobe PDFView/Open
Pornsawan_wo_ch2_p.pdfบทที่ 21.31 MBAdobe PDFView/Open
Pornsawan_wo_ch3_p.pdfบทที่ 31.08 MBAdobe PDFView/Open
Pornsawan_wo_ch4_p.pdfบทที่ 41.2 MBAdobe PDFView/Open
Pornsawan_wo_ch5_P.pdfบทที่ 5691.29 kBAdobe PDFView/Open
Pornsawan_wo_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก716.06 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.