Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7142
Title: | ตัวบ่งชี้กระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน : กรณีการปฏิบัติที่ดีที่สุดในโรงเรียนประถมศึกษาเอกชน |
Other Titles: | Indicators of research-based instructional process : a case study of best practice in aprivate primary school |
Authors: | สุชาดา ปุญปัน |
Advisors: | สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา สุชาดา บวรกิติวงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล Suchada.b@chula.ac.th |
Subjects: | วิจัยเชิงปฏิบัติการทางการศึกษา ตัวบ่งชี้ทางการศึกษา กรณีศึกษา โรงเรียนประถมศึกษา |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษา 1) การปฏิบัติที่ดีที่สุดในกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน 2) ตัวบ่งชี้กระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน และ 3) แนวทางพัฒนาให้เกิดการจัดการเรียนการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน ในโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา วิธีวิจัยเป็นแบบการวิจัยกรณีศึกษาของโรงเรียนที่มีการปฏิบัติที่ดีที่สุด ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน แหล่งข้อมูลครอบคลุม ผู้บริหาร ครู นักเรียนและผู้ปกครอง วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย การสัมภาษณ์ การสังเกต การสนทนากลุ่ม และการศึกษาเอกสาร ขั้นตอนการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะคือ ระยะศึกษากรณีศึกษา ระยะวิเคราะห์ตัวบ่งชี้ ระยะตรวจสอบตัวบ่งชี้ ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. การปฏิบัติที่ดีที่สุดในกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐานนั้น โรงเรียนมีแนวคิดหลักว่าการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐานเน้นให้ ผู้เรียนค้นคว้าและสร้างความรู้ด้วยตนเองและนำไปใช้ได้ในการดำเนินชีวิต การบริหารจัดการของโรงเรียนต้องเป็นระบบที่สามารถบูรณาการงานพัฒนาบุคลากร งานพัฒนาหลักสูตรและการนิเทศติดตามและงานจัดปัจจัยเกื้อหนุนต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ กระบวนการสอนเริ่มจากการวางแผนแล้วดำเนินการสอนด้วย 6 ขั้นตอน มีการวัดประเมินผลทั้งด้านความรู้ ทักษะและเจตคติ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ได้แก่ การบริหารจัดการที่ดี บุคลากรมีความพร้อม บริบทและสภาพแวดล้อมที่เอื้อ และการสนับสนุนจากองค์กรภายนอก 2. ตัวบ่งชี้กระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐานแบ่งได้เป็น 3 ส่วน 9 องค์ประกอบ 56 ตัวบ่งชี้ คือ (1) ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินการจัดการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน มี 3 องค์ประกอบ คือ ก) ผลต่อนักเรียนมี 9 ตัวบ่งชี้ ข) ผลต่อครูมี 9 ตัวบ่งชี้ และ ค) ผลต่อการพัฒนาวิชาการมี 3 ตัวบ่งชี้ (2) ตัวบ่งชี้กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการอสนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน มี 3 องค์ประกอบคือ ก) กระบวนการสอนของครุมี 7 ตัวบ่งชี้ ข) กระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนมี 7 ตัวบ่งชี้ และ ค) บทบาทครุมี 6 ตัวบ่งชี้ (3) ตัวบ่งชี้ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน มี 3 องค์ประกอบ คือ ก) การบริหารจัดการมี 6 ตัวบ่งชี้ ข) คุณลักษณะผู้สอนมี 6 ตัวบ่งชี้และ ค) คุณลักษณะผู้เรียนมี 3 ตัวบ่งชี้ 3. แนวทางพัฒนาให้เกิดการจัดการเรียนการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน ในโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษาคือ (1) ควรดำเนินการสร้างทีมทำงานที่มีคุณสมบีติเอื้อต่อการทำงาน (2) สร้างความรู้ความเข้าใจแก่บุคลากรทุกฝ่าย ทั้งครู นักเรียน ผู้ปกครอง (3) สร้างระบบการทำงานที่มีคุณภาพ ด้วยวงจร P-D-C-A เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างบูรณาการต่อเนื่อง สร้างระบบข้อมูล เพื่อรวบรวมข้อมูลการทำงานของทุกฝ่าย และ (4) สร้างขวัญกำลังใจในการทำงานด้วยวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ร่วมกันอันทำให้บุคลากรมีความตื่นตัวในการสร้างสรรค์งานและเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน |
Other Abstract: | To study (1) the best practice of research-based instructional process, (2) indicators of research-based instruction (RBI), and (3) guideline for developing research-based instruction in private primary school. A case study research was used as the research method. Sources of data and collecting methods were indepth interview, non-participant observation, focus group discussion with the teachers, administrator, students, and parents in the best practice private school in Bangkok. There were 3 phases in the study; 1) studying the case 2) analyzing indicators and 3) testing the indicators. The results were as follows 1. The best practice in research-based instructional process were emphasized on (1) the main ideas that the RBI was able to promote self enquiry and constructing knowledge strategies which applicable in daily life, (2) the effective administration system should integrate main, money, material, and management, (3) the teaching process start from planning, arranging 6 steps of RBI learning, measuring and evaluating knowledge, skills, and attitude of the students. The success factors were systematic administration, readiness of teachers, good environment, and supporting of outsider organizations. 2. The RBI indicators composed of 3 parts, 9 factors and 56 indicators. The output part of RBI indicators had 3 factors which were 9 indicators of students outcomes, 9 indicators of teachers and 3 indicators of academic development. The process part of RBI indicators had 3 factors which were 7 indicators of learning process, 7 indicators of teaching process, and 6 indicators of teachers' rules. The input part of RBI indicators had 3 factors which were 6 indicators of administration, 6 indicators of teachers' characteristic and 3 indicators of students' characteristic. 3. The guideline to develop RBI in the primary school were (1) setting quality teams (2) providing knowledge about RBI to everybody in school and parents, 3) using quality cycle system PDCA to support academic development, (4) setting informationmanagement system and (5) supporting all teachers with cooperative learning culture to enhance everyone to create and learn from their practice. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7142 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.624 |
ISBN: | 9741438559 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2005.624 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
suchada.pdf | 6.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.