Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7154
Title: การวิจัยประเมินผลโครงการจัดการศึกษาตามแนวคิดความเป็นหุ้นส่วน ระหว่างภาครัฐและเอกชน : กรณีศึกษา
Other Titles: Evaluation research of educational provision project based on the government and private sector partnership approach : a case study
Authors: กมลทิพย์ ศรีหาเศษ
Advisors: ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Duangkamol.T@chula.ac.th
Subjects: โครงการ -- การประเมิน
การจัดการศึกษา -- ไทย
ชุมชนกับโรงเรียน
ความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชน
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ประเมินผลโครงการจัดการศึกษาตามแนวคิดความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพในการประเมินผล แบ่งการพิจารณาเป็น 3 ระยะ คือ 1) การประเมินก่อนเริ่มโครงการ ประเมินจาก ด้านสภาวะแวดล้อม และด้านปัจจัยนำเข้า 2) การประเมินในระหว่างการดำเนินงาน ประเมินจาก ด้านการดำเนินงาน และ 3) การประเมินหลังการดำเนินงาน ประเมินจาก ด้านผลผลิตและผลลัพธ์ โดยยึดแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นหุ้นส่วนทางการศึกษา ซึ่งประกอบด้วยลักษณะสำคัญ 3 ประการคือ 1) มีเป้าหมายเดียวกัน 2) ยึดหลักการทำงานที่เสมอภาค มีความเคารพ และไว้วางใจซึ่งกันและกัน รับผิดชอบผลงานร่วมกัน 3) มีขั้นตอนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ ผู้วิจัยใช้ระยะเวลาอยู่ในสนาม 4 เดือนในการสังเกต แบบมีส่วนร่วม และไม่มีส่วนร่วม สัมภาษณ์แบบเป็นทางการ ไม่เป็นทางการ และการสนทนากลุ่ม ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุปแบบอุปนัยและการจำแนกข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ผลการดำเนินงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนตามแนวคิดความเป็นหุ้นส่วน มีรายละเอียดดังนี้ 1. การประเมินก่อนเริ่มโครงการ 1.1 ด้านสภาวะแวดล้อม : ความเป็นมาของโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ แนวทางการดำเนินงานและการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย มีลักษณะของแนวคิดความเป็นหุ้นส่วนครบถ้วน โดยมีเป้าหมายเดียวกัน การยึดหลักการทำงานที่เสมอภาค และมีขั้นตอนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ 1.2 ด้านปัจจัยนำเข้า : ภาครัฐและเอกชนมีการดำเนินงานร่วมกันในด้านการพิจารณาความเหมาะสมของ สภาพแวดล้อม บุคลากร รูปแบบหลักสูตร รูปแบบกฎระเบียบควบคุมความประพฤติ ตามลักษณะของแนวคิดความเป็นหุ้นส่วนครบถ้วน ยกเว้นด้านงบประมาณซึ่งภาคเอกชนเป็นฝ่ายเดียวที่มีอำนาจการตัดสินใจ ในการพิจารณาอนุมัติงบประมาณดำเนินการ 2. การประเมินในระหว่างดำเนินงาน ในด้านการดำเนินงานนั้นพบว่า ภาครัฐและเอกชนมีการดำเนินงานร่วมกัน ในด้านกระบวนการและขั้นตอน การดำเนินงาน การจัดกิจกรรม และการควบคุมการดำเนินงานและติดตามผลตามลักษณะ ของแนวคิดความเป็นหุ้นส่วนครบถ้วน 3. การประเมินผลหลังการดำเนินงาน 3.1 ด้านผลผลิต : ภาครัฐและเอกชนมีการดำเนินงานร่วมกันตามลักษณะของแนวคิดความเป็นหุ้นส่วน เฉพาะลักษณะการมีเป้าหมายเดียวกัน และการมีขั้นตอนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบเท่านั้น แต่ในลักษณะการยึดหลักการทำงานที่เสมอภาคนั้น พบว่า ฝ่ายภาครัฐมีอำนาจการตัดสินใจเกี่ยวกับการเรียนของนักเรียนมากกว่าฝ่ายภาคเอกชน และฝ่ายภาคเอกชนมีอำนาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับการทำงานของนักเรียนมากกว่าฝ่ายภาครัฐ 3.2 ด้านผลลัพธ์ : ภาครัฐและเอกชนมีการดำเนินงานร่วมกันตามลักษณะของแนวคิดความเป็นหุ้นส่วนครบถ้วนในกระบวนการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เกิด แต่ด้านปัญหาหรืออุปสรรคการดำเนินงานนั้น ภาครัฐและเอกชนดำเนินงานแก้ไขปัญหาร่วมกันเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับความประพฤติของนักเรียนทุน แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในหน่วยงานของสถานประกอบการอยู่นอกเหนืออำนาจในการตัดสินใจร่วมกันของทั้งสองฝ่าย
Other Abstract: To evaluate the educational provision projects based on the government and private sector partnership approach by using the qualitative methodology. We can separate the evaluation into 3 timeframes 1) Pre-Project Evaluation - in the field of environment and input 2) In-Process Project Evaluation - in the field of an operation 3) Post-Project Evaluation - in the field of products and outcomes. The evaluation is based on the educational partnership approach which includes 3 main characteristics 1) collective purpose 2) impartially work, trust, and mutual responsibility in the outcomes 3) systematic procedure. The researcher spent 4 months in participant and non- participant observation, formal and informal interview, and focus group interview. Also, the researcher applies the methods of a conclusion making, an induction analysis, and a classification of information. From the research, we can conclude that: The outcomes of a co-working based on the governmental and private sector partnership approach are as followed: 1. Pre-Project Evaluation 1.1 Environment: Project background, objectives, methodology, and the target group selection have all the elements of partnership approach: the collective purpose, the impartially work, and the systematic procedure. 1.2 Input: The government and private sector cooperate in considering the environmental, staff, curriculum format, behavioral ordinance format. This precisely follows the partnership approach except in the field of budget decision to which only the private sector has a power. 2. In-Process Project Evaluation : In the operation process, the government and private sector are able to cooperate based on the partnership approach. This includes working procedure, arranging the activities, controlling the operation, and following the outcomes. 3. Post-Project Evaluation 3.1 Product: The government and private sector cooperate only in the concepts of collective purpose and systematic procedure. They cannot reach the concept of impartially work because the government has more power on studies of the students, whereas the private sector has more power on works of the students. 3.2 Outcome: The government and private sector are able to cooperate based on the partnership approach in the process of making changes in result. However, in the field of solving problem, they cooperate only in solving the scholarship students' behavioral problems. The problems occurring inside each own organization are not in control of their mutual decision.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7154
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.802
ISBN: 9745322741
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.802
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
KamontipSrihaset.pdf2.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.