Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7156
Title: การพัฒนาระบบบริการรับแจ้งเหตุขัดข้องสำหรับการใช้โทรศัพท์ประจำที่ ผ่านโพรโทคอลเอชทีทีพีและแวบ
Other Titles: Development of a trouble shooting system for fixline telephone via HTTP and WAP protocol
Authors: ชินวร ชาตตระกูล
Advisors: ธาราทิพย์ สุวรรณศาสตร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Taratip.S@chula.ac.th
Subjects: บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น
โทรศัพท์
เอชทีทีพี (โปรโตคอลเครือข่ายคอมพิวเตอร์)
แวป (โปรโตคอลเครือข่ายคอมพิวเตอร์)
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พัฒนาระบบบริการรับแจ้งเหตุขัดข้องผ่านอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์เคลื่อนที่ ผ่านโพรโทคอลเอชทีทีพีและแวบ เพื่อรองรับการแจ้งเหตุขัดข้องของลูกค้าที่ใช้บริการโทรศัพท์ประจำที่ของบริษัท ทศท.คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และสนับสนุนการตรวจแก้เหตุขัดข้องของพนักงานตรวจแก้คู่สายโทรศัพท์ วิทยานิพนธ์นี้ใช้ภาษาจาวาในชุด จาวาระดับองค์กร เอ็กซ์เอ็มแอล โดยทำงานให้บริการผ่านโพรโทคอลเอชทีทีพีและแวบ หลังจากพัฒนาและทดสอบระบบฯ แล้วสามารถช่วยงานรับแจ้งเหตุขัดข้อง สำหรับการใช้งานโทรศัพท์ประจำที่และลดเวลาในการตรวจแก้ลงได้ นอกจากนี้ยังเพิ่มช่องทางในการแจ้งเหตุขัดข้อง จากลูกค้าที่ใช้บริการโทรศัพท์ประจำที่ของบริษัท ทศท.คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ สุดท้ายนี้วิทยานิพนธ์นี้ยังแสดงถึงวิธีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ ประยุกต์ใช้กับระบบฐานข้อมูลเดิมที่มีอยู่แล้วเป็นผลให้ลดเวลาในการทำงานผู้ปฏิบัติงาน และสามารถจัดทำรายงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Other Abstract: To develop a system that supports TOT's trouble shooting for fixline telephone via HTTP and WAP Protocol. This system supports customer who inform troubles about TOT's fixline telephone service an technicians who fix telephone lines. This system is developed on a J2EE platform and XML technology that provides service via HTTP and WAP protocol. After implementation and testing, the system can help the operation in trouble shooting for fixline telephone to reduce times to fix the troubles and also fulfills the customer's way for informing troubles of TOT's fixline service. Finaly, it can be concluded that this research provides a way to apply new technology with a legacy database system. The users are able to spend less time in working. Moreover, the system also provides efficiency reports.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7156
ISBN: 9745312932
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ChinnawornCh.pdf7.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.