Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7157
Title: การพัฒนาเครื่องมือวัดปัญญาด้านการรับรู้ภาวะการเคลื่อนไหวของร่างกาย
Other Titles: A development of the measurement instrument of the bodily-kinesthetic intelligence
Authors: สมบูรณ์ อินทร์ถมยา
Advisors: ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์
ชูศักดิ์ เวชแพศย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Thanomwong.K@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การเคลื่อนไหว
วิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหว
การเรียนรู้ (จิตวิทยา)
พหุปัญญา
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พัฒนาเครื่องมือวัดปัญญาด้านการรับรู้ภาวะการเคลื่อนไหวของร่างกาย และสร้างเกณฑ์ปกติคะแนนที่การวัดปัญญา ด้านการรับรู้ภาวะการเคลื่อนไหวของร่างกาย สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6) โดยมีวิธีดำเนินการ 4 ขั้นตอนคือ (1) กำหนดองค์ประกอบของปัญญาด้านการรับรู้ภาวะการเคลื่อนไหวของร่างกาย สำหรับสร้างเครื่องมือวัดนี้ (2) สร้างเครื่องมือและคู่มือที่ใช้วัดปัญญาด้านการรับรู้ภาวะการเคลื่อนไหวของร่างกาย (3) ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ โดยตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ความตรงเชิงโครงสร้าง และความเที่ยงของเครื่องมือวัดนี้ (4) การสร้างเกณฑ์ปกติคะแนนการวัดปัญญาด้านการรับรู้ภาวะการเคลื่อนไหวของร่างกาย ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบของปัญญาด้านการรับรู้ภาวะการเคลื่อนไหวของร่างกายมี 3 องค์ประกอบ คือ (1) การตระหนักรู้ของร่างกาย ได้แก่ ความสามารถในการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายแบบสลับข้าง ความสามารถในการทรงตัวอยู่กับที่ และความสามารถในการทรงตัวขณะที่ร่างกายเคลื่อนที่ (2) การรับรู้ภาพของร่างกาย ได้แก่ ความสามารถในการรับรู้ภาพของร่างกาย ในการเดินตามทิศทางที่กำหนด และความสามารถในการรับรู้ภาพของร่างกาย ในการเคลื่อนไหวของแขนเชิงเส้นโค้ง และ (3) การรับรู้ความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับวัตถุหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัว ได้แก่ ความสามารถในการคาดคะเนระยะทาง และความสามารถในการจำแนกขนาดน้ำหนักของวัตถุ เครื่องมือวัดประกอบด้วย 7 รายการทดสอบ เครื่องมือวัดนี้สามารถนำไปใช้ในสภาพการณ์เป็นจริงได้ โดยมีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.76 มีความตรงเชิงโครงสร้าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีความเที่ยงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 4 รายการ ในการทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างเพศชาย ได้แก่ การเลี้ยงลูกบอลสลับมือ (r=0.55) การยืนทรงตัวอยู่กับที่ (r=0.49) การเดินทรงตัว (r=0.58) และการคาดคะเนระยะทาง (r=0.35) และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในกลุ่มตัวอย่างเพศหญิง จำนวน 2 รายการ ได้แก่ การยืนทรงตัวอยู่กับที่ (r=0.88) และการเดินทรงตัว (r=0.63) และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 1 รายการ ได้แก่ การเลี้ยงลูกบอลสลับมือ (r=0.26) เครื่องมือวัดนี้มีเกณฑ์ปกติคะแนนการวัดปัญญา ด้านการรับรู้ภาวะการเคลื่อนไหวของร่างกายสำหรับนักเรียน ช่วงชั้นที่ 2 มี 5 ระดับ คือ ดีมาก ดีปานกลาง ต่ำ และต่ำมาก โดยจำแนกตามเพศ การวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่า เครื่องมือวัดปัญญาด้านการรับรู้ภาวะการเคลื่อนไหวของร่างกาย มีองค์ประกอบสำคัญ 3 องค์ประกอบ มีรายการทดสอบ 7 รายการ เครื่องมือมีความตรงเชิงเนื้อหา ความตรงเชิงโครงสร้าง มีความเที่ยง มีเกณฑ์คะแนนที่สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาได้
Other Abstract: To develop the measurement instrument of the bodily-kinesthetic intelligence and to construct th criteria of the norms of the T-score. The study procedures were divided into 4 steps (1) Determine the components of the bodily-kinesthetic intelligence; (2) Construct the measurement instrument of the bodily-kinesthetic intelligence and the manual for using this test; (3) Find of the quality of the test by testing content validity, construct validity and reliability; and (4) construct the criteria of the norms of the measurement instrument of the bodily-kinesthetic intelligence. It was found that the bodily-kinesthetic intelligence composed of 3 components. There were (1) body awareness : laterality, static balance, and dynamic balance (2) body image : walking on the track and range of motion in curvelinear (3) body relationship to surrounding objects in space: directionality and weight discrimination. This test consisted items for testing the bodily-kinesthetic intelligence and it was feasible and applicable in schools situation. It had content validity at 0.76 (IOC) and construct validity was statistically significant at .01 level and reliability also was statistically significant at .01 level in 4 items for male samples (1) alternate dribbling r = 0.55; (2) stork stand r = 0.49; (3) dynamic walking balance r = 0.58; and (4) directional anticipation r = 0.35 and 2 items for female samples : (1) stork stand r = 0.88; and (2) dynamic walking balance r = 0.63 and was statistically significant at .05 level in 1 item for female samples : alternate dribbling test r = 0.26. The criteria of the norms of student at level 2 were also developed according to the gender by making the level of performance in 5 levels : very good, good, fair, low and very low. The result indicated that : the measurement instrument of the bodily-kinesthetic intelligence had 3 components which consisted of 7 test items; had the quality of the test both validity and reliability; and had the T-score that could take it for instruction physical education.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7157
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.801
ISBN: 9745322067
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.801
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SomboonIn.pdf2.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.