Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71728
Title: ผลของสารแอนโดรกราโฟไลด์ ไปเปอรีน และโรฮิตูคีนต่อการหดตัวของหลอดเลือดแดง และหลอดเลือดดำของสายสะดือมนุษย์
Other Titles: Effects of andrographolide, piperine, and rohitukine on the contraction of human isolated umbilical arteries and veins
Authors: วิดารัตน์ สุขกมลรัตน์
Advisors: ประสาน ธรรมอุปกรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: หลอดเลือดแดง -- การหดตัว
หลอดเลือดดำ -- การหดตัว
Arteries -- Contraction
Veins -- Contraction
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สารแอนโดรกราโฟไลด์เป็นสารสกัดบริสุทธิ์ในกลุ่มแลคโตนที่สกัดได้จากใบของสมุนไพรฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata Wall, ex Nees.) สารไปเปอรีนเป็นอัลคาลอยด์หลักที่พบในพริกไทย (Piper nigurm Linn.) และโรฮิตูตีนเป็นสารสกัดบริสุทธิ์ประเภทโครโมนคัลคาลอยด์ที่ได้จาก ตันตาเสือทุ่ง (Dysoxylum crytobotryum Miq.) ได้ศึกษาฤทธิ์ของสารเหล่านี้ต่อการหดตัวของหลอด เลือดแดง (umbilical artery) และหลอดเลือดดำ (umbilical vein) ของสายสะดือมนุษย์ จากการศึกษา พบว่าหลอดเลือดของสายสะดือมนุษย์สามารถหดตัวได้น้อยมากเมื่อให้ ACh และ NE (2x10-6 M) เปรียบเทียบกับ 5-HT และ histamine (2x10-6 M) ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดหดตัวได้มาก และถูกยับบังได้เมื่อให้ ketanserin และ chlorpheniramine ตามลำดับ ในสารละลาย Krebs Henseleit และสารแอนโดรกราโฟไลด์ (3x10-4 M) สามารถยับยั้งการหดตัวของหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำซึ่ง กระตุ้นด้วย 5-HT และ histamine (2x10-6 M) สารแอนโดรกราโฟไลด์ (3x10 -5 M) สามารถยับยั้ง การหดตัวของหลอดเลือดแดง ซึ่งกระตุ้นด้วย histamine (2x10-6 M) สารไปเปอรีน (1,5x 10-5 M และ 3x10-5 M) สามารถยับยั้งการหดตัวของทั้งหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำที่กระตุ้นด้วย histamine (2x10-6 M) รวมทั้งไปเปอรีน (3x10-5 M) สามารถยับยั้งการหดตัวของหลอดเลือดแดง และหลอดเลือดดำซึ่งกระตุ้นด้วย 5-HT (2x10-6 M) สำหรับสารโรฮิตูตีน (3.69x10-4 M) สามารถ ยับยั้งการหดตัวของหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำซึ่งกระตุ้นด้วย 5-HTและ histamine(2x10-6 M) แด่สารโรฮิตูตีนในขนาดที่ตํ่าลง (3x10-5 M) ไม่สามารถยับยั้งได้ แต่กลับมีแนวโน้มว่าเพิ่มการหดตัว ของหลอดเลือด ดังนั้น จากผลการศึกษาฤทธิ์ของสารทั้งสามชนิดต่อกล้ามเนื้อเรียบชนิดอื่น ๆ ที่ได้ศึกษามาก่อนหน้านี้ อาจสรุปได้ว่าสารทั้งสามชนิดนี้สามารถยับยั้งการหดตัวของหลอดเลือดที่สายสะดือ อันเป็นข้อมูลที่จะนำไปพิจารณาการใช้ทางการแพทย์ใต้ และเชื่อว่ากลไกในการออกฤทธิ์นั้นไม่ได้จำเพาะเจาะจงต่อ receptor การยับยั้งการหดตัวนำจะเกิดจากการยับยั้งหรือ รบกวนการเคลื่อนที่ผ่าน เข้าเซลล์ของแคลเซียมอิออน
Other Abstract: Andrographolide is a member of lactone compounds isolated from leaves of Thai medicinal plant, Andrographis paniculata Wall.ex Nees. Pipeline is a main alkaloid of Piper nigrum Linn, and rohitukine is a main pure cromone alkaloid that extracted from Dysoxylum crytobotryum Miq. The effects of these compounds on the contraction of isolated human umbilical arteries and veins were investigated. Acetylcholine and NE (2x10-6M) produced only a slight vasoconstriction comparing with 5-HT and histamine (2x10-6M) which produced strong vasoconstriction and were significantly reduced by ketanserin and chlorpheniramine respectively in Krebs-Henseleit solution. Andrographolide (3x10-4M) significantly reduced contraction of umbilical arteries and veins induced by 5-HT and histamine (2x10-6M). In the lower dose (3x10-5M) andrographolide significantly reduced only the contraction of umbilical arteries induced by histamine (2x10-6M). Piperine (1.5x10-5M and 3x10-5M) significantly reduced contraction of umbilical arteries and veins induced by histamine (2x10-6M) and also piperine (3x10-5M) significantly reduced contraction of both vessels induced by 5-HT (2x10-6M). Rohitukine (3.69x10-4M) significantly reduced contraction of umbilical arteries and veins induced by 5-HT and histamine (2x10-6M) but in lower dose (3x10-5M) showed variable increase contraction of umbilical vessels. Due to the previous studies of these compounds on the other smooth muscles it could be suggested that their machanism on umbilical vessels may not mediated via specific receptor and may probably due to interference with Ca2+ influx through membrane calcium channels. These results could be considered for clinical application.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71728
ISBN: 9746348698
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Widarat_su_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ1.03 MBAdobe PDFView/Open
Widarat_su_ch1_p.pdfบทที่ 11.6 MBAdobe PDFView/Open
Widarat_su_ch2_p.pdfบทที่ 2865 kBAdobe PDFView/Open
Widarat_su_ch3_p.pdfบทที่ 32.21 MBAdobe PDFView/Open
Widarat_su_ch4_p.pdfบทที่ 41.22 MBAdobe PDFView/Open
Widarat_su_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก917.5 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.