Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71737
Title: รูปแบบสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย
Other Titles: Suitable model of the office of the commission of countor corruption in Thailand
Authors: ยงยุทธ แสงรุ่งเรือง
Advisors: สุนีย์ มัลลิกะมาลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
การทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ -- ป้องกันและปราบปราม
Issue Date: 2526
Abstract: การคอรัปชั่นในวงราชการเป็นปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบถึงความมั่นคงของประเทศทุกประเทศจึงได้พยายามหาวิธีการต่าง ๆ ในการขจัดคอรัปชั่นในวงราชการ สำหรับประเทศไทยโดยที่ระบบการเมืองของประเทศนั้น ฝ่ายบริหารมีอิทธิพลสูงกว่าฝ่ายนิติบัญญัติจึงมีส่วนให้หน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นมาให้ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางของรัฐในการป้องกันและปราบปรามคอรัปชั่นในอดีตนั้นต่างก็สังกัดอยู่กับฝ่ายบริหารทั้งสิ้นและหน่วยงานเหล่านั้นต่างก็ถูกยุบหรือยกเลิกไปด้วยเหตุผลทางการเมืองตลอดมา ปัจจุบันหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามการคอรัปชั่น คือ สำนักงาน ป.ป.ป. ซึ่งก่อตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. 2518 การทำงานของสำนักงาน ป.ป.ป. ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ไปในทางด้อยประสิทธิภาพทำนอง เสือกระดาษ โดยสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากรูปแบบของสำนักงาน ป.ป.ป. ไม่มีความเหมาะสมกับหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมา ดังนี้ จุดมุ่งหมายของวิทยานิพนธ์นี้ก็คือการหาข้อสรุปเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงพระราชบัญญัติ ป.ป.ป. เกี่ยวกับรูปแบบสำนักงาน ป.ป.ป. ให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการของประเทศไทย ข้อมูลที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์นี้ได้จากเอกสารต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับตัวบทกฎหมายและการเก็บข้อมูลภาคสนามตามแบบสอบถามจากกลุ่มประชากร ตัวอย่างประกอบด้วยกรรมการ อนุกรรมการ เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนและนิติกร จำนวน 78 คน เพื่อทราบความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานในฐานะที่เป็นผู้ใช้กฎหมายโดยตรงในปัญหา อุปสรรคและวิธีการแก้ไข ซึ่งพบว่ารูปแบบของคณะกรรมการ ป.ป.ป. ควรมาจากการแต่งตั้งจากฝ่ายนิติบัญญัติและสำนักงาน ป.ป.ป. สมควรที่จะเป็นสถาบันอิสระจากฝ่ายบริหารโดยให้สังกัดอยู่กับฝ่ายนิติบัญญัติ เพื่อเป็นหลักประกันในความมั่นคงและอิสระในการดำเนินงานของคณะกรรมการ นอกจากนี้พบว่าคุณสมบัติของบุคคลที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งไม่ควรเป็นข้าราชการประจำเพื่อให้คณะกรรมการ ป.ป.ป. ดำรงอยู่ในความอิสระขึ้นกว่าเดิม รูปแบบการดำเนินงานของคณะกรรมการสมควรที่จะเน้นการตั้งอนุกรรมการเฉพาะกิจให้มากขึ้นในด้านการดำเนินการทางวินัยเมื่อประธานกรรมการชี้มูลความผิดไปยังผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ถูกกล่าวหานั้นให้ทำการสอบสวนทางวินัยแล้ว ควรแก้ไขให้คณะกรรมการมีอำนาจทบทวนและทำความเห็นแย้งต่อผู้บังคับบัญชานั้นได้และถ้าคณะกรรมการยังมีมติเห็นแย้งต่อผลการสอบสวนในครั้งหลังของผู้บังคับบัญชานั้น ก็ให้คณะกรรมการส่งเรื่องให้นายกรัฐมนตรีชี้ขาดเป็นการมอบอำนาจการลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายบริหาร ให้นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารลงโทษเอง ไม่ทำให้เกิดการประจันหน้ากันระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร และในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ถูกกล่าวหานั้นเป็น รัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรี ก็ให้สำนักงาน ป.ป.ป. ส่งเรื่องให้แก่รัฐสภา เพื่อรัฐสภาจะได้ดำเนินการอภิปรายไม่ไว้วางใจต่อไป แต่ถ้าเข้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นเป็นข้าราชการตุลาการ เมื่อประธานคณะกรรมการชี้มูลความผิดไปยังผู้บังคับบัญชาแล้ว ควรแก้ไขให้คณะกรรมการมีอำนาจทบทวนและทำความเห็นแย้งต่อคณะกรรมการตุลาการและให้ผลการพิจารณาของคณะกรรมการตุลาการใหม่นี้ถึงที่สุด นอกจากนี้ควรเปลี่ยนรูปแบบการรายงานผลงานประจำปีของคณะกรรมการต่อประธานวุฒิสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นการรายงานประจำปีต่อวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้รัฐสภามีส่วนสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการและรัฐสภาควรแต่งตั้งกรรมาธิการขึ้นคณะหนึ่งทำหน้าที่ติดต่อประสานงานและรับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้มีส่วนได้เสียจากการทำงานของคณะกรรมการ เพื่อให้สอดคล้องกับอำนาจของรัฐสภาในการถอดถอนคณะกรรมการออกจากตำแหน่งได้
Other Abstract: The problem of corruption in the government circle is very serious and it has bad effects on the nation’s security. Every nation has attempted to find ways to eliminate corruption in government offices. According to the Thailand political structure whereby the Administrative Branch has more power than the Legislative Branch, in the past, offices established to prevent and suppress corruption have been under the Administrative Branch and most of them have been dissolved for political reasons. At present, the central bureau set up to prevent and suppress corruption is the Commission of Countor Corruption (C.C.C.) which is organized under the Countor Corruption Act B.E. 2518. The work of the C.C.C. has been subject to criticism in that it is inefficient and dubbed as a “paper tiger”. This is one of the reasons that the organization of the C.C.C. office does not carry out its assignment.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71737
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yongyuth_Sa_front_p.pdf372.9 kBAdobe PDFView/Open
Yongyuth_Sa_ch1_p.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Yongyuth_Sa_ch2_p.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
Yongyuth_Sa_ch3_p.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
Yongyuth_Sa_ch4_p.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
Yongyuth_Sa_ch5_p.pdf642.66 kBAdobe PDFView/Open
Yongyuth_Sa_back_p.pdf461.93 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.