Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71826
Title: แบบจำลองการคมนาคมขนส่งของเมืองระยอง
Other Titles: Transportation models of Rayong
Authors: สมพงษ์ ปักษาสวรรค์
Advisors: ครรชิต ผิวนวล
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การขนส่ง--ไทย--ระยอง
การขนส่ง--แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
Transportation--Thailand
Transportation--Mathematical models
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับแบบจำลองต่อเนื่อง ซึ่งประกอบไปด้วยแบบจำลอง การเกิดการเดินทาง แบบจำลองการกระจายการเดินทาง แบบจำลองรูปแบบการเดินทาง และแบบจำลอง การจัดเส้นทางการเดินทางในพื้นที่ศึกษา เขตผังเมืองรวมจังหวัดระยอง ในการดำเนินการศึกษาได้แบ่งพื้นที่ทั้งหมดออกเป็น 28 พื้นที่ย่อย โดย 25 พื้นที่ย่อยเป็นพื้นที่ภายใน และ 3 พื้นที่ย่อยเป็นพื้นที่รอบนอก และใช้ปี พ.ศ. 2530 เป็นปีฐานการศึกษาการเดินทาง ได้แยกออกเป็น การเดินทางของคนและสินค้า ในการวิเคราะห์แบบจำลองการเกิดการเดินทาง เลือกใวิธี Aggregate Analysis โดยสมการเส้นถดถอย แบบจำลองการกระจายการเดินทาง เลือกใช้แบบจำลองแรงดึงดูดการเดินทาง โดยวิธี Analytic Distribution Function แบบจำลองรูปบบการเดินทาง เลือกใช้แบบจำลองการเดินทางที่จุดปลาย โดยวิธี Motorization ส่วนแบบจำลองการจัดเส้นทางการเดินทาง เลือกใช้วิธี Equilibrium Assignment แบบ Incremental Technique. ผลการศึกษา ปรากฏว่า ตัวแปรที่มีผลต่อการเกิดการเดินทางของคน ประกอบด้วย จำนวนประชากร จำนวนรถมอเตอร์ไซด์ รายได้ประชากร และจำนวนรถยนต์ส่วนบุคคล ตัวแปรที่มีผลต่อการดึงดูดการเดินทางของคน ประกอบด้วย จำนวนนักเรียน จำนวนประชากรผู้ทำงาน จำนวนประชากรที่มีอายุมากกว่า 5 ปี แต่ไม่ใช่นักเรียน และไม่ใช่คนทำงาน ตัวแปรที่มีผลต่อการเกิดการเดินทางของสินค้าประเภทจุดเริ่มตันการเดินทาง และจุดปลายการเดินทาง ประกอบด้วย พื้นที่การใช้ประโยชน์ในที่ดินประเภทธุรกิจ อุตสาหกรรม ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย และการเกษตร ตามลำดับ จากการวิเคราะห์แบบจำลองการกระจายการเดินทาง พบว่า เวลาที่ใช้ในการเดินทางเฉลี่ย เท่ากับ 8.07 นาที สำหรับการเดินทางของคน และ 12.48 นาที สำหรับการเดินทางของสินค้า จากแบบจำลองรูปแบบการเดินทาง สามารถสรุปได้ว่า การเดินทางของคนที่เกิดจากการใช้ระบบขนส่งมวลชน เท่ากับ จำนวนเฉลี่ยร้อยละ 30 และใช้รถส่วนตัวเท่ากับ จำนวนเฉลี่ยร้อยละ 70 โดยเป็นการใช้รกมอเตอร์ไซด์ เท่ากับจำนวนเฉลี่ยร้อยละ 56 ของการเดินทางที่เกิดขึ้นโดยรถส่วนตัว ส่วนผลการวิเคราะห์แบบจำลองการจัดเส้นทางการเดินทาง สรุปได้ว่า ความเร็วเฉลี่ยในการเดินทาง 26.2 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะเวลารวมในการเดินทาง 11786.6 คัน (PCU.)-ชั่วโมง และระยะทางรวมในการเดินทาง 309.3 X10³ คัน (FCU.)-กิโลเมตร
Other Abstract: This research study deals with sequencial models which composed of trip generation model, trip distribution model, nodal split model and traffic assignment model. The study area covers town planning areas of Rayong province, which is divided into 25 traffic zones including 3 outside zones. The year A.D. 1987 was used as the base year, and trips were divided into person trips and goods trips. Aggregate type with regression analysis were used for trip generation model. For trip distribution, the gravity model type with analytic distribution function were used. Trip end type with motorization techniques were used for modal split model. Also, equilibriun assignment type with incremental techniques were used for traffic assignment model. The results of analysis reveals that the factors affect the trip productions and trip attractions of person trips are composed of population, motorcycles, income, passenger cars and students, employees, 5 years over population excluding students and employees, respectively. Also the factors affecting the trip origins and trip destinations of goods trips is land use which composed of business, industrial, low density residence and agriculture land use. Trip distribution models analysis reveal that the average trip time for person and goods are 8.07 minutes and 12.48 minutes, respectively. For modal split models, public trips is approximately 30 % of total trips and production trips using motorcycles is approximately 56 % of private trips. Results of traffic assignment model shows that a average speed is 26.2 KPH, total time spent is 11786.6 PCU. -Hours and total distances travelled is 309.3 X10³ PCU. -Kms.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71826
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1988.92
ISBN: 9745691437
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1988.92
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sompong_pa_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.12 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_pa_ch1_p.pdfบทที่ 1733.23 kBAdobe PDFView/Open
Sompong_pa_ch2_p.pdfบทที่ 22.33 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_pa_ch3_p.pdfบทที่ 32.07 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_pa_ch4_p.pdfบทที่ 41.59 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_pa_ch5_p.pdfบทที่ 51.32 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_pa_ch6_p.pdfบทที่ 61.68 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_pa_ch7_p.pdfบทที่ 71.53 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_pa_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก4.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.