Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71850
Title: รูปแบบเอนไซม์ในทางเดินอาหารของลูกปลากระพงขาว Lates calcarifer (bloch) ซึ่งเลี้ยงด้วยอาหารต่างชนิด
Other Titles: Digestive enzyme patterns in digestive tract of young white sea bass, Lates calcarifer (Bloch) feeding with different diets
Authors: อัญชลี คงสมบูรณ์
Advisors: สัณห์ พณิชยกุล
เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
piamsak@sc.chula.ac.th
Subjects: เอนไซม์ย่อยอาหาร
ปลากระพงขาว--อาหาร
Digestive enzymes
White seabass--Food
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากการศึกษารูปแบบการพัฒนาการผลิตเอนไซม์ย่อยอาหาร (ไคติเนส ทริปซิน เปปซิน และอมายเลส) และศึกษาผลของอาหารต่างชนิดที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและอัตราการรอดของลูกปลากะพงขาว Lates calcariter โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้อาหารมีชีวิตตลอดการทดลองตามช่วงอายุที่เหมาะสมดังนี้ คือ โรติเฟอร์ อาร์ทีเมีย กุ้งเคอย และเนื้อปลาข้างเหลือง (Caranx leptolepsis) สับละเอียด กลุ่มที่ 2 ให้อาหารมีชีวิตและอาหารสูตรสำเร็จสลับกันครั้งละ 12 ชั่วโมง ส่วนกลุ่มที่ 3 ให้อาหารสูตรสำเร็จเป็นเวลา 24 ชั่วโมง และเสริมด้วยอาหารมีชีวิต 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เมื่อทำการเพาะเลี้ยงลูกปลากะพงขาวตั้งแต่อายุ 15 วัน หลังฟักออกเป็นตัวจนถึงสิ้นสุดการทดลอง ผลการวิจัยพบว่าลูกปลากะพงขาวในกลุ่มที่ 2 และ 3 มีอัตราการเจริญเติบโตน้อยกว่าในกลุ่มที่ 1 ในขณะที่อัตราการรอดไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทั้ง 3 กลุ่มทดลอง จากการศึกษารูปแบบการพัฒนาเอนไซม์ย่อยอาหารชนิดต่าง ๆ ในทางเดินอาหาร 3 ส่วน คือ กระเพาะอาหาร (หลอดอาหาร-กระเพาะอาหาร) ลำไส้ (ไส้ติ่ง-ทวารหนัก) และส่วนของทางเดินอาหารทั้งหมด (หลอดอาหาร-ทวารหนัก) พบว่าเอนไซม์ไคติเนสทำงานได้ดีที่สุดในช่วง พี.เอช. ระหว่าง 4.5-5.5 และมีรูปแบบการสังเคราะห์เอนไซม์คล้ายคลึงกันในทุกส่วนของทางเดินอาหาร โดยที่รูปแบบของการสังเคราะห์นี้ไม่มีความสัมพันธ์กับอายุของลูกปลา แต่มีความสัมพันธ์อย่างเห็นได้ชัดว่าขึ้นกับชนิดของอาหารที่มีไคตินเป็นองค์ประกอบ ส่วนในกรณีของทริปซินตรวจพบแอคติวิตีได้เฉพาะในส่วนของลำไส้เท่านั้น และทำงานได้ดีที่สุดในช่วง พี.เอช. 8-9 โดยมีรูปแบบการพัฒนาของเอนไซม์สัมพันธ์กับการเจริญเติบโตและความเข้มข้นของโปรตีนในทางเดินอาหาร เมื่อทำการศึกษาเอนไซม์ย่อยโปรตีนอีกชนิดหนึ่งคือเปปซิน ปรากฎว่าตรวจพบแอคติวิตีได้ในทั้ง 2 ส่วน ของทางเดินอาหาร คือในส่วนกระเพาะอาหาร และส่วนของลำไส้ โดยแอคติวิตีในกระเพาะมีค่าสูงมาก รูปแบบของการสังเคราะห์เอนไซม์เปปซินนั้นปรากฎว่าไม่มีความสัมพันธ์กับชนิดและองค์ประกอบของอาหารที่ให้ สำหรับเอนไซม์อมายเลสไม่สามารถตรวจพบแอคติวิตีได้เลยในทุกส่วนของทางเดินอาหารตลอดระยะการทดลอง 120 วัน
Other Abstract: The developmental pattern of various digestive enzymes (chitinase, trypsin, pepsin and amylase) were studied in the digestive tract of Lates calcarifer (Bloch) feeding with 3 different types of diets. Effect of natural food and compound diets on growth and survival rate were also studied. A series of living diets namely rotifer, artemia, small marine shrimp and, fish meat (Caranx leptolepsis) were fed at various time intervals (group 1). The second group consisted of alternated feeding i.e. 12 hrs compound diet and 12 hrs living diets. The third are increased feeding time for compound diet to 24 hrs and add with the living diets only 6 hrs per week. The white sea bass larvae (15 days after hatching) receiving the compound diet either 12 or 24 hrs resulted in lower growth but nonsignificantly different in survival rate. The optimum pH of chitinase was illustrated at 4.5 - 5.5. The pattern of developmental stage of chitinase enzyme in both stomach (oesophagus-stomach) and intestinal portion (pyloric caecaanus) are similar and also resemble to the pattern found in the whole digestive tract (oesaphagus-anus). The alterations of chitinase activity during growth and development were not corresponding to the age but rather obviously induced by the chitin composition in food-feeding. In the evident of trypsin activity, it was found only in the intestinal portion of L. calcarifer but did not indicated in the stomach portion, white sea bass intestinal trypsin established pH optimal at 8 - 9. There was a close correlation between the growth and trypsin development in young white sea bass. Mean while the increment of protein biosynthesis was also closely related to the elevation of enzyme activity in all two portions of digestive tract. Almost the whole activity of pepsin was found in the stomach portion but only slightly indicated in the intestine. The irregular pattern of pepsin activity was indicated in the digestive tract of young white sea bass but likely independent on the type and composition of fed diets. No significantly amount of amylase activity can be detected in any portions of digestive tract during the period of feeding for 120 days.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์ทางทะเล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71850
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1988.102
ISBN: 9745686794
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1988.102
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Unchalee_ko_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.21 MBAdobe PDFView/Open
Unchalee_ko_ch1_p.pdfบทที่ 11.44 MBAdobe PDFView/Open
Unchalee_ko_ch2_p.pdfบทที่ 21.57 MBAdobe PDFView/Open
Unchalee_ko_ch3_p.pdfบทที่ 33.1 MBAdobe PDFView/Open
Unchalee_ko_ch4_p.pdfบทที่ 41.64 MBAdobe PDFView/Open
Unchalee_ko_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก1.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.