Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71909
Title: มโนทัศน์และพฤติกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของอาจารย์ในสถานศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษา
Other Titles: Concepts and behaviors concerning the environment of instructors in the education institutions under the jurisdiction of The Department of Vocational Education
Authors: อารีรัตน์ พงสยาภรณ์
Advisors: เทพวาณี หอมสนิท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การศึกษาทางอาชีพ -- หลักสูตร
นิเวศวิทยา
การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม
มลพิษ
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบมโนทัศน์และพฤติกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของอาจารย์ในสถานศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ อาจารย์ในสถานศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษาทั่วประเทศ 40 แห่ง รวมทั้งสิ้น 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบความแตกต่างด้วยค่า "ที" (t-test) ทีระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. อาจารย์ในสถานศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษาโดยส่วนรวมมีมโนทัศน์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับดี เมื่อแยกเป็นรายด้าน พบว่า อาจารย์มีมโนทัศน์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมด้านสิ่งแวดล้อมหัวไป ด้านการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ และด้านผลกระทบต่อสุขภาพอยู่ในระดับดีเช่นกัน 2. อาจารย์ในสถานศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษาโดยส่วนรวมมีพฤติกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับดี เมื่อแยกเป็นรายด้าน พบว่า อาจารย์มีพฤติกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมด้านการสนับสนุนและการมีส่วนร่วม กับด้านการอนุรักษทรัพยากรธรรมชาติอยู่ในระดับดี ส่วนพฤติกรรมด้านผลกระทบต่อ สุขภาพอยู่ในระดับพอใช้ 3. อาจารย์ชาย และอาจารย์หญิงมีมโนทัศน์ด้านสิ่งแวดล้อมทั่วไป และด้านผลกระทบต่อสุขภาพแตกต่างกัน ส่วนมโนทัศน์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. อาจารย์ชาย และอาจารย์หญิงมีพฤติกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโดยส่วนรวม และแยกเป็นรายด้านทั้งสามด้าน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this research were to investigate and compare instructors' concepts and their behaviors concerning the environment. The samples in this study were 400 instructors from 40 institutions under the jurisdiction of the Department of Vocation Education. The instrument was' the questionnaires developed by the researcher. The collected data were then analyzed to obtain percentages, means, and standrard deviations. A t-test method was also applied to determine the statistically significant differences at .05 level. The findings were as follows : 1. The instructors' concepts concerning the environment as a whole were at good level. Their concepts concerning general concepts, natural conservation and the affects on human health were at good level too. 2. The instructors' behaviors concerning the environment as a whole at good level. Their behaviors concerning encouragement and participation and natural conservation were to good level, while behaviors related to the affects on human health were fair. 3. There were statistically significant differences at the .05 level between males and females concepts concerning general concepts and the affects on human health. There were no statistically significant differences at the .05 level between males and females concepts concerning natural conservation. 4. There were no stastitically significant differences at the .05 level between males and females behaviors on environment as a whole and three areas of study.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71909
ISBN: 9746316834
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Arrerath_po_front_p.pdf889.09 kBAdobe PDFView/Open
Arrerath_po_ch1_p.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
Arrerath_po_ch2_p.pdf1.97 MBAdobe PDFView/Open
Arrerath_po_ch3_p.pdf727.46 kBAdobe PDFView/Open
Arrerath_po_ch4_p.pdf1.7 MBAdobe PDFView/Open
Arrerath_po_ch5_p.pdf2.2 MBAdobe PDFView/Open
Arrerath_po_back_p.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.