Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71920
Title: การคัดแยกน้ำมันหอมระเหยบางชนิดที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย
Other Titles: Screening of some essential oils with antibacterial activity
Authors: ศิริลักษณ์ ฤทธิรักษา
Advisors: โสภณ เริงสำราญ
สุเทพ ธนียวัน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: น้ำมันหอมระเหย
สารต้านแบคทีเรีย
Essences and essential oils
Antibacterial agents
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดแยกน้ำมันหอมระเหยที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียแล้ววิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีโดยใช้เทคนิคแกสโครมาโทกราฟี/แมสสเปกโทรเมตรี โดยนำพืช 23 ชนิดมาสกัดแยกน้ำมันหอมระเหยและนำมาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย 6 สายพันธุ์ ได้แก่ Staphylococcus aureus , Bacillus subtilis, Streptococcus pyogenes, Salmonella typhi, Escherichia coli และ Pseudomonas aeruginosa จากการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียด้วยวิธี agar diffusion test พบว่าน้ำมันกระชาย (Black Galingale oil) สามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียทั้ง 6 สายพันธุ์และน้ำมันเทพธาโร (Cinnamon oil) สามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย 5 สายพันธุ์ ยกเว้น Pseudomonas aeruginosa แต่มีประสิทธิภาพยับยั้งสูงสุด ค่าความเข้มข้นต่ำสุดของน้ำมันกระชายในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียมีค่าระหว่าง 42.3-338.3 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร และค่าความเข้มข้นต่ำสุดของน้ำมันเทพธาโรในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียมีค่าระหว่าง 10.9-21.9 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร จากการวิเคราะห์น้ำมันหอมระเหยโดยเทคนิคแกสโครมาโทกราฟี/แมสสเปกโทรเมตรี พบว่าน้ำมันกระชายมีองค์ประกอบหลักคือ 3-Carene (33.82%) และ Geraniol (28.84%) ส่วนน้ำมันเทพธาโรมีองค์ประกอบหลักคือ Linalool (96.17%) และสามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียได้
Other Abstract: This research has the objective to study the biological activity of essential oils and to study the chemical components of essential oils analysed by Gas Chromatography and Mass Spectrometry. Essential oils from twenty-three medicinal plants were tested against six bacterial strains consisted of Staphylococcus aureus, Bacillus subtilis, Streptococcus pyogenes, Salmonella typhi, Escherichia coli and Pseudomonas aeruginosa. Results from agar diffusion showed black galingale oil capable of inhibiting six bacterial strains with MIC in the range of 42.3 – 338.3 µg/ml while cinnamon oil were the same except no inhibiting of Pseudomonas aeruginosa. MIC of 10.9-21.9 µg/ml. The GC/MS analysis of essential oils indicated that the main components of black galingale oil are 3 – Carene (33.82%) and Geraniol (28.84%) while for cinnamon oil is Linalool (96.17%). Total main components could inhibit the growth of bacterias.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีชีวภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71920
ISBN: 9746357506
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirirak_ri_front_p.pdfหน้าปก สารบัญและบทคัดย่อ11.36 MBAdobe PDFView/Open
Sirirak_ri_ch1_p.pdfบทที่ 134.78 MBAdobe PDFView/Open
Sirirak_ri_ch2_p.pdfบทที่ 26.27 MBAdobe PDFView/Open
Sirirak_ri_ch3_p.pdfบทที่ 317.99 MBAdobe PDFView/Open
Sirirak_ri_ch4_p.pdfบทที่ 46.7 MBAdobe PDFView/Open
Sirirak_ri_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก9.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.