Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72070
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุปรีชา หิรัญโร | - |
dc.contributor.author | ก้อง ลายเดช | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2021-02-03T07:33:23Z | - |
dc.date.available | 2021-02-03T07:33:23Z | - |
dc.date.issued | 2540 | - |
dc.identifier.isbn | 9746392565 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72070 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาของชุมชนแออัดในเขตคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ตลอดจนการบุกรุกที่ดินของผู้อาศัยในชุมชนแออัด และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาของชุมชนแออัดในอำเภอคลองหลวง ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนแออัดที่เกิดขึ้นในอำเภอคลองหลวง เป็นผลมาจากการพัฒนาอุตสาหกรรม ของท้องถิ่นในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา เดิมเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญและเกิดเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลจากการขยายตัวของกรุงเทพมหานคร อุตสาหกรรมเริ่มเข้ามามีบทบาท โดยเกิดย่านอุตสาหกรรมขึ้นใน 2 บริเวณ คือ นิคมอุตสาหกรรมนวนคร และย่านอุตสาหกรรมบางขันธ์ ในช่วงปี 2520 เกิดการย้ายถิ่นของคนในชนบทเข้ามามาก ซึ่งส่วนใหญ่มาจากจังหวัดในภาคกลางถึง ร้อยละ 45.3 โดยมีปัจจัยด้านแหล่งงานอุตสาหกรรมเป็นปัจจัยดึงดูดให้เกิดการย้ายเข้ามา ลักษณะของชุมชนแออัดที่เกิดขึ้น มี 2 ลักษณะ คือ ชุมชนเกษตรกรรมดั้งเดิมที่แปรสภาพเป็นชุมชนแออัด และชุมชนแออัดที่เกิดขึ้นใหม่ เนื่องจากผู้ย้ายถิ่นมีฐานะที่ยากจน จึงทำให้เกิดรูปแบบการเข้ามาอยู่อาศัย 3 ประเภท ได้แก่ 1. การสร้างบ้านบุกรุกที่ดินของทางราชการ และเอกชน ถึงร้อยละ 43.6 ที่ดินที่มีการบุกรุกมากที่สุดคือที่ดินบริเวณริมคลองชลประทาน 2. การเช่าที่ดินปลูกบ้าน ร้อยละ 27.5 เป็นการเช่าที่จากเอกชนเจ้าของที่ดิน ราคาเช่าส่วนใหญ่มีราคาไม่เกิน 200 บาทต่อเดือน 3. การเช่าห้องพักอาศัย ร้อยละ 16.4 มีลักษณะเป็นเรือนไม้หลังใหญ่แบ่งเป็นห้องราคาค่าเช่าส่วนใหญ่ประมาณ 600-800 บาทต่อเดือน สภาพทางกายภาพ ชุมชนแออัดในเขตคลองหลวง มีลักษณะเป็นบ้านไม้ชั่วคราวและทรุดโทรมพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านมากกว่า 50 ตารางเมตร น้ำประปา และไฟฟ้า ส่วนใหญ่ต้องซื้อจากเอกชนในราคาที่สูง บ้านส่วนใหญ่จะมีส้วมบ่อเกรอะภายในบ้าน สภาพทางเศรษฐกิจ ผู้อาศัยส่วนใหญ่เป็นแรงงานอุตสาหกรรมและค้าของเก่า มักมีฐานะยากจน รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย จึงไม่ค่อยมีเงินเก็บออม และร้อยละ 56.1 ยังมีภาระในเรื่องค่าเล่าเรียนบุตร สภาพทางสังคมมักจะมีลักษณะต่างคนต่างอยู่ไม่ค่อยมีการทำกิจกรรมร่วมกัน หรือช่วยเหลือกันในสังคม กิจกรรมที่ทำร่วมกันบ้าง ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมทางศาสนา ปัญหาของชุมชนแออัด ด้านกายภาพพบว่า ปัญหาสำคัญ คือ ปัญหาการใช้น้ำในการอุปโภคบริโภค ด้านสังคมพบว่าปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญ ในอดีตที่ผ่านมายังไม่ค่อยมีหน่วยงานหรือองค์กรที่เข้ามาให้ความช่วยเหลือ การแก้ไขปัญหาชุมชนแออัด ในเขตคลองหลวงควรได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ควรจัดหาที่อยู่อาศัยให้กับพนักงานเพื่อลดปัญหาชุมชนแออัดในอนาคต | en_US |
dc.description.abstractalternative | This research aims to study the existing and problems of slums in Klong Luang District, Pathumthani Province, including land encroachment of slum dwellers. The research proposes the guidelines to solve the problems as well. The survey found that slums in Klong Luang District originated from the industrial development during the past 25 years. Major area was originally agricultural land. Then, came a change. Industry began to have a role / has begun to play an important role in the area as it was an impact of Bangkok expansion. Consequently, two industrial estates were developed at Nawanakorn District and Bang Khan District. During 1977, there were a lot of in-migrations from rural areas, especially from the provinces in the central region (45.3%). The magnet of the in-migrations was job opportunities in industries. There were 2 types of slum forming: slums that were originally agricultural community, and slums that were newly formed. Due to poverty, immigrants were unable to acquire formal housing in the market, and had to live in 3 housing types as follows: 1. Housing built on encroached land, both officially and privately owned (43.6%) Most encroachments were made along Klong Chon Prathan. 2. Housing built on the land rented from private land owners (27.5%). Most rental did not exceed 200 Baht per month / was 200 Baht per month (maximum.) 3. Rental housing (16.4%), normally big wood houses divided into small rooms. Most rental ranged from 600-800 Baht per month. Physically, slums in Klong Luang are temporarily – built on wood houses with internal functional area of exceeding 50 sq.m. Mostly, water supple and electricity have to be purchased from private at high prices, and in-house sepage and septic tanks are provided. Economically, most slum dwellers are industrial labour and waste sellers. Mostly, they are poor. Their incomes are smaller than their expenses. They hardly have savings. 56.1% still have to pay for the children’s education. Socially, they live individually. There are hardly get together or inter-supported activities. Most get together activities are religious activities. Slums’ problems are as follows: Physically, the main problem is potable water. Socially, the main problem is drug addiction. In the past, there were hardly no assistance or support from any organizations extended. In order to solve the problems of slums in Klong Luang District, there should be full cooperation from concerned agencies, especially industrial performers should provide housing for labours in the future. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ชุมชนแออัด -- ไทย -- คลองหลวง (ปทุมธานี) | en_US |
dc.title | ที่อยู่อาศัยประเภทชุมชนแออัด ในเขตคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี | en_US |
dc.title.alternative | Slums in Klongluang district Pathumthani Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | เคหการ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Supreecha.H@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kong_la_front_p.pdf | 612.54 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kong_la_ch1_p.pdf | 561.31 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kong_la_ch2_p.pdf | 1.09 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kong_la_ch3_p.pdf | 569.3 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kong_la_ch4_p.pdf | 3.57 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kong_la_ch5_p.pdf | 2.51 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kong_la_ch6_p.pdf | 968.49 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kong_la_back_p.pdf | 546.55 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.