Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72079
Title: | Anticonvulsant activity and effects of amide 1C on the central nervous system |
Other Titles: | ฤทธิ์ต้านการชักและผลต่อระบบประสาทส่วนกลางของสารเอมายด์ 1 ซี |
Authors: | Wandee Yeamvanichanun |
Advisors: | Mayuree Tantisira Boonyong Tantisira |
Other author: | Chulalongkorn University. Graduate School |
Advisor's Email: | Mayuree.T@Chula.ac.th No information provinded |
Issue Date: | 1997 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | Amide 1C is a newly synthesized valproic acid analog, being synthesized in an attempt to obtain a new compound with higher potency and less toxicity than its parent compound. Anticonvulsant activity, lethality and neurotoxicity of Amide 1C were investigated in mice using valproic acid (VPA) as a reference drug. Additionally, microdialysis technique was used to study the effect of Amide 1C on cortical amino acid neurotransmitters of anesthetized rats. The evaluation of anticonvulsant activity was performed in mice using two standard screening models, the maximal electroshock seizures (MES) and pentylenetetrazol (PTZ) tests. In MES test, Amide 1C was found to be orally and intraperitoneally effective showing the maximal protection around 15 min after pretreatment while the corresponding value for VPA was 30 min. Like VPA, an intraperitoneal administration of Amide 1C exhibited protection in MES, PTZ and bicuculline tests but was ineffective in the strychnine test. The median effective doses (ED₅₀) of Amide 1C were 81, 33 and 214 mg/kg BW. In MES, PTZ and bicuculline tests, respectively, while corresponding values for VPA were 218, 93 and 395 mg/kg BW., respectively. These results indicated that Amide 1C exhibited a greater potency and a more rapid action than those of VPA. In toxicity testing, although the median lethal dose (LD₅₀) of Amide 1C was lower than that of VPA, the relative safety margin (LD₅₀/ED₅₀) of Amide 1C were substantially higher than those of VPA, about 2 times higher, in both MES and PTZ tests. Minimal neurological deficit assessed by rotorod test and expressed as the median neurotoxic dose (TD₅₀) were 318 and 386 mg/kg BW. For Amide 1C and VPA respectively. Therefore a wider therapeutic of Amide 1C than VPA can be anticipated as the protective indice (PI = TD₅₀/ED₅₀) were 3.86 and 9.48 mg/kg BW. for Amide 1C while they were 177 and 4.15 mg/kg BW. for VPA in MES and PTZ test respectively. Furthermore, no significant depressant effect on motor activity was demonstrated by the ED₅₀ of Amide 1C, though Amide 1C in the dose of 100 mg/kg BW. was able to prolong the barbiturate sleeping time. With regards to possible mechanisms of Amide 1C, microdialysis study in anesthetized rats indicated that neither inhibitory (GABA and glycine) nor excitatory (aspartate and glutamate) cortical amino acid neurotransmitters were altered by Amide 1C. The present study demonstrated a promising prospect for Amide 1C as a candidate for a potent and broad spectrum antiepileptic drug with higher margin of safety and lower side effects. However, extensive studies are needed to elucidate its precise mechanism of action as well as pharmacological and toxicological profiles. |
Other Abstract: | สารเอมายด์ 1 ซีเป็นอนุพันธ์ใหม่ของกรดวาลโปรอิคที่ถูกพัฒนาโดยคาดว่าจะมีฤทธิ์ต้านการชักและมีความเป็นพิษน้อยกว่ากรดวาลโปรอิค การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านการชัก, การทำให้ตาย และพิษต่อระบบประสาทส่วนกลางของสารเอมายด์ 1 ซีในหนูถีบจักรเปรียบเทียบกับกรดวาลโปรอิค ตลอดจนศึกษาฤทธิ์ต่อสารสื่อประสาทชนิดกรดอะมิโนในเปลือกสมองใหญ่ของหนูขาวในขณะหลับด้วยวิธีไมโครไดอะลัยซีส การศึกษาฤทธิ์ต้านการชักที่เหนี่ยวนำด้วยไฟฟ้าและสารเคมีในหนูถีบจักร พบว่าการให้สารเอมายด์ 1 ซี ทางช่องท้องและทางปากสามารถต้านการชักที่เหนี่ยวนำด้วยไฟฟ้าได้ ส่วนการให้สารเอมายด์ 1ซี ทางช่องท้องสามารถต้านการชักที่เหนี่ยวนำด้วยสารเพนทิลีนเตตระซอลและสารไบคุคูลลินแต่ไม่สามารถต้านการชักจากสารตริคนิน เมื่อเปรียบเทียบต้านการชักกับกรดวาลโปรอิคพบว่าการให้เอมายด์ 1 ซี ทางช่องท้องมีขอบเขตของการต้านการชักคล้ายคลึงกับกรดวาลโปรอิคเพียงแต่สารเอมายด์ 1 ซี ออกฤทธิ์เร็ว (เอมายด์ 1ซี 15 นาที, กรดวาลโปรอิค 30 นาที) และมีฤทธิ์แรงกว่าต่อการชักที่เหนี่ยวนำด้วยไฟฟ้า, สารเพนทิลีนเตตระซอลและสารไบคุคูลลินแต่ไม่สามารถต้านการชักจากสารสตริคนินเช่นเดียวกับกรดวาลโปรอิค ขนาดของสารเอมายด์ 1ซีที่ต้านการชักในสัตว์ทดลองจำนวนครึ่งหนึ่ง (ED₅₀) ที่เหนี่ยวนำการชักด้วยไฟฟ้า, สารเพนทิลีนเตตระซอลไบคุคูลลีนเท่ากับ 81, 33 และ 214 มก/กก ตามลำดับ ส่วนของกรดวาลโปรอิค เท่ากับ 218, 93และ 395 มก/กก ตามลำดับ การศึกษาพิษของสารเอมายด์ 1 ซี พบว่าขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองจำนวนครึ่งหนึ่งตาย (LD₅₀) ของสารเอมายด์ 1 ซีและกรดวาลโปรอิค เท่ากับ 602 และ 832 มก/กกตามลำดับ แต่ค่าขอบเขตความปลอดภัยของสารเอมายด์ 1 ซี ซึ่งแสดงด้วยสัดส่วนระหว่างขนาดของสารที่ทำให้สัตว์ทดลองจำนวนครึ่งหนึ่งตายกับขนาดของสารที่ต้านการชักซึ่งเหนี่ยวนำด้วยไฟฟ้าและสารเพนทิลีนเตตระซอลในสัตว์ทดลองจำนวนครึ่งหนึ่งสูงกว่ากรดวาลโปรอิค 2 เท่า (เอมายด์ 1ซี = 7.43, 18.24 และ กรดวาลโปรอิค = 3.82, 8.95 ตามลำดับ) รวมทั้งค่า PI (TD₅₀/ED₅₀) ของสารเอมายด์ 1 ซี (3.86, 9.48) ซึ่งเป็นอัตราส่วนระหว่างขนาดของสารที่ทำให้เกิดพิษต่อระบบประสาทส่วนกลางในสัตว์ทดลองจำนวนครึ่งหนึ่ง (TD₅₀) กับขนาดของสารที่ต้านชักได้ในสัตว์ทดลองจำนวนครึ่งหนึ่งของการชักที่เหนี่ยวนำทั้งจากไฟฟ้าและสารเพนทิลีนเตตระซอลของสารเอมายด์ 1 ซีก็ยังสูงกว่ากรดวาลโปรอิค (เอมายด์ 1 ซี = 3.86, 9.48 และกรดวาลโปรอิค = 1.77, 4.15) นอกจากนี้สารเอมายด์ 1 ซี และกรดวาลโปรอิคไม่มีผลกดการเคลื่อนไหวของหนูถีบจักรแต่มีผลทำให้เพิ่มเวลาในการหลับของหนูถีบจักรที่ได้รับยาสลบเพนโตบาร์บิทาล จากข้อมูลที่ได้แสดงว่าสารเอมายด์ 1 ซี มีขอบเขตความปลอดภัยสูงกว่าและมีผลข้างเคียงที่ไม่ต้องการน้อยกว่ากรดวาลโปรอิค การศึกษาระดับกรดอะมิโนในเปลือกสมองใหญ่ของหนูขาวด้วยวิธีไมโครไดอะลัยซีสพบว่าเอมายด์ 1 ซี (100, 200 มก/กก) และกรดวาลโปรอิค (200, 400 มก/กก) ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงระดับกรดอะมิโนทั้งในส่วนที่มีฤทธิ์ยับยั้ง (กาบา และ กลัยซีน) หรือมีฤทธิ์กระตุ้น (กลูตาเมท และแอสพาเตท) ต่อสมอง อย่างไรก็ตามการที่เอมายด์ 1 ซีสามารถต้านชักจากสารไบคุคูลลินซึ่งมีคุณสมบัติยับยั้งการจับของกรดแกมมาอะมิโนบิวไทลิกกับตัวรับ อาจเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการศึกษากลไกการต้านชักของสารเอมายด์ 1 ซีกับตัวรับดังกล่าว ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสารเอมายด์ 1 ซี เป็นสารออกฤทธิ์ต้านชักที่มีขอบเขตในการต้านชักกว้างมีขอบเขตความปลอดภัยสูงและมีอาการข้างเคียงต่ำ ซึ่งขณะนี้ไม่สามารถอธิบายกลไกการต้านชักได้ จำเป็นต้องมีการศึกษาสารเอมายด์ 1 ซีโดยละเอียดทั้งกลไกการออกฤทธิ์ตลอดจนฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและพิษวิทยาเพื่อที่จะพัฒนาสารตัวนี้ต่อไป |
Description: | Thesis (M.Sc. in Pharm)--Chulalongkorn University, 1997 |
Degree Name: | Master of Science in Pharmacy |
Degree Level: | Master's Degree |
Degree Discipline: | Pharmacology |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72079 |
ISBN: | 9746372688 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wandee_ye_front_p.pdf | 862.36 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wandee_ye_ch1_p.pdf | 1.86 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wandee_ye_ch2_p.pdf | 926.62 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wandee_ye_ch3_p.pdf | 1.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wandee_ye_ch4_p.pdf | 646.55 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wandee_ye_back_p.pdf | 845.12 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.