Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72229
Title: | ความรู้และความสามารถในการแก้ปัญหาของมารดาเกี่ยวกับอาหารเสริมของทารก : การศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนบ้านครัวใต้ |
Other Titles: | Mothers' knowledge and ability in solving problem concerning supplementary food of the infants : a case study of Ban Kruatai community |
Authors: | ธีรนุช วนะโพธิ์ |
Advisors: | ประนอม โอทกานนท์ ประนอม รอดคำดี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ฺไม่มีข้อมูล Pranom.R@Chula.ac.th |
Subjects: | ทารก -- อาหาร -- ไทย ทารก -- โภชนาการ -- ไทย อาหารเสริม มารดาและทารก -- ไทย Infants -- Food -- Thailand Infants --Nutrition -- Thailand Enriched foods Mother and infant -- Thailand |
Issue Date: | 2530 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเฉพาะกรณี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และความสามารถในการแก้ปัญหาของมารดาชุมชนบ้านครัวใต้ เกี่ยวกับอาหารเสริมของทารก ได้ทำการศึกษาจากประชากรจำนวนทั้งสิ้น 101 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ความรู้ และแบบสัมภาษณ์ความสามารถในการแก้ปัญหา เกี่ยวกับอาหารเสริมของทารกในเรื่อง ประเภทอาหารเสริมที่ให้จำแนกตามอายุ วิธีการเตรียมและประกอบอาหารเสริม และวิธีการให้อาหารเสริมแก่ทารก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. มารดาทั้งหมดจำนวน 101 คน มีค่าเฉลี่ยความรู้เรื่องอาหารเสริมของทารกอยู่ในระดับปานกลาง ในจำนวนนี้พบมารดาร้อยละ 18. 8 มีค่าเฉลี่ยความรู้อยู่ในระดับดี ร้อยละ 11.9 มีค่าเฉลี่ยความรู้อยู่ในระดับน้อย และส่วนใหญ่ซึ่งพบร้อยละ 69. 3 มีความรู้เฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง 1.1 ประเภทอาหารเสริมที่มารดาเริ่มให้จำแนกตามอายุทารก พบว่า มารดาเริ่มให้อาหารเสริมแก่ทารก เมื่อทารกอายุ 3-4 เดือน เป็นจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 89. 10 แต่พบมารดาที่ให้อาหารเสริมได้ถูกต้องเมื่อบุตรอายุ 3-4 เดือน เพียงร้อยละ 38.88 1.2 การเตรียมและประกอบอาหารเสริม มารดาส่วนใหญ่มีวิธีการเตรียมและประกอบอาหารเสริมถูกต้อง คือ วิธีการเตรียมอาหารมารดาจะล้างมือ และล้างผักผลไม้ หรือ เนื้อก่อนประกอบเป็นอาหาร วิธีประกอบอาหารนั้น มารดาส่วนใหญ่ประกอบอาหารให้เหมาะสมกับสภาพของทารก เช่น ทารกยังไม่มีฟัน จะใช้วิธีบดให้ละเอียดหรือตุ๋น และ เมื่อทารกฟันขึ้นแล้วก็ให้อาหารชิ้นเล็ก ๆ 1.3 วิธีให้อาหารเสริมแก่ทารก มารดามากกว่าร้อยละ 50 มีความรู้ถูกต้องเรื่องวิธีการให้อาหารเสริมในจำนวน 8 ข้อ ในเรื่องจำนวนมื้อที่ให้อาหารเสริมที่เหมาะสมกับอายุทารก พบมารดาให้อาหาร 1 มื้อ เมื่อทารกอายุ 5-6 เดือน คิดเป็นร้อยละ 18.81 และจำนวนมารดาที่ให้อาหารเสริมแก่ทารก 3 มื้อ เมื่อทารกอายุ 9-12 เดือน คิดเป็นร้อยละ 23.80 2. มารดาทั้งหมด 101 คน มีค่าเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับอาหารเสริมของทารกอยู่ในระดับปานกลาง พบมารดาระดับความรู้ดี ปานกลางและน้อย มีจำนวนใกล้เคียงกันคิดเป็นร้อยละ 33.7 34.6 และ 31.7 ตามลำดับ 2 .1 ความสามารถในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับอาหารเสริมที่ให้จำแนกตามอายุทารก พบว่ามารดาที่มีค่าเฉลี่ยความสามารถอยู่ในระดับดีและน้อยจำนวนใกล้เคียงกัน คิดเป็นร้อยละ 38.6 และ 40 .6 ส่วนมารดาที่มีค่าเฉลี่ยความสามารถระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 20.8 2.2 ความสามารถในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับอาหารเสริมเรื่องวิธีการเตรียมและประกอบอาหารเสริม พบว่ามีมารดาที่มีค่าเฉลี่ยความสามารถอยู่ในระดับน้อย มีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 47.5 และมารดาที่มีค่าเฉลี่ยความสามารถระดับดีและปานกลางมีจำนวนใกล้เคียงกัน คิดเป็นร้อยละ 24. 8 และ 27.7 ตามลำดับ 2.3 ความสามารถในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับอาหารเสริมเรื่องวิธีการให้อาหารเสริมแก่ทารก พบมารดาที่มีค่าเฉลี่ยความสามารถอยู่ในระดับดี ร้อยละ 53.5 ระดับปานกลาง และน้อย คิดเป็นร้อยละ 21.8 และ 24.7 ตามลำดับ |
Other Abstract: | This research was a case study. The purposes were to study mothers' knowledge and ability in solving problems concerning supplementary food for the infants in Ban Kruatai community. The population of this study were 101 mothers. The research instrument developed by the researcher, was the interview questionnaire. The instrument composed of knowledge and ability in solving problems which included those kinds of food provided to infants at appropriate age, preparation and cooking supplementary food method and feeding principles. The data were analysed by using percentage, arithmetic mean and standard deviation. The conclusions were as follows: 1. Total mothers got the arithmetic mean of supplementary food knowledge at the middle level. Only 18.8 percent of the mothers were at the good level, 69.3 percent were at the middle level and 11.9 percent were at the low level 1.1 Concerning kind of food provided to infants at appropriate age, 89.10 percent of the mothers started feeding their infants at the age of 3-4 months, but only 38.88 percent of the mothers provided proper kind of food at appropriate age. 1.2 The results concerning preparation and cooking supplementary food were as follow: Most mothers washed their hands, vegetable and fruits or meat before cooking. Most mothers cooked the food by finding or steaming while the babies had no teeth and when the babies' teeth had crupted, gave small pieces of food. 1.3 The feeding principles, Eight from twelve principles of feeding supplementary food were used by more than 50.00 percent of the mothers. 18.81 percent of the mothers fed their babies 1 meal of supplementary food at the babies' age of 5-6 months, and 23.80 percent fed 3 meals when the babies' age were 9-12 months. 2. The ability in solving problems One hundred and one mothers got the arithmetic mean at the middle level. There were 33.7, 34.6 and 31.7 percent of the mothers who got good, middle and low level ability respectively. 2.1 The ability in solving problems concerning supplementary food appropriate to infants' age. There were 20.80, 38.60 and 40,60 percent of the mothers who got the arithmetic mean at the middle good and low level, respectively. 2.2 The ability in solving problems concerning preparation and cooking supplementary food methods. There were 24.8, 27.7 and 47.5 percent of the mothers who got the arithmetic mean at the good, middle and low level respectively. 2.3 The ability in solving problems concerning feeding supplementary food principles. There were 21.8, 24.7 and 53.5 percent of the mothers who got the arithmetic mean at the middle, low and good level respectively. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72229 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.1987.29 |
ISBN: | 9745675113 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.1987.29 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Theeranut_wa_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 924.22 kB | Adobe PDF | View/Open |
Theeranut_wa_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 804.61 kB | Adobe PDF | View/Open |
Theeranut_wa_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
Theeranut_wa_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 768.93 kB | Adobe PDF | View/Open |
Theeranut_wa_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 1.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Theeranut_wa_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 951.49 kB | Adobe PDF | View/Open |
Theeranut_wa_back_p.pdf | รายการอ้างอิงและภาคผนวก | 1.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.