Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72252
Title: การใช้หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ วิชางานเลือกในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดสมุทรสงคราม
Other Titles: Implementation of elective subjects in work-oriented experience of the primary schools curriculum B.E. 2521 in primary school under the jurisdiction of the Provincial Primary Education Office in Changwat Samutsongkhram
Authors: วิโรจน์ วัฒนานิมิตกูล
Advisors: บุญมี เณรยอด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Boonmee.N@Chula.ac.th
Subjects: กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ -- การศึกษาและการสอน
กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ -- หลักสูตร
การศึกษาขั้นประถม -- หลักสูตร
Career education -- Curricula -- Thailand
Education, Elementary -- Curricula -- Thailand
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาสภาพการใช้หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ วิชางานเลือก ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม 2. เพื่อศึกษาบัญหาการใช้หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ วิชางานเลือก ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 103 โรง โดยมีผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารและครูผู้สอน กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ วิชางานเลือก ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ประจำปีการศึกษา 2529 ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดสมุทรสงคราม แยกเป็นผู้บริหาร 103 คน ครูผู้สอน 105 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากจำนวนแบบสอบถามที่ส่งไป 208 ฉบับ ได้รับคืน 192 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 92.30 ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ นอกจากนั้นยังได้มีการวิเคราะห์เอกสารประกอบหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ วิชางานเลือก ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัคสมุทรสงคราม โดยวิเคราะห์ถึงประเภทของเอกสาร องค์ประกอบของเอกสาร รายจะเอียดขององค์ประกอบแต่ละองค์ประกอบ เนื้อหาสาระ และผู้จัดทำ เป็นการวิเคราะห์ในด้านความสมบูรณ์และถูกต้อง โดยยึดทฤษฎีและหลักการของการพัฒนาหลักสูตร ผลการวิจัย 1. ด้านการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน มีการจัดทำกำหนดการสอน และบันทึกการสอน โดยครูผู้สอนเป็นผู้จัดทำ ด้วยวิธีการศึกษาจุดประสงค์การเรียนรู้ประกอบการจัดทำ และศึกษาแผนการสอนอย่างละเอียด นอกจากนี้ยังมีการจัดทำเอกสารประกอบหลักสูตร ได้แก่ แผนการสอน กำหนดการสอน บันทึกการสอน และใบงาน ผู้มีส่วนร่วมในการจัดทำเอกสารประกอบหลักสูตรดังกล่าว คือ ครูผู้สอน กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ ศึกษานิเทศก์สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม และศึกษานิเทศก์สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ เอกสารประกอบหลักสูตรที่ครูผู้สอนส่วนใหญ่ใช้ คือ คู่มือการจัดการเรียนการสอนกลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ แผนการสอน ในระดับเขตการศึกษา หนังสือความรู้สำหรับครู และกำหนดการสอน 2. ด้านการจัดปัจจัย และสภาพต่าง ๆ เพื่อการใช้หลักสูตร ปรากฎว่า ในการเตรียมครูผู้สอน มีการสำรวจความพร้อมของครูผู้สอนของโรงเรียนก่อนเปิดสอน งานเลือกแต่ละแขนงงาน โดยวิธีการสัมภาษณ์ครูผู้สอน เตรียมครูผู้สอนเพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรโดยวิธีการแจกเอกสารแนวการสอนให้ศึกษาพร้อมกับหลักสูตรและขอบข่ายวิชา ช่วยเหลือครูผู้สอนในการเพิ่มพูนทักษะความรู้ในวิชาที่สอน โดยวิธีสนับสนุนให้เข้าอบรมระยะสั้น เกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอนนั้น เอกสารประกอบหลักสูตร ที่จัดให้ครูผู้สอน คือ คู่มือการจัดการเรียนการสอน หนังสือความรู้สำหรับครู แผนการสอนจากเขตการศึกษาหลักสูตรแม่บท และใบงาน โรงเรียนส่วนใหญ่มีการสำรวจเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอนโดยวิธีการให้ครูผู้สอนรายงานความต้องการมายังฝ่ายบริหาร ให้การสนับสนุนในด้านวัสดุต่าง ๆ และช่วยเหลือด้านงบประมาณ สำหรับสภาพของวัสดุ อุปกรณ์การสอน และเครื่องมือในการฝึกปฏิบัติ ที่มีอยู่ส่วนใหญ่มีสภาพทันสมัยใช้การได้ดี แต่มีจำนวนไม่เพียงพอ การแก้ปัญหาความไม่เพียงพอของวัสดุการสอน ส่วนใหญ่ใช้วิธีการนำวัสดุในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ เกี่ยวกับสถานที่ที่ใช้สอนและห้องฝึกปฏิบัติ นั้นมีเพียงพอ และมีการดูแลพร้อมที่จะใช้งานได้ตลอดเวลา โดยมีครูผู้สอนและนักเรียนเป็นผู้ดูแลรักษา เกณฑ์ในการจัดสภาพของห้องฝึกปฏิบัติวิชางานเลือกนั้น ถือเกณฑ์ความสะดวกต่อการใช้ของทั้งผู้สอนและผู้เรียน และความสอดคล้องกับลักษณะกระบวนการเรียนการสอนของกลุ่มประสบการณ์ 3. ด้านการจัดการเรียนการสอน เกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอน ครูผู้สอนส่วนใหญ่มีการเตรียมการสอนทุกครั้ง มีการชี้แจงแผนการเรียน และแผนการฝึกปฏิบัติงาน ให้นักเรียนทราบตลอดเปิดภากเรียน มีการชี้แจงจุดประสงค์ในการเรียนตามแผนการสอนแต่ละครั้ง ให้นักเรียนทราบก่อนการสอนทุกครั้ง และมีการชี้แจงข้อบกพร่อง ในการฝึกปฏิบัติของนักเรียน อย่างไรก็ตามยังไม่มีการปฏิบัติเกี่ยวกับการพานักเรียนไปดูงานหรือศึกษานอกสถานที่ เนื่องจากโรงเรียนตั้งอยู่ในท้องถิ่นที่กันดาร การคมนาคมไม่สะดวก และโรงเรียนขาดงบประมาณ ครูผู้สอนส่วนใหญ่จัดให้มีกิจกรรมเสริมการเรียนการสอน โดยใช้การจัดป้ายนิเทศ ผู้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเสริมการเรียนการสอน คือ ครูผู้สอน และนักเรียนที่เรียนร่วมกันทำ เกี่ยวกับเทคนิคและวิธีสอน ครูผู้สอนส่วนใหญ่มีความชำนาญในการใช้และสาธิตวิธีใช้อุปกรณ์ และเครื่องมือต่าง ๆ ส่วนวิธีสอนที่ถนัดและใช้สอน ได้แก่ วิธีการเรียนด้วยการปฏิบัติและวิธีสาธิต สำหรับเกณฑ์ที่ใช้ในการเลือกวิธีสอน ครูผู้สอนส่วนใหญ่ยึดเกณฑ์ความตรงตามจุดประสงค์ และความพร้อมของผู้เรียน ส่วนเอกสารประกอบหลักสูตรที่ใช้ในการสอนแต่ละครั้งส่วนใหญ่ใช้แผนการสอน และคู่มือการจัดการเรียนการสอน เกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผลการเรียน ครูผู้สอนส่วนใหญ่ประเมินผลงานในการฝึกปฏิบัติของนักเรียนทุกครั้ง โดยประเมินผลเกี่ยวกับวิธีการ กระบวนการและขั้นตอนการปฏิบัติงาน เจตคติ และนิสัยการทำงาน ส่วนวิธีการที่ใช้ในการวัดผลการเรียนการสอน ส่วนใหญ่ใช้การสังเกตการปฏิบัติงาน และฝึกปฏิบัติแล้วเก็บคะแนน ครูผู้สอนส่วนใหญ่มีการชี้แจงหลักเกณฑ์และกำหนดวิธีการวัดผลให้นักเรียนทราบก่อนเริ่มการสอนทุกแขนงงานในวิชางานเลือก และชี้แจงข้อบกพร่องให้นักเรียนทราบหลังจากการสอนทุกครั้ง สำหรับเอกสารประกอบหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ วิชางานเลือก ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม ส่วนใหญ่มีความสมบูรณ์ และถูกต้องตามทฤษฎี และหลักการของการพัฒนาหลักสูตร ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้หลักสูตรมีดังนี้ 1. ด้านการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน ปัญหาส่วนใหญ่ คือ งบประมาณในการดำเนินงานไม่เพียงพอ ขาดครูที่มีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำ ขาดแหล่งวิทยาการในท้องถิ่น และช่วงเวลาในการดำเนินการไม่เพียงพอ 2. ด้านการจัดปัจจัยและสภาพต่าง ๆ เพื่อการใช้หลักสูตร ปัญหาส่วนใหญ่ ได้แก่ พื้นฐานความรู้ความสามารถของครูต่างกัน ขาดครูผู้ดำเนินงานที่มีความรู้ความสามารถ งบประมาณในการดำเนินงานไม่เพียงพอ การไม่ได้รับการแนะนำชี้แจงการใช้หลักสูตร / ไม่ได้รับการอบรม และไม่ได้รับข่าวสาร เกี่ยวกับการเผยแพร่ความรู้หรือการจัดอบรม วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือในการฝึกปฏิบัติไม่เพียงพอ 3. ด้านการจัดการเรียนการสอน ปัญหาส่วนใหญ่ เกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอน คือ ความรู้พื้นฐานของนักเรียนต่างกัน งบประมาณ และช่วงเวลาในการจัดไม่เพียงพอ การขาดแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับเทคนิคและวิธีสอน เครื่องมือในการวัดและประเมินผลการเรียนไม่เพียงพอ และเกณฑ์ในการวัดและประเมินผลการเรียนไม่ชัดเจน
Other Abstract: Purposes 1. To study the implementation of elective subjects in work-oriented experience of the Primary Schools Curriculum B.E. 2521 in primary schools under the jurisdiction of the Provincial Primary Education Office in Changwat Samutsongkhram 2. To study problems related to the implementation of elective subjects in work - oriented experience of the Primary Schools Curriculum B.E. 2521 in primary schools under the Jurisdiction of the Provincial Primary Education Office in Changwat Samutsongkbram Procedures : Population of this study consisted of 103 primary schools under jurisdiction of Provincial Primary Education office in Samutsongkhram by which data were gathering from 103 school administrators and 105 elective subjects teachers through questionnaires. Of the total 208 questionnaires sent out, 192 copies, or 92.30 percent were completed and returned. Data were analyzed by using percentage. Curriculum documents and supplements provided and used also were analyzed according to their justification and completeness. Finding: Concerning the curriculum application the findings showed that teaching plans and lesson plans were organized by teachers upon studying learning objectives and instructional plans. Other curriculum documents and supplements such as instructional plans, teaching plans, and lesson plans were also organized by elective subjects teachers, educational supervisors at district and provincial levels. However, curriculum documents and supplements which were mostly used by teachers were teacher- handbooks, instructional plans, and lesson plans. Concerning the curriculum materials and facilities, the interviewing and surveying methods were employed to study the teacher's readiness, then curriculum documents and supplements were distributed for preparation prior the beginning of the semester. Seminars and workshops were also provided for teachers. Curriculum documents and supplements which schools provided for teachers was composed of instructional guides and handbooks, teaching plans, curriculum, and work-sheets bywhich teachers may requested through administrators. Most of materials and facilities were in good condition they were some which short of supplies. However, local materials were also promoted for instructional application. There were sufficient amount of classrooms and workshops, also they were ready for using bywhich teachers and students took a good care of those places. Moreover, criterion for classrooms and workshops selection and organized were due to its appropriateness for instruction. Concerning the instruction, most teachers prepared lesson plans, study plans, learning objectives, and inferior practicing was also informed to students. However field-trips and study tours still were not employed due to problems of travelling and budget. Bulletin boards were used as extra-curriculum activities which were organized by teachers and students. Most teacher performed demonstration and laboratory techniques in teaching these subjects. Teachers considered students readiness and learning objectives as a criteria for selecting teaching techniques. Lesson plans and instructional guides were mostly used as a curriculum documents and supplements. Formative and summative evaluations were applied by teachers in evaluating student learning. Criterion and methods for evaluation were informed to students before the beginning of classes. Upon analyzing evaluating and the curriculum documents and supplements provided for teachers it showed that most of them were justified and appropriated to principles and theories in curriculum development. With regard to the problems concerning the curriculum implementation they showed that in curriculum application problems were lack of budget, insufficient amount of capable teachers, lack of local academic resources, and insufficient of time. However, in curriculum materials and facilities problems were teachers' capabilities and performances, insufficient amount of budget, problems of communication, and insufficient amount of materials and facilities used in laboratories. Considering the instructional problems, it showed that learning activities were rated as problems due to different background of students. Budget, instructional time, teaching techniques, amount of measurement and evaluation tools, and measurement and evaluation criteria were also reported as the areas of problems.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72252
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1987.171
ISBN: 9745674648
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1987.171
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wirot_wa_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.47 MBAdobe PDFView/Open
Wirot_wa_ch1_p.pdfบทที่ 11.08 MBAdobe PDFView/Open
Wirot_wa_ch2_p.pdfบทที่ 22.97 MBAdobe PDFView/Open
Wirot_wa_ch3_p.pdfบทที่ 3835.28 kBAdobe PDFView/Open
Wirot_wa_ch4_p.pdfบทที่ 44.35 MBAdobe PDFView/Open
Wirot_wa_ch5_p.pdfบทที่ 52.37 MBAdobe PDFView/Open
Wirot_wa_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก2.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.