Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72280
Title: แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการประเมินและปรับปรุง ระบบคลองระบายน้ำบริเวณหัวหมาก
Other Titles: A mathematical model for evaluation and rehabilitation of the canal drainage system in Hua Mak area
Authors: สุรพงษ์ ธรรมพิทักษ์
Advisors: สุรวุฒิ ประดิษฐานนท์
ทวีวงศ์ ศรีบุรี
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Thavivongse.S@chula.ac.th
Subjects: การระบายน้ำ -- ไทย -- กรุงเทพฯ
การระบายน้ำ -- แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
คลอง -- ไทย -- กรุงเทพฯ
การป้องกันน้ำท่วม -- ไทย -- กรุงเทพฯ
Drainage -- Thailand --Bangkok
Drainage -- Mathematical models
Canals -- Thailand --Bangkok
Flood control -- Thailand --Bangkok
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันปัญหาเรื่องการระบายน้ำออกจากตัวเมืองเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะเมืองใหญ่ ๆ ที่ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มซึ่งจะต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมอยู่เสมอ ดังสภาพของกรุงเทพมหานครขณะนี้ ถึงแม้สาเหตุของน้ำท่วมจะมีหลายประการ แต่สาเหตุอันหนึ่งที่นับว่ามีความสำคัญ คือ ปัญหาการระบายน้ำ โดยเฉพาะสภาพของคลองระบายน้ำในกรุงเทพหานคร ที่ยังใช้ระบายน้ำได้ไม่เต็มที่ ดังนั้นจึงควรที่จะมีการศึกษาปัญหาเพื่อนำมาช่วยในการวางแผนปรับปรุงระบบคลองระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น การศึกษาวิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ สำหรับคำนวนหาอัตราการไหลและระดับน้ำในคลอง และนำแบบจำลองนี้มาประเมินขีดความสามารถของคลองในการระบายน้ำ ตลอดจนทำการหาแนวทางในการปรับปรุงระบบคลองระบายน้ำของพื้นที่ศึกษา โดยเลือกพื้นที่บริเวณหัวหมากเป็นพื้นที่ศึกษา พื้นที่บริเวณหัวหมากเป็นพื้นที่หนึ่งที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม ปี 2526 อย่างหนัก ในการจำลองระบบคลองในพื้นที่ศึกษานี้อาศัยข้อมูลต่าง ๆ ได้แก่ ข้อมูลปริมาณน้ำฝนและระดับน้ำจาก JICA ข้อมูลระดับพื้นดินจากภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ข้อมูลหน้าตัดคลองจากสำนักการระบายน้ำ และ JICA ข้อมูลลักษณะการใช้ที่ดินจาก JICA แบบจำลองที่สร้างนี้ประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นแบบจำลองสำหรับหาปริมาณน้ำที่ไหลลงสู่คลอง (Hydrologic Surface Runoff Model) ซึ่งอาศัยวิธีของ Rational Method มาประยุกต์สำหรับหาชลภาพ (Hydrograph) ของน้ำท่า ส่วนที่สองเป็นแบบจำลองอธิบายการไหลของน้ำในคลอง (Hydraulic Routing Model) ซึ่งอาศัยสมการการเคลื่อนที่ (Momentum Equation ) และสมการต่อเนื่อง (Continuity Equation) ในการจำลองสมมุติให้การไหลของน้ำในคลองเป็นการไหลไม่คงที่ แบบเปลี่ยนแปลงน้อยในสภาวะใต้วิกฤต (Gradually varied unsteady free-surface flow in the subcritical range) เนื่องจากพื้นที่ศึกษามีระดับพื้นดินต่ำกว่าบริเวณข้างเคียง ปัจจุบันการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่นี้ กทม. ได้ทำเป็นทำนบปิดรอบ (Polder System) และติดตั้งสถานีสูบน้ำบริเวณปากคลองต่าง ๆ คือ บริเวณปากคลองกระจะ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำจำนวน 4 ลบ.ม./วินาที บริเวณปากคลองจิก ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 1.50 ลบ.ม./วินาที และที่บริเวณปากคลองจิต ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 0.75 ลบ.ม./วินาที สำหรับช่วยระบายน้ำออกจากพื้นที่ศึกษา แต่อย่างไรก็ตามพื้นที่ศึกษาก็ยังประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่เสมอถ้าฝนตกหนัก การประเมินระบบคลองระบายน้ำในพื้นที่ศึกษา จากการใช้แบบจำลองทดสอบกับฝนที่มีคาบการกลับ (Return Period) เท่ากับ 2 ปี พื้นที่ศึกษาจะประสบภาวะน้ำท่วมประมาณ 5 ชม. บริเวณต้นคลองกระจะ และ 4 ชม. บริเวณปลายคลองกระจะ ถ้าหากใช้แบบจำลองทดสอบกับฝนที่มีคาบการกลับเท่ากับ 5 ปี พื้นที่ศึกษาจะประสบภาวะน้ำท่วมประมาณ 9 ชม. บริเวณต้นคลองกระจะ และ 8 ชม. บริเวณปลายคลองกระจะ การที่ระบบคลองในพื้นที่ศึกษามีขีดความสามารถในการระบายน้ำค่อนข้างต่ำ เนื่องจากสภาพของคลองระบายน้ำในพื้นที่ศึกษามีขนาดเล็กและตื้นเขิน และสถานีสูบน้ำที่คิดตั้งไว้ที่ปากคลองต่าง ๆ ยังมีขีดความสามารถไม่เพียงพอ ที่จะระบายน้ำออกจากพื้นที่ศึกษาได้ทัน การปรับปรุงระบบคลองระบายน้ำในพื้นที่ศึกษาโดยใช้แบบจำลอง พบว่า ถ้าไม่ต้องการให้เกิดสภาวะน้ำท่วมพื้นที่ศึกษาที่คาบการกลับของฝน 5 ปี จะต้องทำการขยายและขุดลอกคลองกระจะ คลองจิก และคลองจิต ให้สามารถระบายน้ำจากด้านต้นคลองมายังจุดที่ตั้งสถานีสูบน้ำได้ทัน ตลอดจนทำการเพิ่มขนาดสถานีสูบน้ำที่ปากคลองกระจะ จาก 4 ลบ.ม2/วินาที เป็น 6 ลบ.ม./วินาที เพิ่มขนาดสถานีสูบน้ำที่ปากคลองจิก จาก 1.5 ลบ.ม./วินาที เป็น 3 ลบ.ม./วินาที และเพิ่มขนาดสถานีสูบน้ำที่ปากคลองจิต จาก 0.75 ลบ.ม./วินาที เป็น 2 ลบ.ม./วินาที บริเวณมหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในพื้นที่ศึกษา และมีระดับพื้นดินต่ำกว่าบริเวณข้างเคียง ปัจจุบันได้ทำเป็นพื้นที่ปิดรอบแยก (Separate Folder) และติดตั้งสถานีสูบน้ำ 2 แห่ง สถานีสูบน้ำทั้งสองแห่งนี้ ปล่อยน้ำที่สูบออกลงท่อระบายน้ำที่ผ่านหน้ามหาวิทยาลัยฯ แต่ท่อระบายน้ำนี้มีขนาดไม่เพียงพอ ที่จะระบายน้ำที่สูบออกจากมหาวิทยาลัยฯ ลงสู่คลองกระจะ และคลองจิก ได้ทัน จึงทำให้ถนนหน้ามหาวิทยาลัยฯ ประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำ ในการแก้ปัญหาน้ำท่วมบริเวณนี้ จะต้องวางท่อระบายน้ำลอดถนนหน้ามหาวิทยาลัยฯ ทั้งสองแห่งไปยังคลองแสนแสบ ให้สามารถระบายน้ำที่สูบออกจากมหาวิทยาลัยฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Other Abstract: Currently, urban drainage system is becoming a critical problem, especially for city on low land flood plain facing frequent flood as Bangkok. There are various causes contributing to urban flooding but one of the serious cause is inadequate capacity of canal system for drainage. Consequently, there should be study to assist in planning and improvement of the canal system drainage capacity. This thesis objective is to formulate a mathematical model to obtain flow rate and water level for the evaluation of existing capacity of canal drainage system and means of improvement. The study area is Hua-Mak which was heavily flooded in 1983. Data used in simulation of the study area are rainfall and water level as study by JICA, ground level from Department of Survey Engineering, Chulalongkorn University, crosssection of canal from DDS (BMA) and as study by JICA, and land-used as study by JICA. The model composes of 2 main components. The component is the Hydrologic Surface Runoff Model based on Rational method which yield hydrographs of lateral inflow. The second component is the Hydraulic Routing Model based on Momentum Equation and Continuity Equation. The characteristic of flow were assumed to be gradually varied unsteady free-surface flow in the subcritical range. Since the study area is at a lower elevation than the adjacent land, Therefore, this area has been already constituted by the polder and water is drained off this area by pump a capacity of 4 CMS at the end of Klong Kracha : 1.5 CMS at the end of Klong Gig and 0.75 CMS at the end of klong Chit. However, flood problem still persists during heavy rain. In evaluation of the existing capacity of canal drainage system, at 2-year return period storm, flooding will occur in the study area for 5 hours at the upstream and 4 hours at the downstream in Klong Kracha. When using 5-year return period storm, flood duration will be increased to 9 hours and 8 hours at the upstream and downstream of Klong Kracha respectively, Main reasons are : size of existing canals are small and shallow together with the low capacity of pumping station at the end of canals. In improving of the canal drainage system in the study area, at 5-year return period storm, flood problem can be prevented through the expansion and dredging of Klong Kracha, Klong Gig and Klong Chit in addition to the increasing of capacity of pumping stations at end of Klong Kracha, Klong Gig and Klong Chit from 4 CMS to 6 CMS, 1.5 CMS to 3 CMS and 0.75 CMS to 2 CMS respectively. Ramkhamhaeng University Campus which is a part of the study area where the land level is relatively lower than surrounding area, the current configurative flood protection is a separate polder with 2 pumping stations installed. The pumped water is direct to each main pipe line at the front of the university and to be drained to klong Kracha and Klong Gig. However, due to insufficient capacity of main pipe, this causes flooding at the road infront of the University. It is suggested that a sufficient size culvert installed in front of the university to drain the water directly to Klong Sean Seap could solve the problem effectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72280
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1987.133
ISBN: 9745675598
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1987.133
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surapong_th_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.18 MBAdobe PDFView/Open
Surapong_th_ch1_p.pdfบทที่ 11.14 MBAdobe PDFView/Open
Surapong_th_ch2_p.pdfบทที่ 2959.29 kBAdobe PDFView/Open
Surapong_th_ch3_p.pdfบทที่ 31.26 MBAdobe PDFView/Open
Surapong_th_ch4_p.pdfบทที่ 42.09 MBAdobe PDFView/Open
Surapong_th_ch5_p.pdfบทที่ 52.27 MBAdobe PDFView/Open
Surapong_th_ch6_p.pdfบทที่ 62.37 MBAdobe PDFView/Open
Surapong_th_ch7_p.pdfบทที่ 7746.99 kBAdobe PDFView/Open
Surapong_th_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก2.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.