Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72325
Title: การแช่เยือกแข็งชิ้นมะม่วงน้ำดอกไม้และโชคอนันต์
Other Titles: Freezing of sliced mangoes Mangifera indica L. var Nam Dokmai and Chok Anant
Authors: ศุลีพร ศรีพัฒนะพิพัฒน์
Advisors: รมณี สงวนดีกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ชีววิทยาการเยือกแข็ง
อุตสาหกรรมมะม่วง
Cryobiology
Mango industry
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาวิธีผลิตมะม่วงชิ้นแช่เยือกแข็งที่เหมาะสมโดยใช้มะม่วงน้ำดอกไม้ขนาด 300-350 กรัมต่อผลและมะม่วงโชคอนันต์ขนาด 250-300 กรัมต่อผล ที่มีความถ่วงจำเพาะ 1.01-1.03 ปอกเปลือก ฝานเป็น 2 ชิ้น นำมาแช่ในสารละลายยับยั้งการเกิดสีน้ำตาล โดยใช้กรดซิตริก 0 0.50 และ 1.00 %(W/V) ร่วมกับกรดแอสคอร์บิก 0 0.25 และ 0.50 %(W/V) และเวลาที่ใช้แช่ในสารละลาย 5 และ 10 นาที พบว่าภาวะที่เหมาะสมในการยับยั้งการเกิดสีน้ำตาลคือ แช่ชิ้นมะม่วงในสารละลายผสมของกรดซิตริก 0.50 % กับกรดแอสคอร์บิก 0.25 % นาน 5 นาที และเมื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการยับยั้งการเกิดสีน้ำตาลระหว่างกรดแอสคอร์บิกกับกรดอิริทอร์บิก พบว่า กรดทั้ง 2 ชนิด สามารถยับยั้งการเกิดสีน้ำตาลได้ไม่แตกต่างกัน ดังนั้นขั้นตอนยับยั้งการเกิดสีน้ำตาลต่อไปจึงใช้กรดอิริทอร์บิกซึ่งราคาถูกกว่า จากนั้นศึกษาผลของระดับความสุกของมะม่วงโดยใช้มะม่วงที่บ่มด้วยแคลเซียมคาร์ไบด์ที่อุณหภูมิห้อง (30℃) นาน 3 และ 4 วัน แช่ในสารละลายแคลเซียมคลอไรด์ 0 1.0 และ 2.0 % (WN) และเวลาที่ใช้แช่ในสารละลาย 10 และ 20 นาที พบว่ามะม่วงน้ำดอกไม้ที่บ่มนาน 3 วัน เมื่อนำมาแช่เยือกแข็ง ผลิตภัณฑ์จะมีความแน่นเนื้อและคะแนนทางด้านลักษณะเนื้อสัมผัสสูงกว่ามะม่วงที่บ่มนาน 4 วัน ส่วนมะม่วงโชคอนันต์ที่บ่มนาน 3 และ 4 วัน เมื่อนำมาแช่เยือกแข็งผลิตภัณฑ์มีคุณภาพไม่ต่างกัน ภาวะที่เหมาะสมสำหรับการเตรียมมะม่วงด้วยสารละลายแคลเซียมคลอไรด์ก่อนแช่เยือกแข็งของมะม่วงทั้ง 2 พันธุ์ คือ แช่ชิ้นมะม่วงในสารละลายแคลเซียมคลอไรด์ 1.0 % นาน 10 นาที เมื่อศึกษาอุณหภูมิและเวลาในการแช่เยือกแข็ง พบว่า อุณหภูมิที่เหมาะสมของการแช่เยือกแข็งด้วย cryogenic freezer คือ –90℃ ส่วนเวลาที่ใช้แช่เยือกแข็ง พบว่า การแช่เยือกแข็งด้วย air blast freezer ใช้เวลานานกว่า cryogenic freezer การศึกษาผลของชนิดเครื่องแช่เยือกแข็ง 2 ชนิด คือ air blast freezer และ cryogenic freezer การเตรียมมะม่วงก่อนแช่เยือกแข็งในสารละลายผสมของกรดซิตริกกับกรดอิริทอร์บิก แล้วแช่ในสารละลายแคลเซียมคลอไรด์ตามภาวะที่คัดเลือกแล้วข้างต้น ผลิตภัณฑ์บรรจุแบบสุญญากาศในถุง Nylon/LLDPE เก็บรักษาที่อุณหภูมิ -18℃ นาน 25 สัปดาห์ เปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ควบคุม พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่แช่เยือกแข็งด้วย cryogenic freezer จะสูญเสียน้ำหนักหลังละลายน้ำแข็งและเกิดสีน้ำตาลน้อยกว่า มีความแน่นเนื้อ ปริมาณวิตามินซี คะแนนด้านสี ลักษณะเนื้อสัมผัส และความชอบรวมสูงกว่าผลิตภัณฑ์ที่แช่เยือกแข็งด้วย air blast freezer ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการเตรียมด้วยภาวะที่เหมาะสมข้างต้นก่อนแช่เยือกแข็ง จะสูญเสียน้ำหนักหลังละลายน้ำแข็งและเกิดสีน้ำตาลน้อยกว่า แต่จะสูญเสียกรด น้ำตาล และวิตามินซีมากกว่าผลิตภัณฑ์ควบคุม เมื่อเก็บผลิตภัณฑ์นานขึ้นคุณภาพของผลิตภัณฑ์จะลดลงโดยเฉพาะวิตามินซีของมะม่วงน้ำดอกไม้และโชคอนันต์จะลดลง 85 % และ 78 % ตามลำดับ ส่วน β-carotene ในมะม่วงน้ำดอกไม้และโชคอนันต์จะลดลง 14 % และ 13 % ตามลำดับ การยอมรับทางประสาทสัมผัสพบว่าเมื่อเก็บผลิตภัณฑ์ไว้ 25 สัปดาห์ คะแนนด้านสี ลักษณะเนื้อสัมผัส และความชอบรวมจะลดลง แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ส่วนคะแนนด้านกลิ่นรสไม่เปลี่ยนแปลง
Other Abstract: The effects of preparation, type of freezer and frozen storage on the quality of sliced mangoes were studied. Two varities of mangoes, NAM DOKMAI (300-350 grams/fruit) and CHOK ANANT (200-250 grams/fruit) were used. The mongoes with optimum maturity selected by using specific gravity of 1.01-1.03 were peeled and sliced in halves,dipped in antibrowning agent (critic acid at 0, 0.50, 1.00 % and ascorbic acid at 0, 0.25, 0.50 %) for 5 and 10 minutes. The optimum condition to inhibit browning was dipping the mangoes in the mixture of 0.5 % citric acid and 0.25 % ascorbic acid for 5 minutes. The efficiency of antibrowning agent of ascorbic acid and erythorbic was compared. It revealed that they both had the same efficiency. So, erythorbic acid was selected as it was cheaper. The mangoes were incubated at room temperature (30℃) in the environment of calcium carbide for 3 and 4 days, then dipped in CaCl₂ solution ( 0 , 1.0 and 2.0 %) for 10 and 20 minutes before freezing. It was found that 3 days incubated NAM DOKMAI had higher firmness and better texture than the 40days incubated ones. While CHOK ANANT could be incubated for 3 or 4 days without changing in qualities. Optimum condition for CaCl₂ treatment before freezing in both mangoes varieties was dipping sliced mangoes in 1.0 % CaCl₂ for 10 minutes. The optimum freezing temperature by cryogenic freezer was at -90℃. The freezing time by air blast freezer was longer than cryogenic freezer. Type of freezer (air blast freezer, cryogenic freezer) treatment of mangoes with antibrowning agent and CaCl₂, vaccum packing in Nylon/LLDPE and storage at -18 ℃ for 25 weeks were studied and compared with the control samples. It was found that freezing by cryogenic freezer resulted in less thawing loss and browning but higher in values of firmness, vitamin C content, colour, texture and overall acceptability scores than freezing by air blast freezer. Treatment of mangoes at optimum condition before freezing resulted in less thawing loss and browning but higher loss of acid , sugar and vitamin C than the control samples. The qualities of mangoes decreased during frozen storage. After storage for 25 weeks, vitamin C content of NAM DOKMAI and CHOK ANANT decreased 85 % and 75 % respectively , while β-carotene decreased 14 %and 13 % respectively. Flavour score did not change , while colour, texture and overall acceptabity scores of the products decreased but the sensory qualities were still in acceptable level.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีทางอาหาร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72325
ISBN: 9746373226
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suleeporn_sr_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และ บทคัดย่อ1.15 MBAdobe PDFView/Open
Suleeporn_sr_ch1_p.pdfบทที่ 1273.67 kBAdobe PDFView/Open
Suleeporn_sr_ch2_p.pdfบทที่ 21.92 MBAdobe PDFView/Open
Suleeporn_sr_ch3_p.pdfบทที่ 3764.96 kBAdobe PDFView/Open
Suleeporn_sr_ch4_p.pdfบทที่ 44.74 MBAdobe PDFView/Open
Suleeporn_sr_ch5_p.pdfบทที่ 51.69 MBAdobe PDFView/Open
Suleeporn_sr_ch6_p.pdfบทที่ 6290.29 kBAdobe PDFView/Open
Suleeporn_sr_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.