Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72406
Title: การใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการจำลองแบบการเดินทางในกรุงเทพมหานคร และพื้นที่ใกล้เคียง
Other Titles: Micro-computer based traffic simulation model for Greater Bangkok area
Authors: สุรพงษ์ เลาหะอัญญา
Advisors: อนุกัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Anukalya.I@Chula.ac.th
Subjects: การขนส่ง -- แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ -- ไทย
จราจรในเมือง -- แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ -- ไทย
Transportation -- Computer simulation -- Thailand
City traffic -- Computer simulation -- Thailand
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษา เกี่ยวกับการจำลองแบบการจัดเส้นทางการเดินทาง (Traffic Assignment) ในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ใกล้เคียง โดยใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ช่วยในการดำเนินงานพื้นที่ในการศึกษา ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ซึ่งรวมเรียกว่า Greater Bangkok Area (GBA) ในการดำเนินการศึกษาได้แบ่งพื้นที่ทั้งหมดออก เป็น 44 พื้นที่ย่อย ๆ โดย 4 พื้นที่ย่อยเป็นพื้นที่รอบนอก และใช้ปี พ.ศ. 2528 เป็นปีพื้นฐาน ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นปีที่มีข้อมูลสมบูรณ์ที่สุด ในการสร้างแบบจำลอง ได้สร้างเป็นโปรแกรมสำเร็จรูป สำหรับใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ชนิด 16 บิทและมีหน่วยความจำขนาด 640 กิโลไบท์ ซึ่งได้ทดสอบแบบจำลองโดยการเปรียบเทียบปริมาณการจราจรที่ได้จากแบบจำลองกับปริมาณการจราจรที่ได้จากการสำรวจ หลังจากที่ได้สร้างแบบจำลองแล้ว ได้นำไปทดลองใช้กับการศึกษาผลกระทบและประเมินผลในแง่ของการคมนาคมขนส่งของโครงการสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 4 แห่ง คือ สะพานสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สะพานสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และทางด่วนเฉลิมมหานครขั้นที่ 1 อันประกอบด้วย ทางด่วนสายดินแดง-ท่าเรือ และ บางนา-ท่าเรือ ซึ่งได้ผลพอสรุปได้ว่าทุกโครงการแสดงผลกระทบในทางที่ดีต่อระบบการคมนาคมขนส่ง โดยช่วยลดระยะทาง เวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อการลงทุนในเชิงเศรษฐศาสตร์ โดยให้ค่า Benefit/Cost Ratio (E/C) สูงกว่า 1 ที่อัตราดอกเบี้ย 12% ต่อปี โครงการที่ให้ผลตอบแทนต่อการลงทุนสูงสุดคือ สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ โดยให้ค่า Internal Rate of Return (IRR) 44% ส่วนโครงการที่ให้ผลตอบแทนต่ำที่สุดคือ สะพานสมเด็จพระปกเกล้าฯ ซึ่งให้ค่า IRR เพียง 14% และ เมื่อนำผลที่ได้ไปเปรียบเทียบกับผลที่ได้จากการศึกษาความเหมาะสมของโครงการในแต่ละโครงการ ปรากฏว่าทุกโครงการยกเว้นสะพานสมเด็จพระปกเกล้าฯ มีค่าผลตอบแทนต่อการลงทุนที่สูงกว่าที่ได้ทำการศึกษาไว้ในการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ
Other Abstract: This research study deals with a micro-computer based Traffic Assignment Model for Greater Bangkok Area (GBA). The study area covers Bangkok Metropolis, Nonthaburi and Samutprakarn which is divided to 44 zones including 4 outer zones. All input data were based on that of 1985, since it is the most complete set of data available. The model was developed in the form of a computer program package for 16 bits micro-computer with 640 kilo-bytes memory size. The model was tested by comparing the simulated traffic volumes obtained from the model to that of actual observed traffic volumes. After the model was completely developed, it was used to evaluate the impact of the bridges and expressways in term of their performances in transportation aspect. The subject bridges and expressways under studied were New Nonthaburi Bridge, New Memorial Bridge, Sathorn Bridge, Phra Pinklao Bridge, Din Daeng-Port Expressway and Bangna-port Expressway. In term of transportation, it can be concluded that all subject bridges and expressways gave positive impact on savings in travel distance, travel time and vehicle operating costs. In term of economic, all bridges and expressways gave benefit/cost ratio greater than 1 at 12% interest rate with Phra Pinklao Bridge ranked highest among others with 44% internal rate of return and the lowest being New Memorial Bridge at 14% internal rate of return. When they were compared to the returns stated in their Feasibility Studies conducted before the constructions, all of them, except New Memorial Bridge gave higher returns.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72406
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1987.181
ISBN: 9745683132
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1987.181
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surapong_la_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.05 MBAdobe PDFView/Open
Surapong_la_ch1_p.pdfบทที่ 1821.39 kBAdobe PDFView/Open
Surapong_la_ch2_p.pdfบทที่ 21.67 MBAdobe PDFView/Open
Surapong_la_ch3_p.pdfบทที่ 3935 kBAdobe PDFView/Open
Surapong_la_ch4_p.pdfบทที่ 42.53 MBAdobe PDFView/Open
Surapong_la_ch5_p.pdfบทที่ 51.87 MBAdobe PDFView/Open
Surapong_la_ch6_p.pdfบทที่ 6731.58 kBAdobe PDFView/Open
Surapong_la_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก3.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.