Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72439
Title: | การใช้น้ำตาลทรายสำหรับผลิตกรดกลูโคนิกและน้ำตาลฟรักโทส โดย Aspergillus niger G153 |
Other Titles: | Utilization of cane sugar for gluconic acid and fructose production by Aspergillus niger G153 |
Authors: | จารินี พานิชกรณ์ |
Advisors: | กรรณิกา จันทรสอาด |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | น้ำตาลทราย กรดกลูโคนิก น้ำตาลฟรักโทส Aspergillus niger G153 Gluconic acid Sucrose |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การผลิตกรดกลูโคนิกจากน้ำตาลทรายโดย Aspergillus niger G 153 จะได้น้ำตาลฟรักโทสเป็นผลิตภัณฑ์ที่สองร่วมด้วยในปริมาณมากและสามารถแยกผลิตภัณฑ์ทั้งสองออกจากกันได้โดยง่าย การผลิตระดับขวดเขย่าความเข้มข้นเหมาะสมของแหล่งคาร์บอนและอัตราส่วนระหว่างคาร์บอนต่อไนโตรเจนคือ 450 กรัมต่อลิตร และ 250 : 0.5 ตามลำดับ โดยมีแอมโมเนียมซัลเฟสเป็นแหล่งไนโตรเจน แต่ใช้เวลาในการผลิตถึง 19 วัน สำหรับการผลิตกรดกลูโคนิกในถึงหนัก 5 ลิตร พบว่าความเข้มข้นของน้ำตาลทรายที่เหมาะสมมีค่าเท่ากับ 300 กรัมต่อลิตร ภาวะบางประการที่เหมาะสมในการผลิตคือ ขนาดหัวเชื้อ 10% (ปริมาตรต่อปริมาณอาหารเลี้ยงเชื้อ) ค่าความเป็นกรดด่างตลอดการผลิตเท่ากับ 6.0-6.5 อัตราการกวน 500-600 รอบต่อนาที อัตราการให้อากาศ 2.0 ลิตรต่อลิตรอาหารเลี้ยงเชื้อต่อนาที ให้ผลผลิตรกรดกลูโคนิกสูงสุดเท่ากับ 183.29 กรัมต่อลิตรและฟรักโทส 106.78 กรัมต่อลิตรเป็นผลิตภัณฑ์ที่สอง โดยใช้ระยะเวลาในการผลิตเพียง 48 ชั่วโมง |
Other Abstract: | Gluconic acid production from cane sugar by Aspergillus niger G153 gave large amount of fructose as a second product and both products could be separated easily. The suitable concentration of refined cane suger and C:N ratio in shake culture were 450 g/l and 250:0.5 respectively (ammonium sulfate as nitrogen source) at 19 days of cultivation. The optimal concentration of carbon source and some cultivation condition for the production in 5-1 fermenter were 300 g/l of cane sugar, inoculum size: 10% (v/v), pH: at 6.0-6.5 agitation speed: at 500-600 rpm and aeration rate: at 2.0 vvm. .The production time could be reduced down to 48 hours with yield of gluconic acid 183.29 g/l and fructose as 106.78 g/l respectively. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72439 |
ISBN: | 9743347003 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jarinee_pa_front_p.pdf | 1.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jarinee_pa_ch1_p.pdf | 2.66 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jarinee_pa_ch2_p.pdf | 1.13 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jarinee_pa_ch3_p.pdf | 4.9 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jarinee_pa_ch4_p.pdf | 1.62 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jarinee_pa_back_p.pdf | 1.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.