Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72513
Title: การวิเคราะห์เนื้อหาหนังสือภาษาไทยเกี่ยวกับการเมืองที่จัดพิมพ์ขึ้นตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 ถึงวันที่ 26 มกราคม พ.ศ.2518
Other Titles: Content analysis of Thai books on politics published from October 14, 1973 to January 26, 1975
Authors: บุญเรือง เนียมหอม
Advisors: ศจี จันทวิมล
ประคอง กรรณสูต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: วรรณกรรมการเมือง -- ไทย
การเมืองในวรรณกรรม
การวิเคราะห์เนื้อหา
Politics in literature
Content analysis (Communication)
Issue Date: 2519
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อวิเคราะห์เนื้อหาของหนังสือภาษาไทยเกี่ยวกับการเมืองที่จัดพิมพ์ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ถึงวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 จำนวน 94 เล่มเพื่อศึกษาแนวโน้มของความคิดเห็นทางด้านการเมืองหลังวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ซึ่งออกมาในรูปหนังสือ วิธีดำเนินการวิจัยใช้วิธีอ่านหนังสือที่เป็นตัวอย่างประชากรจำนวน 94 เล่มโดยแยกหนังสือออกตามประเภทผู้จัดพิมพ์และผู้แต่งรวม 6 กลุ่มด้วยกันการอ่านหนังสือเพื่อสำรวจและวิเคราะห์เนื้อหาตามตารางวิเคราะห์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาทางด้านลัทธิการเมือง 4 ลัทธิและหัวข้อเนื้อหาทางการเมือง 41 ข้อคือลัทธิประชาธิปไตยประกอบด้วยหัวข้อเนื้อหาทางการเมือง 11 ข้อ ลัทธิฟาสซิสม์ประกอบด้วยหัวข้อเนื้อหาทางการเมือง 9 ข้อ ลัทธิสังคมนิยมประกอบด้วยหัวข้อเนื้อหาทางการเมือง 6 ข้อและลัทธิคอมมิวนิสม์ประกอบด้วยหัวข้อเนื้อหาทางการเมือง 15 ข้อ การวิเคราะห์เนื้อหาใช้วิธีขีดรอยคะแนนลงในตารางวิเคราะห์รวมรอยคะแนนเป็นความถี่แล้วนำมาวิเคราะห์หาค่าความถี่เฉลี่ยและหาค่าร้อยละของจำนวนหนังสือที่บรรจุเนื้อหาแต่ละเรื่อง สรุปผลการวิจัย 1. เมื่อเปรียบเทียบแนวโน้มของความคิดเห็นทางด้านการเมืองของหนังสือซึ่งแบ่งตามประเภทผู้จัดพิมพ์พบว่าหนังสือกลุ่มที่จัดพิมพ์โดยนิสิตนักศึกษาทั้งหมด 39 เล่มมีหนังสือ 2 กลุ่มที่เป็นหนังสือแปลและผู้แต่งไม่ใช่นักวิชาการรวม 29 เล่มคิดเป็นร้อยละ 74.36 เน้นเนื้อหาทางการเมืองลัทธิคอมมิวนิสม์ส่วนหนังสืออีกกลุ่มที่ผู้แต่งเป็นนักวิชาการจำนวน 10 เล่มหรือร้อยละ 25.64 เน้นเนื้อหาทางการเมืองลัทธิประชาธิปไตยสำหรับหนังสือที่ผู้จัดพิมพ์ไม่ใช่นิสิตนักศึกษาทั้งหมด 55 เล่มมีหนังสือกลุ่มหนึ่งที่ผู้แต่งเป็นนักวิชาการจำนวน 31 เล่มคิดเป็นร้อยละ 56.37 เน้นเนื้อหาทางการเมืองลัทธิประชาธิปไตยและอีก 24 เล่มหรือร้อยละ 43.63 ที่เป็นหนังสือแปลและผู้แต่งไม่ใช่นักวิชาการเน้นเนื้อหาทางการเมืองลัทธิคอมมิวนิสม์ 2. จากหนังสือกลุ่มที่ผู้จัดพิมพ์เป็นนิสิตนักศึกษาจำนวน 39 เล่มมีหนังสือที่ผู้แต่งเป็นนักวิชาการจำนวน 10 เล่มเน้นหัวข้อเนื้อหาเรื่องอำนาจการปกครองของรัฐเกิดขึ้นจากการยินยอมของประชาชน ความถี่เฉลี่ย 11.4 รองลงมาคือเรื่องหลักเสรีภาพและหลักความเสมอภาค ความถี่เฉลี่ย 10.2 และ 6.9 ตามลำดับหนังสือที่ผู้แต่งไม่ใช่นักวิชาการจำนวน 17 เล่ม เน้นหัวข้อเนื้อหาเรื่องทฤษฎีจักรวรรดินิยม ความถี่เฉลี่ย 4.71 รองลงมาคือเรื่องทฤษฎีการปฏิวัติของเหมาเจ๋อตุงและทฤษฎีการต่อสู้ระหว่างชนชั้นความถี่เฉลี่ย 4.41 และ 4.05 ตามลำดับส่วนหนังสือแปลจำนวน 12 เล่มเน้นหัวข้อเนื้อหาเรื่องทฤษฎีการปฏิวัติของเหมาเจ๋อตุงความถี่เฉลี่ย 8.67 รองลงมาคือเรื่องทฤษฎีจักรวรรดินิยมและทฤษฎีการต่อสู้ระหว่างชนชั้น ความถี่เฉลี่ย 5.87และ4.67 ตามลำดับ 3. จากหนังสือกลุ่มที่ผู้จัดพิมพ์ไม่ใช่นิสิตนักศึกษาทั้งหมด 55 เล่มมีหนังสือจำนวน 31 เล่มที่ผู้แต่งเป็นนักวิชาการเน้นหัวข้อเนื้อหาเรื่องหลักเสรีภาพมากที่สุดความถี่เฉลี่ย 8.42 รองลงมาคือเรื่องอำนาจการปกครองของรัฐเกิดขึ้นจากการยินยอมของประชาชนและหลักความเสมอภาค ความถี่เฉลี่ย 5.29 และ 3.61 ตามลำดับ หนังสือที่ผู้แต่งไม่ใช่นักวิชาการจำนวน 19 เล่มเน้นหัวข้อเนื้อหาเรื่องทฤษฎีจักรวรรดินิยม ความถี่เฉลี่ย 3.89 รองลงมาคือหลักการแห่งระบอบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและทฤษฎีการปฏิวัติของเหมาเจ๋อตุง ความถี่เฉลี่ย 3.47และ 2.67 ตามลำดับส่วนหนังสือแปลจำนวน 5 เล่มเน้นหัวข้อเนื้อหาเรื่องการปฏิบัติของ วี.ไอ.เลนิน ความถี่เฉลี่ย 6.0 รองลงมาคือเรื่องรัฐและการสูญสิ้นไปของรัฐและทฤษฎีการปฏิวัติของเหมาเจ๋อตุง ความถี่เฉลี่ย 5.8 และ 5.0 ตามลำดับ 4. เมื่อเปรียบเทียบแนวโน้มของความคิดเห็นของหนังสือซึ่งแบ่งออกตามประเภทของผู้แต่งพบว่าหนังสือที่ผู้แต่งเป็นนักวิชาการมีเนื้อหาเกี่ยวกับลัทธิประชาธิปไตยมากที่สุดหนังสือที่ผู้แต่งไม่ใช่นักวิชาการมีเนื้อหาเกี่ยวกับลัทธิคอมมิวนิสม์มากที่สุดและหนังสือแปลมีเนื้อหาเกี่ยวกับลัทธิคอมมิวนิสม์มากที่สุด 5. เมื่อเปรียบเทียบแนวโน้มของความคิดเห็นจากลักษณะเนื้อหาและจุดประสงค์ของหนังสือทั้งหมด 94 เล่มพบว่าหนังสือจำนวน 41 เล่มคิดเป็นร้อยละ 43.62 มีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสม์และวิเคราะห์วิจารณ์ระบบสังคมตามแนวปรัชญาของคาร์ล มาร์กซ์ หนังสือจำนวน 27 เล่มหรือร้อยละ 28.72 มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ลัทธิประชาธิปไตยพร้อมกับวิเคราะห์ปัญหาการเมืองของไทยหนังสือจำนวน 14 เล่มหรือร้อยละ 14.89 มีเนื้อหาว่าด้วยลัทธิต่าง ๆ แสดงความคิดเห็นเป็นกลางหนังสือจำนวน 6 เล่มหรือร้อยละ 6.38 มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่สนับสนุนลัทธิสังคมนิยมและอีก 6 เล่มหรือร้อยละ 6.38 มีจุดประสงค์เพื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสม์
Other Abstract: The major purpose of this study was to analyze the content of Thai books on politics published from October 14, 1973 to January 26, 1975. Methods and Procedures: The research was conducted by reading a group of ninety-four books divided according to the publishers and authors. A content analysis table was constructed which consisted of four main categories of political ideologies, namely, democracy, fascism, socialism and communism, and of forty-one sub-categories. The collected data were thereafter analyzed on mean and percentage basis. Conclusions: 1. Of thirty-nine books published by students, twenty-nine (73.36%) emphasized communism, and ten (25.64%) democracy. Of fifty-five books published by non-students, thirty-one (56.37%) emphasized democracy, and twenty-four (43.63%) communism. 2. Of thirty-nine books published by students, ten were written by scholars who concentrated on government by consent (mean=11.4), freedom (mean=10.2) and equality (mean=6.9). Seventeen books written by non-scholars emphasized imperialism (mean=4.71), Mao’s theory of revolution (mean=4.41) and the theory of class struggle (mean=4.05). Twelve translated books emphasized Mao’s theory of revolution (mean=8.67), imperialism (mean=5.87) and the theory of class struggle (mean=4.67). 3. Of fifty-five books published by non-students, thirty-one were written by scholars dealing with freedom (mean=8.42), government by consent (mean=5.29) and equality (mean=3.61). Nineteen books written by non-scholars emphasized imperialism (mean=3.89), common ownership (mean=3.47) and Mao’s theory of revolution (mean=2.67). Five translated books principally discussed Lenin’s theory of revolution (mean=6.0), the withering away of the state (mean=5.8) and Mao’s theory of revolution (mean=5.0). 4. A comparison of book content as categorized by types of authors showed that books written by scholars mostly discussed democracy, while those by non-scholars, as well as translated ones, mainly concentrated on communism. 5. Concerning writing styles and objectives, of the total of ninety-four books, forty-one (43.62%) aimed at publicizing communism, analyzing and discussing social systems from Marx’s theory of historical materialism. Twenty-seven books (28.72%) were written to publicize democracy as well as to analyze Thai political problems. Fourteen books (14.89%) objectively talked about different political theories. Six books (6.38%) were in favor of publicizing socialism whereas another six (6.38%) were anti-communist.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72513
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1976.2
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1976.2
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonruang_ni_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.2 MBAdobe PDFView/Open
Boonruang_ni_ch1_p.pdfบทที่ 12.15 MBAdobe PDFView/Open
Boonruang_ni_ch2_p.pdfบทที่ 24.97 MBAdobe PDFView/Open
Boonruang_ni_ch3_p.pdfบทที่ 32.76 MBAdobe PDFView/Open
Boonruang_ni_ch4_p.pdfบทที่ 44.68 MBAdobe PDFView/Open
Boonruang_ni_ch5_p.pdfบทที่ 51.68 MBAdobe PDFView/Open
Boonruang_ni_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก7.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.