Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72639
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุนทร ณ รังษี | - |
dc.contributor.author | ปรีชา ช้างขวัญยืน | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2021-03-05T06:38:50Z | - |
dc.date.available | 2021-03-05T06:38:50Z | - |
dc.date.issued | 2520 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72639 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520 | en_US |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้เป็นผลของความพยายามที่จะค้นหาระบบความคิดทางจริยศาสตร์สังคมในพุทธศาสนาโดยมีสมมติฐานว่าคำสอนต่างๆ ในศาสนาพุทธไม่ว่าจะเป็นคำสอนในระดับโลกียะหรือโลกุตตระก็ตามย่อมสอดคล้องกันและมีจุดหมายเพื่อความหลุดพ้นเหตุที่มีจุดหมายเช่นนี้ก็เพราะถือว่าชีวิตเป็นทุกข์ ความสุขที่แท้ก็คือการพ้นทุกข์ ยิ่งพ้นทุกข์มากเท่าใดก็ยิ่งสุขมากเท่านั้น คำสอนทั้งหมดของพุทธศาสนาจึงได้แก่เรื่องทุกข์และการพ้นทุกข์ จริยศาสตร์สังคมแม้จะเป็นเรื่องในระดับโลกิยธรรมคือเป็นค่าที่คนในสังคมพึงยึดถือก็ล้วนแต่เป็นแนวทางที่ทำให้ชีวิตมีความทุกข์น้อยลงทั้งสิ้นพุทธศาสนาถือว่าชีวิตเป็นทุกข์เพราะเหตุที่มีความยึดมั่นในตัวตนของตนความยึดมั่นนี้เป็นเหตุให้ต้องดิ้นรนแสวงหาลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เมื่อไม่ได้ก็กระวนกระวาย เมื่อได้มาก็กลัวจะรักษาไว้ไม่ได้เพราะสิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ต้องเสื่อมสลายไปตามสภาพแวดล้อมและเมื่อเป็นสิ่งที่เสื่อมสลายได้การที่จะให้มีอยู่กับตนตลอดไปก็ต้องแสวงหามาทดแทนสิ่งที่เสียไปแล้วและหามาสำรองไว้สำหรับวันหน้ามนุษย์จึงตกเป็นทาสที่ต้องใช้กำลังกายกำลังความคิดเพื่อแสวงหาสิ่งเหล่านี้อย่างไม่รู้จักจบสิ้นไม่มีเวลาเป็นตัวของตัวเองชีวิตที่ดิ้นรนเช่นนี้เป็นความทุกข์ทรรศนะดังกล่าวนี้ผู้เขียนได้อธิบายไว้ในบทที่ 2 เนื่องจากชีวิตเป็นทุกข์และการดำเนินชีวิตที่ดีได้แก่การดำเนินชีวิตเพื่อพ้นทุกข์ดังกล่าว ในบทที่ 3 ได้อธิบายคำสอนเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตที่ดีซึ่งพุทธศาสนาถือหลักเว้นชัว ทำดี ทำจิตใจให้ผ่องใสจากหลักดังกล่าวจะเห็นว่าพุทธศาสนากำหนดขอบเขตค่าทางจริยะไว้ทั้งทาง กาย วาจา และใจ และได้เน้นการควบคุมจิตใจตนเองเป็นส่วนสำคัญที่สุดเพราะเป้นเหตุของวาจาและการกระทำการดำเนินชีวิตดังที่กล่าวไว้ในบทนี้จะทำให้ คนแต่ละคนเป็นคนดีรู้จักบังคับตัวเองไม่ให้ทำชั่วจนแม้ไม่มีกฎหมายบังคับก็ไม่ทำผิดหากทำผิดไปโดยไม่ตั้งใจก็เต็มใจแก้ไขด้วยตัวเองคำสอนในเรื่องนี้มีความสำคัญที่ทำให้ค่าทางสังคมคือค่าที่คนควรยึดถือเป็นหลักในการอยู่ร่วมกันสามารถปฏิบัติได้ผล การสร้างคนแต่ละคนให้เป็นคนดีเป็นหลักการที่จำเป็นที่จะช่วยให้การใช้จริยศาสตร์ทางสังคมได้ผลเพราะพุทธศาสนาถือว่าถ้าคนแต่ละคนเป็นคนดี สังคมก็จะดี แต่ถ้าคนไม่ดีแม้จะวางระบบบังคับไว้สักเพียงไรคนก็จะหาทางเลี่ยงอยู่ร่ำไปถ้าคนดีแล้วระบบสังคมแม้ไม่รัดกุมมากนักคนเหล่านั้นก็จะไม่เลี่ยงเพราะบังคับตัวเองได้ระบบก็จะเป็นเครื่องช่วยให้สังคมดีขึ้นหลักจริยธรรมทางสังคมซึ่งกล่าวไว้ในบทที่ 4 เป็นหลักที่พุทธศาสนาถือว่าคนที่ดีแล้วเมื่อมาอยู่ร่วมกันในสังคมพึงยึดถือเพื่อให้อยู่ร่วมกันได้อย่างพึงพอใจทุกฝ่ายไม่มีข้อขัดแย้งกันหลักดังกล่าวนี้เป็นการกำหนดธรรมที่คนซึ่งอยู่ร่วมกันควรยึดถือเช่น หริโอตตัปปะ ขันติโสรัจจะ สังคหวัตถุ 4 พรหมวิหาร 4 อคติ 4 เป็นต้น กับธรรมซึ่งกำหนดหน้าที่ของคนที่มีฐานะทางสังคมต่างๆ เช่น ธรรมของมิตร ญาติ บิดามารดา ครู-อาจารย์ ผู้ปกครอง บทที่ 5 เป็นการพยายามนำแนวความคิดทางจริยศาสตร์สังคมของพุทธศาสนามาประยุกต์กับสังคมไทย บทนี้แม้จะเป็นการพูดถึงสังคมไทยโดยเฉพาะและไม่ได้อธิบายรายละเอียดแต่ก็ได้นำเอาปัญหาและมโนภาพสำคัญทางสังคมเช่น เสรีภาพ ความเสมอภาค กฎหมาย ระบบสังตม ระบบเศรษฐกิจ ระบบการศึกษา มาพิจารณาตามทรรศนะของพุทธศาสนา เพื่อให้เห็นว่าพุทธศาสนาอธิบายปัญหาเหล่านั้นอย่างไร บทนี้แม้จะไม่เน้นเนื้อหาอย่างบทอื่นๆ ที่กล่าวมาแล้วแต่ก็เป็นความคิดใหม่เช่นกัน 3 บทที่แล้วมาเป็นความคิดใหม่ในแง่การจัดระบบจริยศาสตร์ขึ้นจากหลักธรรมของพุทธศาสนา ส่วนบทนี้ใหม่ในแง่ที่อธิบายมโนภาพซึ่งมิได้พูดไว้โดยตรงในพุทธศาสนาเป็นการมองทรรศนะรวมๆ ของพุทธศาสนาจาก 3 บทก่อนแล้วนำเอาทรรศนะนั้นมาพิจารณาปัญหาสังคมไทยปัจจุบันโดยพยายามพิจารณาเฉพาะมโนภาพสำคัญๆ ซึ่งเป็นที่มาของปัญหาสังคมในการพิจารณาปัญหาเหล่านี้ได้เสนอทรรศนะไว้กว้างๆ เนื่องจากเป็นการเสนอความคิดใหม่จึงต้องการให้เห็นขอบเขตของปัญหาและความคิดรวมๆ เสียก่อนและได้ให้ข้อเสนอไว้ว่าถ้าจะศึกษาปัญหาเหล่านี้ในรายละเอียดจะต้องอาศัยความรู้ทางสังคมศาสตร์กับพุทธปรัชญาผสมกันแต่ละปัญหาควรจะศึกษาวิจัยเฉพาะเรื่องลงไปดังนั้นถ้าหากผู้อ่านรู้สึกว่าผู้เขียนตอบปัญหาไว้เฉพาะหลักใหญ่ไม่มีรายละเอียดก็ขอให้ทราบว่าเป็นเพราะผู้เขียนต้องการเสนอทฤษฎีใหม่ไว้เป็นแนวทางสำหรับให้ศึกษาในรายละเอียดกันต่อไปดังจะเห็นได้ว่าผู้เขียนก็ได้เสนอแนะแนวทางศึกษาพุทธปรัชญาต่อไปไว้ในบทที่ 6 ในส่วนที่เกี่ยวกับการศึกษาพุทธปรัชญานั้นผู้เขียนเชื่อว่าการศึกษาปัญหาจริยศาสตร์ซึ่งเป็นปัญหาใกล้ตัวมนุษย์จะทำให้ผู้ศึกษาสนใจและเข้าใจพุทธศาสนาได้ดีกว่าการสอนหลักธรรมชั้นสูงก่อนกล่าวคือแทนที่จะเริ่มโดยนำโลกุตตรธรรมมาอธิบายโลกิยธรรม ควรเริ่มด้วยการพูดถึงโลกิยธรรมแล้วชี้ให้เห็นแนวทางว่านำไปสู่โลกุตตรธรรมอย่างไร การศึกษาโดยนัยนี้จึงไม่สูงเกินไปสำหรับคนที่ยังละกิเลสได้น้อยซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากและน่าจะเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติในชีวิตประจำวันด้วยวิทยานิพนธ์นี้เป็นเสมือนผู้นำทางและเป็นตัวอย่างของความพยาบามดังกล่าว | - |
dc.description.abstractalternative | This thesis is an endeavor to find out a system of social ethics in Buddhism. My assumption is that all tenets in Buddhism, both in mundane and supramundane level are in accordance with each other and aim at liberation which is the ultimate goal. Since life is nothing but suffering, then solvation from suffering is the most demanding happiness of mankind. The more we are saved from suffering the happier we are. This is why all of Buddhist teachings can be summed up into the principle concerning suffering and liberation from suffering. Although the problems of social ethics, namely, the value for which man in society should accept as his practical principle for living are in mundane level, they all concern the methods of decreasing human suffering. Self-attachment is the fundamental cause of sufferings because it compulses man to crave for gain, dignity, praise and pleasure which put him into the state of want when he cannot get them, and into the state of fear when he has got them because of realizing that these objects of craving are mutable relatively to their surroundings. The unstability of these objects determines human being to seek them more and more, both for replacement and for accumulation, therefore, man becomes a slave who has to devote all of his physical and mental ability to search for these thing endlessly and can have no leisure. The details of this viewpoint will be stated in Chapter 2. Because life is considered as suffering and the good way of life is the way which leads towards salvation, the writer has suggested three important practical principles for living, namely, abstention from evil, doing good and having unblemished mind. According to these principles one must have self-control in thinking, speaking and acting. Thinking is recognized as the most important part because it is the inner cause of the other two. The way of life referred to in this chapter will enforce the practitioner to do good spontaneously and will never do evil intentionally even if there is no authoritative law, moreover he will be willing to exonerate himself from evil deed which has been unintentionally done. The individual ethical values explained in this chapter are significant for the enrichment of socio-ethical values by which men in society should be held. Individual ethics is the most influential factor which gives rise to the effective use of social ethics because the goodness of a society is derived from the goodness of individuals. If a man is not naturally good no coercive social system can prevent him from doing evil deed and in the contrary, if he is good by himself no coercive social system is necessary for such a self-controlled person. Any social system will not be a necessary but only a supplementary factor for human life. The socio-ethical principles of Buddhism stated in Chapter 4 are the principles for individuals who have been assumed as good in themselves to practice for staying together peacefully, joyfully and with no conflict. These socio-ethical principles can be divided into two kinds: one is the universal principle for living together such as Hiri Ottappa, Khanti Soracca, Sangahavatthu, Brahmavihãra and Agati, and another is the principle which defines the duties of man according to his social status such as the duties of friends, relatives, parents, governors, etc. Chapter 5 is an attempt to apply socio-ethical principles to Thai society. Although this chapter discusses Thai society in brief, it includes important problems such as freedom, equality, law, social system, economic system and educational system, and the point of views in these problems are the writer’s new inter pretations. The last three chapters are new systemalization of Buddhist ethical theory, but this chapter is a new interpretation of some modern Thai social concepts from the Buddhist point of view. Since the scope of the problems are wide and the interpretations are new, what the writer can do is to present his ideas briefly to cover all important problems. The detail studies are to be done with the aid of the knowledge about facts in social science, and must be considered as a specific problem research. The writer’s intention in this chapter is to pave the way for other to study each problem more analytically. This intention appears in the form of useful proposals in Chapter 6. The writer is of the view that ethical study of Buddhism will be more interesting and more intelligible than metaphysical study. This view is adopted from consideration that the teachings of mundane level is more suitable to ordinary people who has not been liberated from defilements than the teachings of supramundane level. So this thesis may be in one way considered as a pioneering attempt in this field of study. | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.1977.3 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | จริยศาสตร์สังคม | en_US |
dc.subject | พุทธจริยธรรม | en_US |
dc.subject | Social ethics | en_US |
dc.subject | Buddhist ethics | en_US |
dc.title | การศึกษาจริยศาสตร์สังคมในพุทธศาสนาในเชิงวิจารณ์ | en_US |
dc.title.alternative | Critical study of social ethics in Buddhism | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | ปรัชญา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.1977.3 | - |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Preecha_ch_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 1.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Preecha_ch_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 950.07 kB | Adobe PDF | View/Open |
Preecha_ch_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 2.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Preecha_ch_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 3.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Preecha_ch_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 3.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Preecha_ch_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 2.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Preecha_ch_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 739.5 kB | Adobe PDF | View/Open |
Preecha_ch_back_p.pdf | รายการอ้างอิงและภาคผนวก | 1.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.