Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72664
Title: ผลของเถ้าลอยลิกไนต์ต่อองค์ประกอบทางเคมีและผลผลิตของข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105
Other Titles: Effect of lignite fly ash on chemical composition and yield of KDML 105 rice variety
Authors: กนกพร ชัยวุฒิกุล
Advisors: อรวรรณ ศิริรัตน์พิริยะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: เถ้าลอย
การใช้ของเสียให้เป็นประโยชน์
ข้าวพันธุ์ผสม
ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105
Fly ash
Recycling (Waste, etc.)
Hybrid rice
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เถ้าลอยลิกไนต์เกิดจากการเผาไหม้ถ่านหินในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยทั่วไปจะกองทิ้งกลางแจ้งตามพื้นที่ว่างเปล่า ก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศ ดิน น้ำ และน้ำใต้ดิน ในขณะเดียวกันก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ เนื่องด้วยลักษณะสมบัติทางกายภาพ และองค์ประกอบทางเคมีของเถ้าลอยลิกไนต์ซึ่งช่วยปรับปรุงโครงสร้างดิน และเป็นแหล่งธาตุอาหารพืช ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมุ่งเน้นไปที่ผลของการเติมปุ๋ยเคมีร่วมกับเถ้าลอยลิกไนต์องค์ประกอบทางเคมีและผลผลิตของพืช โดยทำการศึกษาวิจัยในภาคสนามที่แปลงนาเกษตรกร อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ด้วยแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design ทำ 3 ซ้ำ ประกอบด้วย การเติมปุ๋ยเคมีร่วมกับเถ้าลอยลิกไนต์ 0.25 และ 1 ตัน/ไร่ พืชทดลอง คือ ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 กำหมดให้หนึ่งหน่วยทดลอง คือ แปลงนาขนาด 6x12 เมตร ผลการศึกษาพบว่า เถ้าลอยลิกไนต์มีองค์ประกอบทางเคมีที่สามารถเป็นแหล่งธาตุอาหารหลัก (โพแทสเซียม) ธาตุอาหารรอง (แคลเซียม และซัลเฟอร์) และจุลธาตุอาหาร (เหล็ก แมงกานีส ทองแดง และสังกะสี) โดยธาตุพิษ (นิกเกิล แคมเมียม และอลูมิเนียม) มีอยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดพิษต่อดินและพืช การเติมปุ๋ยเคมีร่วมกับเถ้าลอยลิกไนต์ทั้ง 3 อัตรา แล้วปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ส่งผลให้ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ปริมาณซัลเฟอร์รวมทั้งปริมาณทั้งหมดของเหล็กสูงกว่าการเติมปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P ≤ 0.05) ทั้งนี้ธาตุพิษ (นิกเกิล และอลูมิเนียม) จากการเติมปุ๋ยเคมีร่วมกับเถ้าลอยลิกไนต์ 0.25 ตัน/ไร่ เท่านั้น ที่มีปริมาณสูงกว่าการเติมปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว (P ≤ 0.05) สำหรับผลผลิตเมล็ดข้าวเปลือก และน้ำหนักฟางของข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 จากการเติมปุ๋ยเคมีร่วมกับเถ้าลอยลิกไนต์ทั้ง 3 อัตรากว่าการเติมปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว (P ≥ 0.05) อย่างไรก็ตามการเติมปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวส่งผลให้ปริมาณไนโตรเจนและเหล็กทั้งหมดในเมล็ดข้าวเปลือกสูงกว่าการเติมปุ๋ยเคมีร่วมกับ เถ้าลอยลิกไนต์ที่อัตรา 0.25 ตัน/ไร่ ส่งผลให้ปริมาณอลูมิเนียมของฟางข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 สูงกว่าการเติมปุ๋ยเคมีร่วมกับเถ้าลอยลิกไนต์ 0.5 และ 1 ตัน/ไร่(P ≤ 0.05) ความเหมาะสมของการใช้ประโยชน์เถ้าลอยลิกไนต์ในการปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ดินเปรี้ยว (pH=4.46) คือ การเติมปุ๋ยเคมีร่วมกับเถ้าลอยลิกไนต์ในอัตราเติม 1 ตัน/ไร่ เนื่องจากได้รับผลผลิตเมล็ดข้าวเปลือกสูงถึง 480.67 กก./ไร่ โดยที่เมล็ดข้าวเปลือกมีธาตุพิษไม่เกินเกณฑ์ของปริมาณที่ก่อให้เกิดพิษในพืช และไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานของปริมาณที่ยอมให้บริโภค ส่วนฟางข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 มีปริมาณธาตุอาหารซึ่งสามารถประโยชน์ในการทำปุ๋ยหมักฟางข้าวต่อไปได้
Other Abstract: Disposal of lignite fly ash, which is a by-product of burning pulverized coal for generating electricity, by open dump poses a serious problem in terms of environmental impacts such as air, soil, water and ground water. Utilization of lignite fly ash for agriculture can reduce adverse environmental effects because of chemical composition promoted nutrition of plant and physical property amend the soil. This study, therefore, focus on the effect of lignite fly ash on chemical composition and yield of KDML 105 rice variety. Field experiment was carried out in paddy land (acid sulfate soil) at Nakronnayok Province by using randomized complete block design with 3 replications for lignite fly ash application rates 0.25 0.5 and 1 tom/rai. Plot size was 6 x12 m. The results showed that chemical composition of lignite fly ash can be promoted as nutrient source of major-elements (potassium) minor-elements (calcium, sulfur) and essential elements (lron, manganese, copper and zinc.) Where as toxic elements concentration (nickel, cadmium and aluminium) was lower than toxic level in soil and plants. For one growing season of KDML 105, lignite fly ash at application rate of 0.25 0.5 and 1 ton/rai plus chemical fertilizer resulted in higher pH, sulfer and total iron content in the soil than applied only fertilizer significantly (P ≤ 0.05), but toxic elements (nickel and aluminium) occurred significantly when chemical fertilizer plus 0.25 ton lignite fly ash/rai was applied. However grain yields and straw weight of KDML 105 from treatment chemical fertilizer plus 3 rate of lignite fly ash higher than that of fertilize (P ≤ 0.05). Furthermore, applied chemical fertilize effect on nitrogen and total iron content in grain higher than chemical fertilizer plus 3 rate of lignite fly ash (P ≤ 0.05). Where as application rate 0.25 ton lignite fly ash/rai together with chemical fertilizer effect on aluminium content of straw KDML 105 higher than the rate 0.5 and 1 ton lignite fly ash/rai (P ≤ 0.05). The appropriate application rate of lignite fly ash for planting KDML 105 in acid sulfate soil (pH 4.46) was 1 ton/rai. Due to grain yields (480.67 kg/rai) and concentration of toxic elements in grain and straw which lower than toxic level and within daily intake (ADI) of FAO/WHO. In addition straw of KDML 105 rice variety contained essential elements enough for utilized straw compost as organic fertilizer.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72664
ISBN: 9741700911
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanokporn_ch_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ795.58 kBAdobe PDFView/Open
Kanokporn_ch_ch1_p.pdfบทที่ 1391.46 kBAdobe PDFView/Open
Kanokporn_ch_ch2_p.pdfบทที่ 22.4 MBAdobe PDFView/Open
Kanokporn_ch_ch3_p.pdfบทที่ 3592.95 kBAdobe PDFView/Open
Kanokporn_ch_ch4_p.pdfบทที่ 42.26 MBAdobe PDFView/Open
Kanokporn_ch_ch5_p.pdfบทที่ 53.15 MBAdobe PDFView/Open
Kanokporn_ch_ch6_p.pdfบทที่ 6394.32 kBAdobe PDFView/Open
Kanokporn_ch_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.