Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73257
Title: ทางเลือกสำหรับการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิธีวิทยาการวิจัยดิจิทัลทางการศึกษาของนิสิตบัณฑิตศึกษาโดยใช้แนวคิดแผนภาพมโนทัศน์
Other Titles: Alternatives for promoting graduate students’ learning in digital research methodology in education using concept mapping approach
Authors: จุฑามาศ แสงงาม
Advisors: ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ
ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: แผนผังมโนทัศน์
วิจัย -- วิธีวิทยา
Concept mapping
Research -- Methodology
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในฐานะนักวิจัยด้านการศึกษา การวิจัยทางด้านการศึกษากำลังนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในหลายๆ ด้าน ปัจจุบันวิธีวิทยาการวิจัยดิจิทัลส่วนใหญ่ได้รับการพัฒนาในด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมแต่ไม่ใช่ทางการศึกษา ดังนั้นเป้าหมายสำคัญของการศึกษาครั้งนี้คือ การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้วิธีวิทยาการวิจัยดิจิทัลทางการศึกษา ส่วนแรก เป็นการวิเคราะห์โครงสร้างเนื้อหา การจัดการเรียนรู้ และมโนทัศน์เกี่ยวกับวิธีวิทยาการวิจัยดิจิทัลทางการศึกษาของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาที่เหมาะสมโดยใช้แผนภาพมโนทัศน์ มโนทัศน์เกี่ยวกับโครงสร้างของเนื้อหาและการจัดการเรียนรู้วิธีวิทยาการวิจัยดิจิทัลทางการศึกษาสำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา ด้วยการวิจัยเอกสารที่ครอบคลุมหลักสูตรรายวิชาและแผนการสอนที่สามารถเข้าถึงได้ จากหลักสูตรวิจัยทางการศึกษาและหลักสูตรวิทยาการในมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและมหาวิทยาลัย 10 อันดับแรกของโลก หลังจากนั้นลงรหัสข้อมูลแล้วนำไปสร้างแผนภาพมโนทัศน์ (CMaps) จากนั้นนำ CMaps จากการวิจัยเอกสารมาเป็นหัวข้อสำหรับการสัมภาษณ์นิสิตระดับบัณฑิตศึกษาและอาจารย์ผู้สอนเกี่ยวกับความคิดเห็นเกี่ยวกับมโนทัศน์โครงสร้างเนื้อหาและการจัดการเรียนรู้วิธีวิทยาการวิจัยดิจิทัลทางการศึกษา ข้อมูลจากการสัมภาษณ์นำไปสร้าง CMaps สำหรับนิสิต ผู้สอน และสรุปรวม CMaps จากทั้ง 3 ประเภทนี้ถูกนำมาเปรียบเทียบและสรุปเพื่อปรับแก้ จากนั้นนำ CMap ที่ปรับแก้แล้วไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับการออกแบบการจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง วิธีวิทยาการวิจัยดิจิทัลทางการศึกษา สำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษากลุ่มเล็ก ๆ ท้ายที่สุดการวิจัยครั้งนี้นำเสนอทางเลือกในการส่งเสริมการเรียนรู้วิธีวิทยาการวิจัยดิจิทัลทางการศึกษาของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาโดยใช้ข้อมูลการสำรวจจากนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาโดยวัดผ่านมิติความสำคัญและมิติของความเป็นไปได้ ผลการวิจัยที่สำคัญมีดังนี้ 1. ผลการศึกษาโครงสร้างหลักสูตรรายวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา พบว่า หลักสูตรวิจัยการศึกษาเพียงส่วนน้อยที่มีการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้มีรายวิชาที่เกี่ยวข้องวิธีวิทยาการวิจัยดิจิทัล วิธีวิทยาการวิจัยดิจิทัลที่นิยมศึกษากันแพร่หลายมี 5 วิธี ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหาดิจิทัล การทดลองเสมือนจริง การวิเคราะห์เหมืองข้อมูล /เหมืองข้อความ การวิจัยชาติพันธุ์วรรณนาดิจิทัล และการนำเสนอข้อมูลทัศนภาพแบบมีปฏิสัมพันธ์ สำหรับโครงสร้างของเนื้อหาและการจัดการเรียนรู้ CMap ที่สรุปแล้วประกอบด้วย 5 วิธีได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหาดิจิทัล การทดลองเสมือนจริง การวิเคราะห์เหมืองข้อมูล/เหมืองข้อความ การวิจัยชาติพันธุ์วรรณนาดิจิทัล และการนำเสนอข้อมูลทัศนภาพแบบมีปฏิสัมพันธ์ 2. ผลการนำเสนอแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้วิธีวิทยาการวิจัยดิจิทัลทางการศึกษาสำหรับนิสิตบัณฑิตศึกษา ในภาพรวมมี 4 ประเด็นได้แก่ 1) การเลือกวิธีวิทยาการวิจัยดิจิทัล 2) การเลือกเนื้อหาสำหรับการเรียนรู้วิธีวิทยาการวิจัยดิจิทัล 3) การเตรียมความพร้อม และ 4) ทางเลือกสำหรับการเรียนรู้วิธีวิทยาการวิจัยดิจิทัลทางการศึกษา และเมื่อพิจารณาความสำคัญความเป็นไปได้ของทางเลือกพบว่า ควรเตรียมความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่ผู้เรียนที่สนใจ และควรมีการบูรณาการวิธีวิทยาการวิจัยดิจิทัลทางการศึกษาเชื่อมโยงกับรายวิชาอื่นๆ
Other Abstract: As educational researchers, our research is increasingly being mediated through digital technology in many ways. Recently, digital research methodology (DRM) has been developed mostly in the fields of technology and engineering, not education. Hence, the focal goal of this study is to promote DRM in educational research settings. First, this study investigate the landscape of knowledge, structure of contents, and learning management of DRM for education graduate students. To achieve this, documents covering curricula, course syllabi, and course materials accessible from either educational research programs or data science programs in Thailand universities and World Top 10 universities were analyzed. After coding the documents, initial concept mappings (CMaps) were generated. The document-based CMaps were then used as one of tools for interviewing education graduate students and research instructors about their opinions on landscape of knowledge, structure of contents, and learning management of DRM. Data from interview were used to generate CMaps for the students and the instructors. These 3 types of CMaps were compared and finalized as a comprehensive one. Next, the revised CMap was used as the foundation to design workshop on DRM for a small group of education graduate students. Finally, this study proposed alternatives for promoting graduate students’ learning in DRM for educational research. Using survey data from graduate students, the proposed alternatives were examined their importance and feasibility. The key findings were as followed: 1. There were only a few educational research programs that have offered DRM. In the broader landscape of DRM, 5 topics are the most prominent, namely Digital Content Analysis, Virtual Experiments, Data Mining/Text Mining, Digital Ethnography Research, and Interactive Visualization. As for the structure of contents and learning management, the finalized CMap covers 5 categories, for example, Digital Content Analysis, Virtual Experiments, Data Mining/Text Mining, Digital Ethnography Research, and Interactive Visualization.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73257
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1168
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1168
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Edu_5984228927_Juthamas Sa.pdf3.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.