Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73367
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | น้ำผึ้ง ปัทมะลางคุล | - |
dc.contributor.author | ธนภัทร พิริย์โยธินกุล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2021-05-14T03:24:50Z | - |
dc.date.available | 2021-05-14T03:24:50Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73367 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 | en_US |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาวัฒนธรรมอาหารและความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับสังคมวัฒนธรรมที่ปรากฏในวรรณคดีไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยศึกษาจากวรรณคดีจำนวน 40 เรื่อง เช่น บทละครเรื่องรามเกียรติ์ กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน บทละครเรื่องอิเหนา โคลงนิราศพระยาตรัง นิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณี รำพันพิลาป เสภาขุนช้างขุนแผน โคลงภาพคนต่างภาษา เป็นต้น ผลการศึกษาพบว่าวรรณคดีเหล่านี้ได้นำเสนอวัฒนธรรมอาหาร ทั้งในด้านประเภทอาหาร การผลิต การแสวงหาอาหาร การปรุงและการตกแต่งอาหาร การบริการอาหาร และการกินอาหาร ผลการศึกษาพบว่าวัฒนธรรมอาหารที่ปรากฏในวรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ ประการแรก วัฒนธรรมอาหารเป็นสิ่งแสดงภูมิปัญญาไทย แสดงความรู้ในการเลือกสรร สร้างสรรค์และใช้ประโยชน์จากอาหารอย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ สอดคล้องกับวิถีชีวิตไทย ประการที่สอง วัฒนธรรมอาหารเป็นศิลปะอันประณีต แสดงความสำคัญของสุนทรียรสในการกิน ซึ่งสัมพันธ์กับสถานภาพของบุคคลทั้งผู้เสพอาหารที่เป็นชนชั้นสูงและผู้ปรุงอาหารที่ได้รับการยกย่องในฐานะศิลปิน ประการที่สาม วัฒนธรรมอาหารแสดง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทั้งในลักษณะของการผสมผสานทางวัฒนธรรมและการแสดงความแตกต่าง ทางวัฒนธรรม ภาพสะท้อนเหล่านี้สัมพันธ์กับหลักฐานและบริบททางสังคมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เช่น ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ทำให้อาหารกลายเป็นสิ่งบ่งบอกความมั่งคั่ง หรือสถานภาพและบทบาท ของชาติพันธุ์ต่างๆ ในสังคมที่มีผลให้มุมมองต่อคนแต่ละกลุ่มมีความต่างกัน นอกจากนี้ผลการศึกษายังพบว่าวัฒนธรรมอาหารมีบทบาทต่อการสร้างวรรณศิลป์ในวรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้แก่ บทบาทต่อการดำเนินเรื่อง ทั้งการสร้างปมและการคลี่คลายปมปัญหา ด้านบทบาท ในการแสดงลักษณะนิสัยตัวละคร วัฒนธรรมอาหารช่วยแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม แสดงความเป็นอื่นของตัวละครทั้งด้านชาติพันธุ์ ชนชั้น และถิ่นที่อยู่อาศัย และแสดงคุณลักษณะของผู้หญิง ด้านบทบาทในฐานะฉาก วัฒนธรรมอาหารทำหน้าที่หลายประการทั้งเป็นพื้นที่ในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวละคร การสร้างบรรยากาศแห่งความสุข การแสดงความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง และการแสดงวิถีชีวิตแบบไทย ส่วนบทบาทของอาหาร ในการสร้างความเปรียบ พบการใช้อาหารเป็นความเปรียบในลักษณะต่างๆ เช่น การเปรียบอาหารกับผู้หญิง การเปรียบอาหารกับความสุขสบายของชีวิต เป็นต้น เรื่องอาหารที่ปรากฏในวรรณคดีไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จึงมีความสำคัญในฐานะเป็นองค์ประกอบที่ช่วยให้เข้าใจวัฒนธรรมไทยในยุคสมัยของการสร้างงาน แสดงให้เห็นความสำคัญของวรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นในฐานะสื่อบันทึกและสร้างวัฒนธรรมอาหารจากการนำเสนอวัฒนธรรมอาหารอย่างมีวรรณศิลป์ นอกจากนี้ยังแสดงอัจฉริยภาพของกวีที่ทำให้วรรณคดีไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีลักษณะเด่นต่างจากยุคก่อนหน้า | en_US |
dc.description.abstractalternative | This thesis aims to study food culture and its relationship to society as represented in Thai literature during the early Rattanakosin period. By studying 40 Thai Classical text, such as Ramakian, Kap Hae Chom Khrueang Khao Wan, I-nao, Khlong Nirat Phraya Trang, Phra Abhaimani, Ramphan Phirap, Khun Chang Khun Phaen, Khlong Phap Khon Tang Phasa, the study finds that these texts manifest food culture which includes the descriptions of the types of food, the production of food, food seeking, cooking, the artistically displaying of food, food service, and the manners of eating. The study finds that food culture in the early Rattanakosin literature has 3 important characteristics: First, food culture is a representation of Thai wisdom and Thai ways of life. Secondly, food culture represents a Thai notion of fine art. Thirdly, food culture represents the cultural diversity in Thai society at that time both in terms of cultural integration and cultural differences. In addition, the research also finds that food culture plays significant roles in constructing of these texts. For example, food culture is used as a means to build tensions in the story, to solve the main conflicts, to display the characters, to create settings that have significant roles to the stories. Food culture in Thai literature in the early Rattanakosin period therefore is an important element that relates to social contexts in the early Rattanakosin period. Furthermore, it represented the skills of the poets that make the unique characteristics of literature in early Ratanakosin period. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1040 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | อาหารไทย | - |
dc.subject | วรรณคดีไทย | - |
dc.subject | วัฒนธรรมไทย | - |
dc.subject | วรรณคดีไทยกับวัฒนธรรม | - |
dc.subject | Thai food | - |
dc.subject | Thai literature | - |
dc.title | วัฒนธรรมอาหารในวรรณคดีไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น | en_US |
dc.title.alternative | Food Culture in Thai Literature during the Early Rattakosin Period | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | ภาษาไทย | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Namphueng.P@Chula.ac.th,n.padamalangula@gmail.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2018.1040 | - |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Art_5880124422_Thanapat Pir.pdf | 3.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.