Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73796
Title: | วิธีการปรับสภาพวัสดุผิวจราจรแอสฟัลติกคอนกรีตเก่านำมาใช้งานใหม่ ในประเทศไทย |
Other Titles: | The methodology of recycling asphaltic concrete pavement materials in Thailand |
Authors: | สมเกียรติ เตรียมแจ้งอรุณ |
Advisors: | ดิเรก ลาวัณย์ศิริ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Direk.L@Chula.ac.th |
Subjects: | ผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีต -- การนำกลับมาใช้ใหม่ แอสฟัลต์คอนกรีต ถนน -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม Pavement, Asphalt concrete -- Recycling Asphalt concrete Roads -- Maintenance and repair |
Issue Date: | 2527 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อที่จะเสนอและศึกษาวิธีการปรับสภาพวัสดุผิวจราจรแอสพัลติกคอนกรีตเก่า นำมาใช้งานใหม่เป็นวิธีการซ่อมแซมถนนวิธีใหม่ เนื่องจากวิธีการนี้ช่วยในการประหยัดค่าใช้จ่าย ค่าวัสดุและสามารถปรับระดับของผิวจราจรให้มีสภาพทางเรขาคณิต (Geometric) ของถนนที่เหมาะสม เทคนิคของวิธีการปรับสภาพวัสดุผิวจราจร สามารถแบ่งออกได้ เป็น 3 ประเภท (1) การปรับสภาพเฉพาะผิวบน(Surface recycling) เป็นการซ่อมแซมเฉพาะผิวบนที่มีความลึกไม่มากกว่า 1 นิ้ว (2) การปรับสภาพในสนาม (In-place recycling) เป็นการซ่อมแซมผิวจราจรที่มีความลึกมากกว่า 1 นิ้ว ในสนาม (3) การปรับสภาพในโรงงาน (Central-plant recycling) เป็นการซ่อมแซมโดยการขูดลอกวัสดุเก่านำไปปรับสภาพในโรงงาน แล้วจึงนำกลับมาปูบนผิวจราจรอีกครั้ง การเลือกใช้วิธีการใดขึ้นอยู่กับลักษณะความเสียหายของผิวจราจร การมีวัสดุ เครื่องมือและโรงงานผสมแอสพัลติกคอนกรีต ใกล้สถานที่ก่อสร้าง วัสดุแอสพัลคิกคอนกรีต ที่มีอายุการใช้งานมาแล้ว จะ เกิดการ เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติโดยที่ขนาดของวัสดุมวลรวม (Aggregate) จะเล็กลงเนื่องจากการรับน้ำหนักจราจรและการบดอัดในการก่อสร้าง แอสพัลท์จะเกิดการแข็งตัวที่เรียกว่า "Hardening" ในการปรับสภาพจะปรับขนาดของวัสดุมวลรวม โดยการเพิ่มวัสดุมวลรวมใหม่ และจะนำแอสพัลท์ไปผสมกับแอสพัลท์ชนิดที่มีเกรดอ่อนหรือสารปรับสภาพ (Modifier) ซึ่งเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีลักษณะทางกายภาพที่คัดเลือก เพื่อทำให้แอสพัลท์เก่ามีคุณสมบัติ เปลี่ยนกลับเหมือนเช่นข้อกำหนดของแอสพัลท์ ในขบวนการของการปรับสภาพสามารถแบ่งได้ตามลักษณะของการผสมได้ เป็น 2 ลักษณะคือ (1) การปรับสภาพโดยวิธีการผสมร้อน (Hot-mix recycling) เป็นวิธีที่ใช้ความร้อนในการผสม (2) การปรับสภาพโดยวิธีการผสมเย็น (Cold-mix recycling) เป็นวิธีที่ไม่ใช้ความร้อนในการผสม โดยการใช้แอสพัลท์เหลว (Liquid asphalt) ปูนขาว (Lime) หรือ ซีเมนต์(Cement) เป็นตัวประสานใหม่ ในการวิจัยนี้ เลือกใช้ข้อกำหนดวัสดุของกรมทางหลวงในการพิจารณา และทดสอบตัวอย่างวัสดุแอสพัลติก คอนกรีตที่ได้จากบริเวณสี่แยกศาลาแดง ถนนพระรามที่ 4 มีอายุการใช้งานประมาณ 7 ปี นำมาแยกแอสพัลท์และวัสดุมวลรวมออกจากกัน ทำการทดสอบขนาดของวัสดุมวลรวมและทดสอบคุณสมบัติของแอสพัลท์ได้ค่าพีนีเตรชั่น (Penetration) และค่าการดึงเป็นเส้น (Ductility) ต่ำกว่าข้อกำหนดและมีจุดอ่อนตัว (Softening point) ที่อุณหภูมิสูง เนื่องจากในประเทศไทยไม่เคยนำวิธีการนี้มาใช้ จึงไม่มีแอสพัลท์ที่มีเกรดอ่อน และสารปรับสภาพจำหน่ายภายในประเทศ ในการวิจัยนี้เลือกใช้น้ำมันเตาแทนเป็นสารปรับสภาพ จากการทดสอบหาปริมาณการผสมระหว่างแอสพัลท์และน้ำมันเตาได้ปริมาณที่เหมาะสมของแอสพัลท์เก่าและน้ำมันเตา เท่ากับ 82:18 โดยน้ำหนัก ซึ่งได้ค่าพีนีเตรชั่น(Penetration) อยู่ในข้อกำหนดและทำการทดสอบคุณสมบัติอื่น ๆ ของส่วนผสมนี้ พบว่ามีคูณสมบัติอยู่ในข้อกำหนดทุกประการ และมีจุดอ่อนตัวที่อุณหภูมิต่ำลง แสดงว่าน้ำมัน เตาสามารถนำมาใช้เป็นสารปรับสภาพแอสพัลท์เก่าได้ เมื่อทำการทดสอบหาปริมาณแอสพัลท์ในส่วนผสมแอสพัลติกคอนกรีตเก่า ได้ปริมาณแอสพัลท์ เฉลี่ย 5.2 เปอร์เซนต์ โดยน้ำหนักของวัสดุมวลรวม ทำการผสมใหม่และทดสอบด้วยวิธีมาร์แชลล์ พบว่าสามารถไปใช้เป็นวัสดุชั้นพื้นทางได้ เมื่อนำวัสดุแอสพัลติก คอนกรีตเก่ามาเพิ่มวัสดุมวลรวมใหม่และน้ำมันเตา ทดสอบด้วยวิธีมาร์แชลล์ พบว่าปริมาณของแอสพัลท์ที่เหมาะสมเท่ากับ 4.83 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักของวัสดุมวลรวมและสามารถนำไปใช้เป็นวัสดุชั้นผิวทางได้ เนื่องจากได้คุณสมบัติตามข้อกำหนดทุกประการ จากผลของการศึกษานี้ วิธีการปรับสภาพวัสดุผิวจราจรเก่า สามารถนำมาใช้เป็นวิธีการซ่อมแซมถนนในประเทศไทยได้ |
Other Abstract: | The objective of this thesis is to study how recycling asphaltic concrete materials can be used in road maintenance, since it would save construction costs, materials, and can be easily worked in providing suitable geometric design of the road. Techniques in recycling pavement material may be divided into 3 categories. (1) Surface recycling - Reworking of the surface of a pavement to a depth of less than 1 inch. (2) In-place recycling- In-place reclaiming of a pavement to a depth of greater than 1 inch. (3) Central-plant recycling - Scarification of the pavement material, removal of the pavement, processing of the pavement material in the plant and laydown to the roadway again. The technical selection is based on the characteristics of pavement distress, materials and equipment availability, and asphaltic concrete plant near the construction site. Asphaltic concrete material which has been used for a period of time will change in its properties by degradation of aggregate owing to traffic loading and compaction during the construction, asphalt will harden and is called "hardening". In the recycling process, the aggregate gradation will be adjusted by adding new aggregate; and asphalt will be mixed with softer asphalt or hydrocarbon modifier of which physical characteristics are selected to restore aged asphalt to the requirements of current asphalt specifications. Recycling process can be divided according to the characteristics of mixing into 2 types. (1) Hot-mix recycling - Process which require additional heat. (2)Cold-mix recycling - Process which require no additional heat and use liquid asphalt, lime, or cement as a binder. In this study, the Department of Highways' specification for materials was used in experimental consideration. The sample of old asphaltic concrete mixture was obtained from Saladang square, Rama 4 road, Bangkok, which had been used as a surface course for about 7 years. Asphalt and aggregate were separated. Aggregate gradation was determined and asphalt properties were tested. According to the experiment, penetration and ductility values of the old asphalt were lower than the specifications and softening point was at a high temperature. Due to the fact that this method has never been used in Thailand, soft asphalt and modifiers are not available in the country. Fuel oil or bunker oil was, therefore, selected as a modifier. According to the experiment, the quantitative blending between old asphalt and fuel oil was in the proportion of 82:18 i.e., the penetration value of the blending met the specifications. The blending was also tested to determine other properties and it was found that all those properties met the asphalt specifications and softening point was at a lower temperature. Thus the fuel oil can be used to reclaim old asphalt. By the experiment, asphalt content in the old asphaltic concrete was 5.2 percent by weight of aggregate. Remixing and testing the old asphaltic concrete by Marshall test, it was clear that the mixture can be used as a base course material. When new aggregate and fuel oil were added in the old asphaltic concrete mixture and were remixed and tested by Marshall test, the optimize asphalt content was found to be 4.83 percent by weight of aggregate and the mixture can be used as a surface course material for it met all specifications. By these results, the method of recycling old pavement material can be a roadway maintenance method in Thailand. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73796 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.1984.24 |
ISSN: | 9745638129 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.1984.24 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Somkiat_tr_front_p.pdf | หน้าปกและบทคัดย่อ | 2.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
Somkiat_tr_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.56 MB | Adobe PDF | View/Open |
Somkiat_tr_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 11.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Somkiat_tr_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 4.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Somkiat_tr_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 17.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Somkiat_tr_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Somkiat_tr_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 8.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.