Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73875
Title: Study of the correlation between the changes in the immunologic markers and the clinical progression of HIV infections in Thai patients
Other Titles: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลง ของตัวชี้บ่งทางระบบภูมิคุ้มกันกับการดำเนินโรคทางคลินิก ของการติดเชื้อโรคเอดส์ในผู้ป่วยไทย
Authors: Sunee Sirivichayakul
Advisors: Praphan Phanuphak
Wattana Panmoung
Other author: Chulalongkorn University. Graduate School
Advisor's Email: Prapan.P@chula.ac.th
No information provided
Subjects: AIDS (Disease) -- Immunodiagnosis
โรคเอดส์ -- การวินิจฉัยทางภูมิคุ้มกัน
Issue Date: 1991
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Three cellular and three serologic markers were evaluated in 61 Thai HIV-infected patients. These included CD₄⁺ T cells , CD₈⁺ T cells , total T cells, serum β₂-microglobulin level, p24 antigen level and anti-p24. They were evaluated for their correlations with the clinical staging and as predictors for clinical progression. The decreased CD₄⁺ T cells, increased β₂-microglobulin level, decreased anti-p24 titer and increased p24 antigen level correlated well with the stages of HIV infection in Thai patients. The abnormalities were most marked in AIDS, followed successively by ARC and PGL or asymptomatic HIV infection. In our sequential 2 year follow-up , the absolute number and percentage of CD₄⁺ T cells, T cells, the absolute number of CD₈⁺ T cells, the elevated β₂-microglobulin level, p24 antigen level and anti-p24 at entry could be reliably used as prognostic markers for HIV Progression. The combinations of p24 Ag with the measurement of CD₄⁺ T cells substantially increased the prognostic value than either was used alone. Furthermore, the initial values of β₂-microglobulin level and CD₄ / CD₈ ratio of the progressors and non-progressors were significantly different. The other markers would become discriminatory only after 1 or more years of follow-up. The progressors, however, could not be differentiated from the non-progressors based on age, sex or risk behaviors. The annual rate of clinical progression in Thai patients from our study was approximately 6.8%. The results obtained in our study of the natural of HIV in Thai patients are essential baseline data for future therapeutic interventions or health policy planning of the country.
Other Abstract: จากการศึกษาถึงตัวชี้บ่งทางระบบภูมิคุ้มกัน 6 ตัว ซึ่งแบ่งออกเป็นตัวชี้บ่งทางระบบภูมิคุ้มกันทางด้าน เซลล์ 3 ตัว คือ CD₄⁺ T cell, CD₈⁺ T cell, total T cell และตัวชี้บ่งทางระบบภูมิคุ้มกันทางด้านน้ำ เหลือง 3 ตัว คือ β₂-microglobulin, ปริมาณของ p24 antigen และ anti-p24 เพื่อประเมินประสิทธิภาพ ของตัวบ่งชี้ทางระบบภูมิคุ้มกันเหล่านี้ ในการบอกระยะของโรค และในการทำนายการดำเนินโรคทางคลินิกของการติดเชื้อโรคเอดส์ ในผู้ป่วยที่เป็นคนไทย 61 ราย พบว่าการลดลงของ CD₄⁺ T cells, การเพิ่มขึ้นของ β₂-microglobulin, การลดลงของ anti-p24 และการเพิ่มขึ้นของ p24 antigen มีความสัมพันธ์ดีกับ ระยะของการติดเชื้อโรคเอดส์กล่าวคือ ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะเอดส์เต็มขั้นจะมีความผิดปกติของตัวชี้บ่งทางระบบ ภูมิคุ้มกันดังกล่าวมากที่สุด ตามด้วยผู้ป่วยที่อยู่ในระยะสัมพันธ์กับเอดส์ ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะน้ำเหลืองโตทั่วตัว และ/หรือผู้ป่วยที่ติดเชื้อแต่ไม่มีอาการตามลำดับจากการติดตามการดำเนินโรคของผู้ป่วยเป็นระยะ ๆ เป็น เวลา 2 ปี พบว่า ทั้งปริมาณสัมบูรณ์ และเปอร์เซ็นต์ของ CD₄⁺ T cells, ปริมาณสัมบูรณ์ของ CD₈⁺ T cells, การเพิ่มขึ้นของ β₂-microglobulin ปริมาณ p24 antigen และ anti-p24 ที่ตรวจได้จากการที่ผู้ ป่วยมาหาเป็นครั้งแรกสามารถใช้เป็นตัวชี้บ่งการดำเนินโรคในทางที่เลวลงของการติดเชื้อเอดส์ได้ นอกจากนี้ การรวม p24 antigen กับการวัดปริมาณของ CD₄⁺ T cells ยังช่วยเพิ่มความแม่นยำในการทำนายการ ดำเนินไปในทางที่เลวลงของโรคได้ดีขึ้นกว่าการใช้ตัวชี้บ่งเพียงตัวใดตัวหนึ่ง ปริมาณของ β₂-microglobulin และสัดส่วนของ CD₄/CD₈ ในตอนเริ่มต้นของผู้ป่วย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีการดำเนินไปของโรคในทางที่เลว ลง และกลุ่มที่ไม่มีการเลวลงของโรคภายใน 2 ปี มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนตัวชี้บ่งอื่น ๆ กว่าจะจำแนกได้ว่าใครจะเลวลง หรือไม่นั้นจะต้องใช้เวลาติดตามอย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป จึง จะปรากฏชัดเจน นอกจากนี้ ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มดังกล่าว ไม่มีความแตกต่างกันของอายุ, เพศ หรือ พฤติกรรม ที่เสี่ยงต่อการติดโรค จากการศึกษาพบว่า อัตราการดำเนินไปในทางที่เลวลงของโรคเอดส์ ในผู้ป่วยไทยมีค่า ประมาณ 6.8 % ต่อปี ซึ่งผลการศึกษานี้จะเป็นข้อมูลฐานที่มีประโยชน์ยิ่งต่อการวางแผน และประเมินผลของการใช้ยาต่าง ๆ ในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอดส์ และการวางแผนเกี่ยวกับงานให้บริการสาธารณสุขของประเทศเกี่ยวกับโรคเอดส์ต่อไปในอนาคต
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 1991
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Medical Microbiology (Inter-Department)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73875
ISBN: 9745791032
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sunee_si_front_p.pdf1 MBAdobe PDFView/Open
Sunee_si_ch1_p.pdf668.93 kBAdobe PDFView/Open
Sunee_si_ch2_p.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Sunee_si_ch3_p.pdf955.8 kBAdobe PDFView/Open
Sunee_si_ch4_p.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open
Sunee_si_ch5_p.pdf830.64 kBAdobe PDFView/Open
Sunee_si_back_p.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.