Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7389
Title: การศึกษาบุคลิกลักษณะ กระบวนการคิดสร้างสรรค์ และผลงานการสร้างสรรค์ : กรณีศึกษาบุคลผู้สร้างสรรค์ชาวไทยที่มีผลงานโดดเด่นในสาขาวิทยาศาสตร์ ศิลปะ และการศึกษา
Other Titles: The study of personal characteristics, creative thinking processes, and creative products : the case study of Thai eminent creators in the field of sciences, arts and education
Authors: วีรพล แสงปัญญา
Advisors: ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์
ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Taweewat.p@chula.ac.th
prasan@kbu.ac.th
Subjects: ความคิดสร้างสรรค์
บุคลิกภาพ
การสร้างสรรค์
นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น
ศิลปินแห่งชาติ
ครูแห่งชาติ
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษารายกรณีเกี่ยวกับบุคลิกลักษณะ กระบวนการคิดสร้างสรรค์และผลงานการสร้างสรรค์ ของผู้มีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ที่โดดเด่นชาวไทย ในสาขาวิทยาศาสตร์ ศิลปะ และการศึกษา โดยใช้การศึกษารายกรณี (พหุกรณี-พหุวิธีการศึกษา) กรณีศึกษาประกอบด้วย ผู้สร้างสรรค์ที่มีผลงานโดดเด่น สาขาละ 3 ราย รวม 9 ราย การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถามลักษณะพิเศษส่วนบุคคล แบบประเมินบุคลิกภาพ The Myers-Briggs type indicator (MBTI) และ The Maudsley personality inventory (MPI) แบบสอบถามการใช้เวลา แบบประเมินกระบวนการคิดสร้างสรรค์ แบบรายงานกระบวนการคิดสร้างสรรค์ และแบบประเมินผลงานการสร้างสรรค์ ผลการวิจัยพบว่า 1. บุคลิกลักษณะ (ก) สภาพทางสิ่งแวดล้อม ผู้สร้างสรรค์ในแต่ละสาขามี สภาพทางสังคม สภาพทางครอบครัว สภาพทางการศึกษา และสภาพทางอาชีพ ที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งเอื้อต่อการพัฒนาความคิดการสร้างสรรค์ และการสร้างสรรค์ผลงานตั้งแต่วัยเยาว์ (ข) ผู้สร้างสรรค์ในแต่ละสาขามักจะมี ภาวะความเครียดและความกดดันอย่างใดอย่างหนึ่งในช่วงวัยเยาว์ (ค) ลักษณะส่วนบุคคล (ด้านอารมณ์และบุคลิกภาพ) ผู้สร้างสรรค์มีลักษณะพิเศษ บุคลิกภาพและลักษณะทางอารมณ์ที่เป็นตัวร่วม และมีลักษณะเฉพาะที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์ผลงานแตกต่างกันไปในแต่ละสาขา 2. กระบวนการคิดสร้างสรรค์ในทุกสาขาเริ่มต้นจากการพบเห็นปัญหา หรือเกิดแรงบันดาลใจขึ้นก่อน จากนั้นกระบวนการสร้างสรรค์ทั้งสามสาขามักจะประกอบด้วยขั้นตอน การเตรียมการคิด การบ่มเพาะทางความคิด / การลงมือสร้างผลงาน การเกิดความกระจ่าง หรือค้นพบความรู้ใหม่ การตรวจสอบและแก้ไขผลการคิด การนำไปสู่ปัญหาใหม่ และการนำเสนอผลงาน แต่จะมีความแตกต่างกันอยู่บ้างในลักษณะของแต่ละขั้นตอน 3. ผลงานการสร้างสรรค์ทั้งสามสาขาสามารถประเมินได้ทั้งสามมิติ ได้แก่ มิตินวภาพ มิติการแก้ปัญหา และมิติการต่อเติมเสริมแต่งและการสังเคราะห์ และผลงานทั้งสามสาขานั้นมีมิติการแก้ปัญหาสูงมากเหมือนกัน แต่มีความแตกต่างกันในมิติอื่นๆ ที่เหลือ
Other Abstract: To investigate personal characteristics, creative processes, and creative products of nine Thai eminent creators; three from the field of basic sciences, three from arts, and three from educaion respectively, using case study research methodology (multi-case-multi-method). Data was collected through in-depth interviews, documentary analysis, psychological tests: special properties questionnaire, the Myers-Briggs type Indicator (MBTI), the Maudsley personality inventory (MPI), time spending questionnaire, creative process assessment form, creative process report, and creative product assessment form. The findings were as follow 1. Personal characteristics: (a) Each eminent creative person had environmental context that facilitated creativity from the beginning of their lives considering from these following aspects: social aspect, family aspect, educational aspect, and occupational aspect. (b) In childhood, the creators from every field would have come across at least some kinds of stress or pressure. (c) Eminent creative persons partly shared some certain special properties, personalities, and emotions that supported their creations according to their field. 2. Creative thinking processes: Every case started their creative processes with the stage of problem finding. Then the creative processes of every field usually comprised with preparation stage, incubation / production stage, illumination stage or new finding, verification stage, new problem finding stage, and presentation stage. Some differences occurred according to specification of each stage. 3. Creative Product: The three dimensions, novelty dimension, resolution dimension, elaboration and synthesis dimensions, could be used to assess the creative products of every field. Each field had high scores in resolution dimension, but fairly different in the rest dimensions.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7389
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.645
ISBN: 9741763883
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.645
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
WeerapholSa.pdf95.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.