Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73974
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับความสามารถของพยาบาลวิชาชีพ ในการดูแลผู้ป่วยใกล้ตาย โรงพยาบาลของรัฐ กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Relationship between selected factors and professional nurses' ability in caring for dying patients, governmental hospitals, Bangkok Metropolis |
Authors: | รสพร ประทุมวัน |
Advisors: | จินตนา ยูนิพันธุ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Jintana.Y@Chula.ac.th |
Subjects: | พยาบาล ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผู้ป่วย -- การดูแล Nurses Terminally ill Care of the sick |
Issue Date: | 2534 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาระดับความสามารถของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยใกล้ตาย โรงพยาบาลของรัฐ กรุงเทพมหานคร และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศการทำงาน ความรู้ เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยใกล้ตาย ความเชื่อเกี่ยวกับความตาย ประสบการณ์เกี่ยวกับความตาย และภาวะใกล้ตายและการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนากับระดับความสามารถของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยใกล้ตาย ตัวอย่าง ประชากรที่ศึกษา เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยสามัญ และหออภิบาลผู้ป่วยหนัก จำนวน 354 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชุด คือ ชุดที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามและความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยใกล้ตาย ชุดที่ 2 ประสบการณ์เกี่ยวกับความตายและภาวะใกล้ตาย ความเชื่อเกี่ยวกับความตายบรรยากาศการทำงาน การปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา และความสามารถในการดูแลผู้ป่วยใกล้ตาย ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยของความสามารถพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยใกล้ตาย โรงพยาบาลของรัฐ กรุงเทพมหานคร จำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ความสามารถด้านการประเมินปัญหา ด้านการวางแผนการพยาบาล ด้านการปฏิบัติการพยาบาล และด้านการประเมินผลการพยาบาลทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง และค่าเฉลี่ยความสามารถของพยาบาลวิชาชีพ ในการดูแลผู้ป่วยใกล้ตาย โดยรวมก็อยู่ในระดับปานกลางด้วยเช่นกัน 2. ประสบการณ์เกี่ยวกับความตายและภาวะใกล้ตาย บรรยากาศการทำงาน และการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับความสามารถของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยใกล้ตาย อย่างมีนัยยะทางสถิติที่ระดับ.05 3. ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยใกล้ตาย และความเชื่อเกี่ยวกับความตาย ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความสามารถของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยใกล้ตาย 4. ตัวแปรที่มีความสำคัญ ในการร่วมกับพยากรณ์ความสามารถของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยใกล้ตายตามลำดับ คือ ประสบการณ์เกี่ยวกับความตายและภาวะใกล้ตาย ปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาและบรรยากาศการทำงานซึ่งรวมกับพยากรณ์ความสามารถของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยใกล้ตายได้อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ ระดับ.05 ได้ร้อยละ 10.85 (R^2= .1085 ) |
Other Abstract: | The purposes of this research were to study the level of professional nurses' ability in caring for dying patients, governmental hospitals, Bangkok Metropolis, and to study the relationships between organizational climate, knowledge about caring for dying patients, belief about death, experience about death and dying and religious practice, and professional nurses' ability in caring for dying patients. The research subjects consisted of 354 nurses working in general units and intensive care units, selected by multistage sampling technique. Six questionnaires were used to collect research data. The major findings were as followed: 1. The mean of professional nurses' ability in caring for dying patients was in the medium level. In addition, the means of the above ability in each step of nursing process, which were the assessment, planning, implementation and the evaluation of care for the dying patient, were in the medium level. 2. There were positive significant relationships at the low level between experience about death and dying, organizational climate and religious practice, and professional nurses’ ability in caring for dying patients, at the .05 level. 3. There were no significant relationships between knowledge about caring for dying patients and belief about death, and professional nurses' ability in caring for dying patients. 4. Factors significantly predicted professional nurses' ability in caring for dying patients were experience about death and dying, religious practice and organizational climate, at .05 level. These predictors accounted for 10.85 percent (R^2 = .1085) of the variance. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การบริหารการพยาบาล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73974 |
ISBN: | 9745797219 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Rosaporn_pr_front_p.pdf | 944.59 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Rosaporn_pr_ch1_p.pdf | 1.49 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rosaporn_pr_ch2_p.pdf | 3.9 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rosaporn_pr_ch3_p.pdf | 1.17 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rosaporn_pr_ch4_p.pdf | 1.37 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rosaporn_pr_ch5_p.pdf | 1.75 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rosaporn_pr_back_p.pdf | 1.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.