Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73977
Title: การปนเปื้อนของคาร์บาริลและคลอร์ไพริฟอสในน้ำและตะกอนบริเวณสนามกอล์ฟติดกับอ่างเก็บน้ำหนองกลางดง จังหวัดชลบุรี
Other Titles: Carbaryl and chlorpyrifos contamination in water and sediment of the golf course adjacent to Nong klang Dong reservoir Changwat Chon Buri
Authors: รุ่งทิพย์ นายะวร
Advisors: ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์
นวลศรี ทยาพัชร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: มลพิษทางน้ำ -- การวัด
ตะกอนปนเปื้อน -- การวัด
สนามกอล์ฟ -- การกำจัดของเสีย
Water -- Pollution -- Measurement
Contaminated sediments -- Measurement
Golf courses -- Waste disposal
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิเคราะห์ทางเคมีเพื่อหาปริมาณการปนเปื้อนของคาร์บาริลและคลอร์ไพริฟอสในน้ำและตะกอนของแหล่งน้ำภายในสนามกอล์ฟ และอ่างเก็บน้ำหนองกลางดง จังหวัดชลบุรี ทำโดยการเก็บตัวอย่างน้ำและดินตะกอนจำนวน 10 สถานี รวม 4 ครั้ง ในช่วง 2 ฤดู คือ ฤดูฝน (กันยายน และ ตุลาคม 2535) และฤดูแล้ง (ธันวาคม 2535 และ มกราคม 2536) ตัวอย่างที่ได้นำมาวิเคราะห์ด้วยวิธีแกสโครมาโตกราฟพร้อมกับวิเคราะห์พารามิเตอร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการวิเคราะห์ปริมาณคลอร์ไพริฟอสในน้ำ ปรากฏว่า ตรวจพบสารคลอร์ไพริฟอส 1 ครั้ง ในเดือนกันยายน 2535 มีปริมาณอยู่ในช่วง 0.00078-0.0015 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยตรวจพบเฉพาะในแหล่งน้ำภายในพื้นที่สนามกอล์ฟ บริเวณที่อยู่ติดกับแฟร์เวย์ และใกล้กับกรีนและที-ออฟ ส่วนผลการวิเคราะห์ปริมาณคลอร์ไพริฟอสและคาร์บาริลในตะกอนของทุกสถานีเก็บตัวอย่าง มีค่าต่ำกว่า0.001มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมและปริมาณคาร์บาริลในน้ำของทุกสถานีเก็บตัวอย่าง พบว่า มีค่าต่ำกว่า 0.00001 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งมีค่าต่ำกว่าความเข้มข้นสูงสุดที่ยอดให้มีได้ในแหล่งน้ำผิวดินคือ 0.05 มิลลิกรัมต่อลิตร สำหรับคลอร์ไพริฟอส และ 0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร สำหรับคาร์บาริล (UNEP , 1986 และ WHO, 1991 ตามลำดับ)
Other Abstract: Chemical analysis for carbaryl and chlorpyrifos contamination in water and sediment within a golf course and Nong Klang Dong reservoir was carried out by gas chromatography method. The water and sediment samples from 10 selected stations were collected 4 time during rainy season (September and October 1992) and dry season (December, 1992 and January, 1993) for the mentioned chemical analysis as well as for other related parameters. The result showed that chlorpyrifos detected in September 1992 were between 0.00078-0.0015 mg/1 (ppm) in the water samples from the stations adjacent to the “Fairway”, “Teeoff” and “Green”. In addition, it was found that the carbaryl content in the water and sediment collected from the sampling stations during the whole studied period was also less than 0.00001 mg/1 for water and 0.001 mg/kg for sediment which were lower than the maximum acceptable values in surface water 0.05 ppm for chlorpyrifos and 0.1 ppm for carbaryl (UNEP , 1986 and WHO , 1991 respectively).
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73977
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rungtip_na_front_p.pdf961.7 kBAdobe PDFView/Open
Rungtip_na_ch1_p.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Rungtip_na_ch2_p.pdf1.6 MBAdobe PDFView/Open
Rungtip_na_ch3_p.pdf1.7 MBAdobe PDFView/Open
Rungtip_na_ch4_p.pdf778.3 kBAdobe PDFView/Open
Rungtip_na_ch5_p.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Rungtip_na_ch6_p.pdf781.92 kBAdobe PDFView/Open
Rungtip_na_back_p.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.