Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74001
Title: | การประเมินหลักสูตรโรงเรียนรวมเหล่า พุทธศักราช 2525 |
Other Titles: | The curriculum evaluation of royal Thai armed forces acadamy B.E. 2525 |
Authors: | สนิท วิศิษฐฎากุล |
Advisors: | บุญมี เณรยอด |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | โรงเรียนรวมเหล่า -- การบริหาร การประเมินหลักสูตร การศึกษาวิชาการทหาร Curriculum evaluation Military education |
Issue Date: | 2528 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มีทั้งหมด 1,388 คน ประกอบด้วย อาจารย์โรงเรียนรวมเหล่า 80 คน อาจารย์โรงเรียนทหารตำรวจ 155 คน นักเรียน รวมเหล่า 577 คน นักเรียนทหารตำรวจ 576 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ตารางการวิเคราะห์และแบบสอบถาม เกี่ยวกับการประเมินหลักสูตรโรงเรียนรวมเหล่า ผู้ที่วิจัยสร้างขึ้นเอง มีทั้งแบบสำรวจรายการ ( Checklist) แบบมาตราส่วนประเมินค่า ( Rating Scale) และแบบปลายเปิด (Open-ended ) การวิเคราะห์ข้อมูลวิเคราะห์ โดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน จากแบบสอบถามส่งไป 1,388 ฉบับ ได้รับคืน 1,258 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 99.63 ผลการวิจัย 1. การประเมินบริบท นโยบายของโรงเรียนรวมเหล่า วัตถุประสงค์ของหลักสูตร โครงสร้าง และเนื้อหาของหลักสูตรมีความสอดคล้องกัน ยกเว้นนโยบายเพื่อเสริมสร้างความสามัคคี ยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ไม่ปรากฏชัดเจนในวัตถุประสงค์ และเนื้อหา ของหลักสูตร แต่ได้มีการปฏิบัติตามนโยบายชัดเจนดังปรากฏในการฝึกปฏิบัติประจำวัน ตลอดการเป็นนักเรียนรวมเหล่า อาจารย์โรงเรียนรวมเหล่ามีความเห็นว่าหลักสูตร โรงเรียนรวมเหล่า พุทธศักราช 2525 เหมาะสมทุกด้าน สำหรับอาจารย์โรงเรียนทหาร ตำรวจเห็นด้วยว่าหลักสูตรโรงเรียนรวมเหล่าสอดคล้องกับหลักสูตรโรงเรียนทหารตำรวจ และนักเรียนทหารตำรวจเห็นด้วยว่า การจักสภาพการเรียนการสอนตามหลักสูตรโรงเรียน รวมเหล่า จัดได้เหมาะสมแล้ว 2. การประเมินปัจจัยเบื้องตน นักเรียนรวมเหล่าเห็นว่า เนื้อหาวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตรสามารถ เรียนได้อย่างเข้าใจดี เนื้อหามีปริมาณพอดีกับระยะเวลาการสอน ด้านนักเรียนทหาร ตำรวจเห็นว่า เนื้อหาวิชาในหลักสูตรโรงเรียนรวมเหล่ามีความจําเป็นมากและเนื้อหา เพียงพอแล้ว แต่การจัดสภาพการเรียนการสอนตามหลักสูตรโรงเรียนรวมเหล่ามีปัญหา ด้านห้องเรียนรวม วัสดุอุปกรณ์ หนังสือค้นคว้าไม่เพียงพอ โอกาสใช้ห้องสมุดมีน้อย สำหรับอาจารย์โรงเรียนรวมเหล่า เห็นว่าการให้บริการด้านเอกสารหลักสูตร และห้องสมุด เหมาะสมแล้ว แต่การให้ความรู้ในการนำหลักสูตรไปใช้และด้านวัสดุอุปกรณ์ ยังไม่ดีพอ 3. การประเมินกระบวนการ นักเรียนรวมเหล่าเห็นว่า การจัดการเรียนการสอน อาจารยใช้วิธีบรรยายมากกว่าเทคนิควิธีสอนอื่น ๆ ด้านนักเรียนทหารตำรวจ เห็นว่าการจัดสภาพการเรียน การสอนตามหลักสูตรและกิจกรรมปฏิบัติได้ผลน้อย ในขณะที่อาจารย์โรงเรียนรวมเหล่าเห็นว่า ความเหมาะสมของการจัดสภาพการเรียนการสอนตามหลักสูตรปฏิบัติได้ผลน้อยเช่นกัน 4. การประเมินผลิตผล อาจารย์โรงเรียนทหารตำรวจเห็นว่า สัมฤทธิผลการเรียนของนักเรียน รวมเหล่า หลักสูตรพุทธศักราช 2525 โดยส่วนรวมผลสัมฤทธิ์อยู่ในเกณฑ์ดี นักเรียนรวมเหล่า มีความสามารถติดตามเนื้อหาวิชาของหลักสูตรโรงเรียนรวมเหล่า พุทธศักราช 2525 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
Other Abstract: | Methodology The population used in this research consisted of 1388 persons; 80 instructors of the Royal Thai Armed Forces Academy, 155 instructors of four academies, 577 cadets of the Royal Thai Armed Forces Academy, and 576 cadets of four forces academies.The instruments used in this research were tables of analyses and questionnaires concerning the curriculum evaluation of the Royal Thai Armed Forces Academy. Questionnaires were contructed in the forms of checklist, rating scale and open-ended types. Of the total 1,388 questionnairos sent out, 1,258 or 90.63 persent were completed and returned. The data were analyzed by using frequency, percenttage, arithmetic mean and standard deviation. Findings : 1. Regarding the results of the evaluation upon tables of analyses, they showed that policies of the Royal Thai Armed Forces Academy, curriculum's objectives, and its structure were almost correlated to each other except the policy on the indoctrination of unity, and faith to the nation, religion and the King did not appeared in the objective and content of the curriculum. However, the mentioned policy was put into operation upon dairy disciplinary practice. The instructors of the Royal Thai Armed Forces Academy were agreeable in all aspects upon the curriculum of B.E. 2525. Whereas the instructors of four forces academies agreed that the curriculums of the Royal Thai Armed forces Academy were congruent in those of the four forces academies and at the same time the cadets of four forces academies were agreeable in the management of the instructional programs of the Royal Thai Armed Forces Academy. 2. Input Evaluation The cadets of the Royal Thai Armed forces Academy all agreed that the curriculum content was suitable, which they could well understand and the quantity of the content was suitable with time schedule. The cadets of four forces academies thought that its all content was necessary, but there were some problems in the management of instruction co-classroom, teaching aids and lack of reference books. There was only Royal Thai Armed Forces Academy thought that services in document distribution, curriculum and library were suitable but curricular application and aids were not qualified. 3. Process Evaluation Cadets of the Royal Thai Armed Forces Academy thought that the instructors were likely to give lectures more than other teaching techniques, however cadets of four forces thought that instructional and activities management were not effective while the staff of the Royal Thai Armed Forces Academy thought that management of instruction was also ineffective 4. Product Evaluation The Staff of four forces academies thought that learning achievement of the cadets of the Royal That Armed Forces Academy according to the curriculum of B.E. 2525 was at high level and the cadets of this academy could keep up with the curriculum of B.E. 2525 as well. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74001 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.1985.27 |
ISSN: | 9745645486 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.1985.27 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sanit_vi_front_p.pdf | หน้าปกและบทคัดย่อ | 1.7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sanit_vi_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sanit_vi_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sanit_vi_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sanit_vi_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 44.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sanit_vi_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 2.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sanit_vi_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 7.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.