Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74015
Title: สมรรถภาพของครูวิทยาศาสตร์ที่คาดหวังสำหรับสังคมไทยในช่วง พ.ศ. 2535-2549 ตามความคิดเห็นของนิกการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และครูวิทยาศาสตร์
Other Titles: Expected competencies of science teachers for Thai society during B.E. 2535-2549 according to the opinions of educators, school administrators and science teachers
Authors: ลดาวัลย์ ทาระพันธ์
Advisors: ธีระชัย ปูรณโชติ
จุมพล พูลภัทรชีวิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ครูวิทยาศาสตร์
สมรรถนะ
บทบาทที่คาดหวัง
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
Science teachers
Performance
Social change
Role expectation
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถภาพของครูวิทยาศาสตร์ที่คาดหวังสำหรับสังคมไทยในช่วง พ.ศ. 2535-2549 และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างนักการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาและครูวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับสมรรถภาพของครูวิทยาศาสตร์ที่คาดหวังสังคมไทย ในช่วง พ.ศ. 2535-2549 ตัวอย่างประชากรเป็นนักการศึกษา 53 คน ผู้บริหารสถานศึกษา 35 คน และครูวิทยาศาสตร์ 181 คน ในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามสมรรภาพของครูวิทยาศาสตร์ที่คาดหวังสำหรับสังคมไทยในช่วง พ.ศ. 2535-2549 ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น สมรรถภาพที่ศึกษามี 3 ด้านคือ ด้านความรู้ ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ แบบสอนถามนี้มีค่าความเที่ยง 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว แล้วเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีของเซฟเฟ ผลการวิจัยว่า 1.ตัวอย่างประชากรทั้ง 3 กลุ่มมีความเห็นด้วยในระดับมากกับสมรรถภาพทุกข้อความว่าเป็นสมรรถภาพของครูวิทยาศาสตร์ที่คาดหวังสำหรับสังคมไทยในช่วง พ.ศ. 2535-2549 โดยสรุปความสำคัญได้ดังนี้ 1.1.ด้านความรู้ มีความรู้ความเข้าใจเนื้อหาสาระและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นอย่างดี มีความรู้เกี่ยวกับวิธีใช้อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างถูกต้องและปลอดภัย มีความ่รู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับเนื้อหาวิชา 1.2.ด้านการจัดการเรียนการสอน สามารถสอนให้นักเรียนค้นหาคำตอบตามระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ สามารถถ่ายทอดความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่นักเรียนสามารถใช้อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย 1.3.ด้านเจคดติเชิงวิทยาศาสตร์ ยอมรับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของเพื่อนร่วมงานและนักเรียนมีใจกว้างยอมรับความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ๆ และเคารพในสิทธิของผู้อื่นในการออกความคิดเห็น 2.นักการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และครูวิทยาศาสตร์มีความคิดเห็นต่อข้อความเกี่ยวกับสมรรถภาพของครูวิทยาศาสตร์ที่คาดหวังสำหรับสังคมไทยในช่วง พ.ศ. 2535 – 2549 ไม่แตกต่างกันจำนวน 52 ข้อความ และแตกต่างกันจำนวน 33 ข้อความ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this research were to study expected competencies of science teachers for Thai society during B.E. 2535-2549 and to compare the opinions of educators, school administrators and science teachers about expected competencies of science teachers for Thai society during B.E. 2535-2549. The subjects were 53 educators, 35 school administrators and 181 science teachers in Bangkok Metropolis. The research instrument was the questionnaire concerning expected competencies of science teachers for Thai society during B.E. 2535-2549 constructed by the researcher. The competencies studied were divided into three aspects: knowledge, teaching and learning organization and scientific attitudes. The reliability of the questionnaire was 0.95. The obtained data were analyzed by using arithmetic mean, standard deviation and one-way analysis of variance. Then Scheffe’s method was used for all possible comparisons. The results of this research were as follows: 1. The three groups of samples agreed at the high level with all items in the questionnaire that they were expected competencies of science teachers for Thai society during B.E. 2535-2549 which can be summarized in each aspect as follows: 1.1 Knowledge: Having good knowledge in science and science process skills; knowing how to use science and technology instruments correctly and safely; knowing how to organize teaching and learning activities according to each subject matters. 1.2 Teaching and learning organization; Having the ability in teaching students how to find out the answers to the problem by using scientific method; having the ability in teaching basic knowledge in science and technology to students; having the ability in using science and technology instruments correctly and safely. 1.3 Scientific attitudes: Accepting colleaques' and students' opinions; having broad mindedness and accepting new knowledge in science and technology; respecting for others rights and opinions. 2. The opinions of educators, school administrators and science teachers concerning expected competencies of science teachers for Thai society during B.E. 2535-2549 were different at the .05 level of significance for 33 items but were not different at the .05 level of significance for 52 items.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาวิทยาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74015
ISBN: 9745788082
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ladawan_ta_front_p.pdf955.67 kBAdobe PDFView/Open
Ladawan_ta_ch1_p.pdf835.08 kBAdobe PDFView/Open
Ladawan_ta_ch2_p.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open
Ladawan_ta_ch3_p.pdf896.26 kBAdobe PDFView/Open
Ladawan_ta_ch4_p.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open
Ladawan_ta_ch5_p.pdf860 kBAdobe PDFView/Open
Ladawan_ta_back_p.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.