Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74040
Title: สภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ในโรงเรียนมัธยมศึกษา ที่ได้รับรางวัลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ดีเด่น
Other Titles: States of science instructional management in secondary schools with distinguished science instructional activity management award
Authors: ณัฐจรี เลขะวัฒนพงษ์
Advisors: ธีระชัย ปูรณโชติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
กิจกรรมการเรียนการสอน
Science -- Study and teaching ‪(Secondary)‬
Activity programs in education
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการ เรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ได้รับรางวัลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ดีเด่น ตัวอย่างประชากร เป็นหัวหน้าหมวดวิทยาศาสตร์ จำนวน 35 คน ครูวิทยาศาสตร์ จำนวน 203 คน และครูที่ปรึกษากิจกรรมเสริมหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ จำนวน 59 คน ซี่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งขึ้น จากโรงเรียนมัธยมศึกษา ลังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ที่ได้รับรางวัลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ดีเด่น ในปีการศึกษา 2526-2531 ซึ่งคัดเลือกโดย สสวท. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ มัชญิมเลขคณิต และส่วนเที่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1.ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ครูมีการทำแผนการสอน กำหนด จุดประสงค์การเรียนรู้ตามกลุ่มโรงเรียน ให้นักเรียนใช้หนังสือเรียนของ สสวท. ดำเนินการสอนตามแนวทางที่กำหนดไว้ในคู่มือครูของ สสวท. ให้นักเรียนทากิจกรรมการทดลองเกือบทุกการทดลอง ใช้คำถามเป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการอภิปราย ใช้โสตทัศนูปกรณ์และนวัตกรรมต่าง ๆ ช่วยในการเรียนการสอน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ฝึกให้แกนักเรียนในระดับมาก ได้แก่ ทักษะการลังเกต ทักษะการทดลอง และทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป 2. ด้านการจัดการเกี่ยวกับอุปกรณ์ สารเคมีและห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ครูจัดเก็บอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นหมวดหมู่ ตามชนิดและขนาด ตามระดับชั้นและรายวิชา และตามการใช้ประโยชน์ ส่วนสารเคมีแยกเก็บตามลาดับตัวอักษรของสื่อสาร มีการจัดห้องปฏิบัติการถูกต้องตามแนวการจัดห้องปฏิบัติการ 3. ด้านการวัดและประเมินผล ประเมินจากการทำแบบฝึกหัด การปฏิบัติการทดลอง การตอบคำถาม การเขียนรายงาน และจากการใช้แบบทดสอบแบบปรนัย 4 ด้านการจัดสอนซ่อมเสริม จัดให้แก่นักเรียนที่ไม่ผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้ ใช้การจัดสอนเป็นกลุ่มย่อย และใช้วิธีให้นักเรียนสอนกันเอง 5. ด้านการจัดกิจกรรม เสริมหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ มีการจัดกิจกรรมเสรีมหลักสูตรวิชา วิทยาศาสตร์ทุกสัปดาห์ และช่วงสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กิจกรรมที่ส่วนใหญ่จัดคือ การตอบบัญหาวิทยาศาสตร์ และการจัดนิทรรศการทางวิทยาศาสตร์
Other Abstract: The purpose of this research was to study the states of science in structional management in secondary schools which received distinguished science instructional activity management award. department heads, 203 science teachers and 59 science cocurricular activity advising teachers which were stratified random sampled from secondary schools which received distinguished science instructional activity management award from the Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST) during 1983-1988 academic year. The research instruments were The collected data were questionnaires constructed by the researcher. The collected data were analyzed by means of percentage, arithmetic mean and standard deviation. The research findings were as follows: 1. In the aspect of science instructional activity management, teachers prepared instructional plan, determined learning objectives in the same as their school groups, required students to used ISPT's textbooks, taught according to the IPST's teachers' guide and required students to perform almost experiment. Questions were used to stimulate students for participating in discussions. Audio-visual aids and instructional innovations were used in science instruction.The science process skills which were trained at the high level were skills in observing, experimenting and interpreting data and making conclusions 2. In the aspect of equipments, chemicals and laboratory management, equipments were kept according to their kinds, sizes, subjects, classes and usages.The chemicals were kept according to alphabetical order of their names. The laboratories were correctly organized according to the guidelines. 3. In the aspect of measurement and evaluation, the evaluating determined from students' doing exercises, performing experiments, answering questions, writing reports and taking objective tests. 4. In the aspect of remedial teaching, students who could not pass certain learning objectives would get the remedial lessons. The methods of teaching were small groups teaching and students tutoring methods. 5. In the aspect of science cocurricular activities, the activities were organized each week and during the National Science Week. The activities which were arranged the most were science quiz contest and science exhibitions.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาวิทยาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74040
ISBN: 9745789348
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Natjaree_le_front_p.pdf915.22 kBAdobe PDFView/Open
Natjaree_le_ch1_p.pdf744.88 kBAdobe PDFView/Open
Natjaree_le_ch2_p.pdf2.5 MBAdobe PDFView/Open
Natjaree_le_ch3_p.pdf821.07 kBAdobe PDFView/Open
Natjaree_le_ch4_p.pdf3.11 MBAdobe PDFView/Open
Natjaree_le_ch5_p.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Natjaree_le_back_p.pdf1.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.