Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74085
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการทำงานกับภาระกล้ามเนื้อ หลังที่วัดด้วยคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ : กรณีศึกษาของสายการประกอบรถบรรทุกขนาดเล็ก 1 ตัน
Other Titles: Relationship between work factors and back load measured by electromyography : a case study of a 1-ton pick up assemblylin
Authors: อำนาจ เสตสุวรรณ
Advisors: กิตติ อินทรานนท์
นิวัติ เทพาวราพฤกษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: โรคเกิดจากอาชีพ
ปวดหลัง
การบันทึกคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ
อุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ -- ลูกจ้าง -- โรค
การทำงาน -- แง่สรีรวิทยา
Issue Date: 2537
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาปัจจัยที่อาจมีผลสัมพันธ์กับอาการปวดหลังอันเนื่องมาจากการทำงานในสายการประกอบรถบรรทุกขนาดเล็ก 1 ตัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาปัญหาในโรงงานประกอบรถบรรทุกขนาดเล็ก 1 ตัน 2 ) หาภาระงานของกล้ามเนื้อหลังขณะทำงาน โดยการวัดคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ (electromyography, EMG) 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการทำงานต่อภาระกล้ามเนื้อหลัง 4) เสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาหรือบรรเทาอาการปวดหลังในการทำงาน ผู้วิจัยได้ทำการสัมภาษณ์เพื่อประเมินความรุนแรงของปัญหาและคัดเลือกคนงานเพื่อทดลองทั้งหมด 34 คนใน 5 แผนก และได้ทดลองเก็บข้อมูลการทำงานทั้งหมด 46 งานจากผู้ถูกทดลองเหล่านี้โดยการวัด EMG และวิเคราะห์ท่าการทำงานจากภาพวีดีโอโดยใช้เทคนิค RULA (rapid upper limb assessment) ผลการทดลองพบว่า ค่าเปอร์เซ็นต์ของคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อสูงสุดในการทำงาน (%maximum voluntary electromyography, %MVE) กับคะแนน RULA จากการประเมินท่าการทรงตัวในการทำงาน มีความสัมพันธ์กันเชิงเส้นตรงอย่างมีนัยสำคัญในทางสถิติ ปัจจัยในการทำงานที่สนใจคือท่าการก้มของหลัง น้ำหนักชิ้นงาน ความสูงในการทำงานและระยะเวลาในการทำงาน ให้ผลการทดลองว่ามีผลต่อ %MVE เชิงเส้นตรงอย่างมีนัยสำคัญในทางสถิติและโดยใช้การประยุกต์ทฤษฎีของฟัชซีเชตในการหาความสำคัญของปัจจัยการทำงานที่พบว่าการก้มของหลังมีผลกระทบมากที่สุด น้ำหนักชิ้นงาน ความสูงในการทำงานและระยะเวลาในการทำงานมีความสำคัญรองลงมาตามลำดับผลการทดลองโดยใช้เกณฑ์การตัดสิน 3 อย่างคือ คะแนนการประเมินท่าการทำงานด้วยเทคนิค RULA ที่มากกว่า 5 ค่า %MVE ที่เกินกว่า 30 และค่าดัชนีความไม่ปรกติที่เกินกว่า 3 สามารถอธิบายได้ว่างาน 16 ชนิดจากทั้งหมด 46 งานเป็นงานที่มีอันตราย และต้องมีการปรับปรุงทันที
Other Abstract: The research studied work factors that could cause back pain symptoms to workers in a 1-ton truck assemblyline. The research objectives were 1) to survey the problems in 1-ton truck assemblyline, 2) to investigate back load by electromyography (EMG) , 3) to analyse the relationship between work factors and backload, 4) to suggest solutions to the problems or reduce back pain symptoms on the job. The researcher interviewed workers to assest the severity of problems and selected 34 persons from 5 sections to be experimental subjects. The experiments were conducted by EMG measurement and data on working postures were analysed by a technique called RULA (rapid upper limb assessment) in 46 types of work based on the subjects. The results showed a linear relationship between values of percentage maximum voluntary electromyography, %MVE and RULA scores from working posture analysis with statistical significance. The interested work factors: bending back posture, weight of the work piece, work station height and work period were linear related to %MVE with statistical significance. Applying fuzzy set theory to investigate work factors serious priority, it was found that bending back posture was the most important factor, followed by weight of the workpiece, work station height and work period, respectively. The results were analysed based on the three criteria, namely (1) posture score with RULA greater than 5, (2) %MVE values greater than 30 %, and (3) abnormal index (AI) from the questionnaires greater than 3. Sixteen out of the 46 types of work were found to be dangerous and required improvement immediately.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74085
ISSN: 9745845914
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Aumnaj_se_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ972.56 kBAdobe PDFView/Open
Aumnaj_se_ch1_p.pdfบทที่ 1761.65 kBAdobe PDFView/Open
Aumnaj_se_ch2_p.pdfบทที่ 21.74 MBAdobe PDFView/Open
Aumnaj_se_ch3_p.pdfบทที่ 3963.43 kBAdobe PDFView/Open
Aumnaj_se_ch4_p.pdfบทที่ 41.18 MBAdobe PDFView/Open
Aumnaj_se_ch5_p.pdfบทที่ 5728.81 kBAdobe PDFView/Open
Aumnaj_se_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก8.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.