Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74191
Title: Pharmacokinetics of morphine related to the regulation of gonadal and thyroidal functions in pubertal and adult male cynomolgus monkeys
Other Titles: เภสัชจลนพลศาสตร์ของมอร์ฟีน ที่สัมพันธ์กับการควบคุมการทำงานของฮอร์โมนสืบพันธุ์ และฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ ในลิงหางยาวเพศผู้วัยรุ่น และวัยเจริญพันธุ์
Authors: Suchinda Malaivijitnond
Advisors: Puttipongse Varavudhi
Makhumkrong Poshyachinda
Other author: Chulalongkorn University. Graduate School
Subjects: มอร์ฟีน -- เภสัชจลนศาสตร์
โปรแลคติน -- ผลกระทบจากมอร์ฟีน
คอร์ติซอล -- ผลกระทบจากมอร์ฟีน
เทสทอสเตอโรน -- ผลกระทบจากมอร์ฟีน
ฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ -- ผลกระทบจากมอร์ฟิน
ธัยรอกซิน -- ผลกระทบจากมอร์ฟิน
ลิงหางยาว
ลิงหางยาว -- ฮอร์โมนเพศ
Morphine -- Pharmacokinetics
Prolactin
Thyrotropin
Cynomolgus monkeys
Issue Date: 1994
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: The purposes of this this study are 1) to investigate the acute effect of morphine hydrochloride on serum prolactin (PRL), thyrotropin (TSH), thvroxin (T₄), testosterone (T) and cortisol (C) levels in pubertal male cynomolgus monkeys comparing to adult male monkeys and 2) to follow the alterations of T, E₂, PRL, T₄ , TSH and C related to pharmacokinetics of morphine hydrochloride during long-term treatment and drug withdrawal periods including some physiological changes. Monkeys were divided into 3 groups 1) pubertal group injected with 3.0 mg/kg/day for 74 days 2) adult group with was subdivided into 3 groups injected with 1.5, 3.0 and 6.0 mg/kg/day morphine for 130, 74 and 110 days, respectively and 3) control group injected with 0.5 ml saline for 149-170 days. Acute effect of subcutaneous injection of morphine at the dose 3.0 mg/kg to 3 pubertal monkeys and 1.5, 3.0 and 6.0 mg/kg to 4, 3 and 3 adult monkeys, respectively showed that PRL began to increase at 15 min and peaked at 30 min, whereas T and C declined to a nadir at 6.5-10 h and 2.5 h, respectively. The decreased or increased levels of these hormones related to the dose of morphine injected. However, serum TSH and T₄ levels determination follow up to 10 h did not show any change. A circadian pattern of some hormones was observed. Long-term daily morphine injection of which each blocd sample was taken 20 h after injection did not show any prominent changes of hormonal levels in any monkey groups and the alteratior of turnover rate was distinctive in each group. Monkey injected with 1.5 and 3.0 mg/kg/day morphine exhibited a decrease in turnover rate values while in dose 6.0 mg/kg/day injection was negligible any effect. It means that monkeys can adjust themselves to the effect and disposition of drug after daily morphine administration (pharmacological and dispositional). Cortisol, a prerequisite hormone for stress levels, showed a marked increase during the drug withdrawal symptoms in all monkeys. This sudden increase of cortisol levels could influence on T₄, E₂ and testosterone levels and these alterations could recover within 1 month. Transient hyperprolactinemia happened every day from each morphine injection could also induce galactorrhea symptom when it was synchronous with the markedly decrease in testosterone levels in male cynomolgus monkeys particularly in susceptible monkeys whom displayed the high basal PRL levels. The colour of excretion was principally depend upon the level of PRL. If it inferred to the effect of morphine to induce PRL elevation, milk excretion, anorexia, and decrease in testosterone levels, testicular size and body weight, these effects may cause an infertility in male cynomolgus monkeys. However, these effects could return to normal after the drug withdrawal and its latency depended upon the dose of morphine injection.
Other Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาฤทธิ์เฉียบพลันของมอร์ฟินไฮโดรคลอไรด์ต่อระดับฮอร์โมน โปรแลคติน (PRL), ไทโรโทรฟิน(TSH), ไทรอกซิน (T₄) , เทสโทสเตอโรน( T )และคอร์ติซอล( C )ในลิงหางยาวเพศผู้วัยรุ่นเปรียบเทียบวัยเจริญพันธุ์ 2) ติดตามการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศ (T, E₂ , PRL), ฮอร์โมนต่อมไทรอยด์ (T₄ , TSH) และคอร์จิซอล ที่สัมพันธ์กับเภสัชจลนพลศาสตร์ของมอร์ฟิน ภายหลังจากที่ใช้ยาเป็นระยะเวลานาน และภายหลังจากหยุดให้ยา และการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาบางประการที่เกี่ยวข้องในการทดลองได้แบ่งสัตว์ทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มลิงวัยรุ่น ให้มอร์ฟินไฮโดรคลอไรด์ ขนาด 3.0 มก. / กก. / วัน นาน 74 วัน 2) กลุ่มวัยเจริญพันธุ์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย ให้มอร์ฟินขนาด 1.5, 3.0 และ 6.0 มก. / กก. / วัน นาน 130, 74 และ 110 วัน ตามลำดับ และ 3) กลุ่มควบคุม ให้น้ำเกลือ (0.85% NaCl) 0.5 มล. นาน 149-170 วัน ผลการศึกษาฤทธิ์เฉียบพลันของมอร์ฟินไฮโครคลอไรด์ขนาด 3.0 มก. / กก. ในลิงวัยรุ่น 3 ตัว และขนาด 1.5, 3.0 และ 6.0 มก. / กก. ในลิงวัยเจริญพันธุ์ จำนวน 4, 3 และ 3 ตัว ตามลำดับ พบว่าจะมีผลไปเพิ่มระดับ PRL ในซีรัมภายใน 15 นาที และมีระดับสูงสุดที่ 30 นาที ในขณะที่ระดับ T และ C ลดลง ต่ำที่เวลา 6.5-10 และ 2.5 ชั่วโมง ตามลำดับ โดยระดับที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงของฮอร์โมนเหล่านี้จะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับขนาดของมอร์ฟินที่ได้รับ ถึงแม้ว่าจะติดตามศึกษานานถึง 10 ชั่วโมงภายหลังฉีดมอร์ฟิน ก็ไม่พบการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนของระดับ TSH และ T₄ ในลิงทุกกลุ่ม แต่พบว่าฮอร์โมนบางตัวมีรูปแบบการหลั่งเป็น circadian rhythm เมื่อติดตามศึกษาถึงผลระยะยาวจากการให้มอร์ฟินทุกวัน โดยแต่ละครั้งของการตรวจวัดระดับฮอร์โมนจะทำที่ 20 ชั่วโมงภายหลังการฉีดยาพบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนของระดับฮอร์โมนในลิงทุกกลุ่ม และการเปลี่ยนแปลงของ metabolic turnover rate ในลิงแต่ละกลุ่มก็แตกต่างกัน โดยในลิงกลุ่มที่ได้รับมอร์ฟินในขนาด 1 .5 และ 3.0 มก. / กก. / วัน มีค่าลดลงแต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในลิงกลุ่มที่ได้รับมอร์ฟินในขนาด 6 .0 มก. / กก. / วัน ซึ่งแสดงว่าลิงสามารถปรับตัวต่อขนาดและฤทธิ์ของมอร์ฟินที่ได้รับในแต่ละวัน (dispositional และ pharmacodynamjc tolernces) พบว่าฮอร์โมนคอร์ติซอลที่เป็นดัชนีสำคัญในการบ่งชี้ถึงระดับความเครียด มีค่าเพิ่มสูงขึ้นภายหลังจากหยุดใช้ยาและสัมพันธ์กับอาการถอนยาที่เกิดขึ้นในลิงทุกตัว ซึ่งการเพิ่มสูงขึ้นอย่างเฉียบพลันของ C สามารถมีผลกระทบต่อระดับ T, E₂ และ T₄ ได้ และการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวสามารถปรับคืนสู่ระดับปกติได้เองภายใน 1 เดือน การฉีดมอร์ฟินแต่ละครั้งที่กระตุ้นให้ระดับ PRL ในซีรัมสูงมากในระยะเวลาสั้น ๆ (transient hyper-prolactinemia ) เป็นประจำทุกวัน สามารถทำให้ลิงเพศผู้ที่อยู่ในภาวะที่ไวต่อการถูกกระตุ้น เกิดภาวะgalactorrhea ได้เมื่อมีระดับ T ในซีรัมลดต่ำลงอย่างชัดเจน โดยทั่วไปลิงที่มีระดับพื้นฐานของ PRL ค่อน ข้างสูงจะมีความไวต่อการถูกกระตุ้นให้เกิดภาวะน้ำนมไหลได้ดีกว่าลิงที่มีระดับพื้นฐานของ PRL ต่ำกว่า นอกจากนี้ยังพบว่าสีของน้ำนมที่หลั่งก็ขึ้นอยู่กับระดับของ PRL เป็นสำคัญด้วย การที่มอร์ฟินทำให้ลิงมีระดับ PRL เพิ่มสูง มีน้ำนมไหล และลดระดับการสร้าง T แล้ว ลิงยังเกิดอาการเบื่อาหาร ขนาดของอัณฑะและน้ำหนักตัวก็ลดลงอย่างชัดเจนเช่นกันภาวะเช่นนี้จะส่งผลให้ลิงหมดความต้องการทางเพศและไม่มีประสิทธิภาพในการสืบพันธุ์ แต่ผลดังกล่าวสามารถกลับคืนสู่สภาวะปกติได้เมื่อหยุดให้ยา โดยระยะเวลาที่ใช้ในการปรับตัวจะขึ้น อยู่กับขนาดของยาที่ได้รับ
Description: Thesis (M.Sc) --Chulalongkorn University, 1994
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Biological Sciences
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74191
ISBN: 9745847887
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suchinda_ma_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.21 MBAdobe PDFView/Open
Suchinda_ma_ch1_p.pdfบทที่ 1894.56 kBAdobe PDFView/Open
Suchinda_ma_ch2_p.pdfบทที่ 21.75 MBAdobe PDFView/Open
Suchinda_ma_ch3_p.pdfบทที่ 31.91 MBAdobe PDFView/Open
Suchinda_ma_ch4_p.pdfบทที่ 44.38 MBAdobe PDFView/Open
Suchinda_ma_ch5_p.pdfบทที่ 52.15 MBAdobe PDFView/Open
Suchinda_ma_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก2.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.