Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74439
Title: สาแหรกของแนวคิดนโยบายการปกครองท้องถิ่นรูปแบบเทศบาลของไทย (พ.ศ. 2436 - 2478)
Other Titles: A geneology of local government policy in Thailand : the idea of municipality (Tessaban) during the era of absolute monarchy (1893 - 1935)
Authors: จีรวุฒิ บุญรัศมี
Advisors: วงอร พัวพันสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Subjects: เทศบาล
สุขาภิบาล
การปกครองท้องถิ่น -- ไทย
ไทย -- การเมืองและการปกครอง
Municipal government
Sanitation
Local government -- Thailand
Thailand -- Politics and government
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้ มุ่งศึกษาเบื้องหลังแนวคิดและการก่อตัวของนโยบายการปกครองท้องถิ่นรูปแบบเทศบาลของไทย ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนกระทั่งเริ่มเผยตัวตนขึ้นในช่วงรัชกาลที่ 7 (พ.ศ. 2436 – 2478) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้คำอธิบายว่าแนวคิดศุขาภิบาลได้คลี่คลายมาเป็นเทศบาลได้อย่างไร โดยใช้วิธีการศึกษาแบบวิธีวิจัยประวัติศาสตร์สาแหรก (Genealogy) ของ Michel Foucault รวมไปถึงตรวจสอบประเด็นปัญหาและข้อจำกัดต่าง ๆ อันเป็นผลให้แนวคิดการปกครองท้องถิ่นรูปแบบเทศบาลในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่ถูกนำมาประกาศใช้จนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบประชาธิปไตยในเวลาต่อมา พบว่า ในระยะแรกรัฐบาลของรัชกาลที่ 5 ได้นำรูปแบบบางประการของคณะกรรมการด้านสุขาภิบาล(Sanitary Board) ที่มีตัวอย่างจากดินแดนอาณานิคมของอังกฤษ มาปรับใช้เป็น “ศุขาภิบาล” ในไทย อันมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันและระงับโรคระบาดตามความเชื่อของทฤษฎีอายพิษ (Miasma) แต่ยังคงไว้ซึ่งหลักการบางประการของแนวคิดการปกครองท้องถิ่นรูปแบบเทศบาล (Municipal) อาทิ เงินผลประโยชน์ในท้องถิ่น ซึ่งสมัยนั้นชนชั้นนำเรียกศุขาภิบาลเหล่านี้ว่า “ศุขาภิบาลตามหัวเมืองคล้ายลักษณะมิวนิซิเปอล” ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 แนวคิดรัฐกับการสาธารณสุขได้พัฒนาขึ้นสู่จุดสูงสุดในไทย มีการจัดตั้ง “กรมสาธารณสุข” ขึ้นและให้กรมดังกล่าวกำกับดูแลกิจการศุขาภิบาล จึงทำให้รูปแบบ “ศุขาภิบาลตามหัวเมืองคล้ายลักษณะมิวนิซิเปอล” ในรัชกาลก่อนถูกกดทับและเน้นหนักไปที่พันธกิจของการสาธารณสุขมากจนเกินไป เมื่อล่วงเข้าสู่รัชกาลที่ 7 รัฐบาลโดยพระราชดำริของพระมหากษัตริย์มีพระประสงค์อย่างยิ่งที่จะจัดตั้งเทศบาลขึ้นมาจริง ๆ โดยการปรับปรุงศุขาภิบาลทั่วประเทศเป็นเทศบาลอันมีฐานะเป็นนิติบุคคล จนนำไปสู่การร่างพระราชบัญญัติเทศบาลเป็นผลสำเร็จ แต่กลับถูกคัดค้านจากเสนาบดีเนื่องจากกฎหมายฉบับดังกล่าวให้สิทธิ์ทางการเมืองแก่ชาวต่างชาติมากเกินไป ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2475 รัฐบาลคณะราษฎรได้นำพระราชบัญญัติเทศบาลของรัชกาลที่ 7 มาแก้ไขปรับปรุงจนกระทั่งประกาศใช้เป็นผลสำเร็จ จึงกล่าวได้ว่าสาแหรกแนวคิดการปกครองท้องถิ่นรูปแบบเทศบาลในไทยใช้เวลากว่าจะเผยตัวกว่า 4 ทศวรรษ อีกทั้งระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการพัฒนาแนวคิดการปกครองท้องถิ่นแต่อย่างใด อย่างไรก็ดี การปกครองท้องถิ่นรูปแบบเทศบาลของประเทศไทยเป็นการอนุญาตและจัดให้มีขึ้นโดยรัฐบาล (State-created)
Other Abstract: This study traces the policy ideas to establish and implement local government in Thailand, namely, the municipality (Tessaban), during the regime of King Rama V to King Rama VII (1893-1935) by using Michel Foucault’s concept of Genealogy. It examines how these ideas clashed and were constrained by historical and political forces. The result was that Tessaban was only materialised in 1933 by the Act of Municipality, exceeding the era of absolute monarchy. The study reveals that the Thai monarches did have progressive ideas about implementing Tessaban as a means to enhance local autonomy. However, in the absolute monarchy period, the autonomy of the local government was only granted in the domain of public health in the form of the establishment of Sanitary Districts (Sukapibans). During the reign of King Rama V, the royal government had brought some models of ‘Sanitary Board’ from British Empire to suppress the epidemics. To solve the public health crisis, the government came along with the solution by organising ‘the Sanitary Boards’ (Sukapibans) in Bangkok and rural districts around the kingdom by launching royal decrees during 1897 - 1908 which were called ‘Municipal-like Rural District Sanitary Board’ (Sukapiban huameung klai laksana Municipal). During the reign of King Rama VI, The government decided to increase the importance of ‘Public Health policy’ over the ‘Municipal-like Rural District Sanitary Board’ resulting in its fading of municipal-like characteristics and becoming branches of the newly-established Department of Public Health. In the reign of King Rama VII, the King had determined to install the ‘real’ municipal bodies by upgrading all ‘Sanitary Board’ (Sukapibans) around the kingdom. It led to the process of law-making and the result was the first ‘Act of Municipality 1930’. However, the draft Act was rejected by The Council of State due to the fear of granting foreigners in the kingdom too much political power. In sum, the genealogy of Thailand’s municipality took approximately 4 decades before Act of Municipality did emerged in 1933. It is clear that the Thai absolutist elites did not oppose local autonomy as argued by some scholars. However, the study reveals that the development of Thailand’s local government has been one that is initiated and driven by the central government.
Description: สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: รัฐประศาสนศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74439
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.453
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2020.453
Type: Independent Study
Appears in Collections:Pol - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6181049924.pdf3.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.