Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74457
Title: การวิเคราะห์การนำนโยบายการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไปปฏิบัติกรณีศึกษา จังหวัดสิงห์บุรี
Other Titles: Analysis on coronavirus disease (covid-19) preventionpolicy implementation in case of Singburi province
Authors: ปรัธยาน์ ดำศรี
Advisors: วันชัย มีชาติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Subjects: การนำนโยบายไปปฏิบัติ
การระบาดใหญ่ของโควิด-19, ค.ศ. 2020-
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการดำเนินการ และปัญหา อุปสรรคของการนำนโยบายการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไปปฏิบัติ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ และการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (In-depth Interview) ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และประชาชนในพื้นที่จังหวัด ทั้งหมด 26 คน พบว่า นโยบายและมาตรการของรัฐบาลในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ถูกกำหนดในรูปแบบกฎหมาย นำนโยบายมาปฏิบัติผ่านคณะกรรมการ ด้วยการประชุม สั่งการ/มอบหมายงานที่มีความชัดเจน ปัจจัยด้านการสื่อสารของหน่วยงาน มีการใช้ช่องทางการสื่อสาร ทั้งในรูปแบบการสั่งการในที่ประชุม เอกสารทางราชการ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลตอบสนองต่อสถานการณ์ได้รวดเร็ว ปัจจัยด้านศักยภาพของหน่วยงาน ในส่วนทรัพยากรด้านงบประมาณ อุปกรณ์ เครื่องมือ ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน ปัจจัยด้านคุณลักษณะของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ ที่เป็นคนในพื้นที่ ส่งผลให้สามารถขอความร่วมมือการปฏิบัติตามมาตรการได้ และปัจจัยด้านภาวะผู้นำ ผู้ว่าราชการจังหวัด มีการวางแผนเตรียมการรับมือกับสถานการณ์ และบัญชาสั่งการที่ชัดเจน โดยการติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามมาตรการอย่างเข้มข้น ส่งผลให้สามารถนำนโยบายไปปฏิบัติได้ตามวัตถุประสงค์ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คือ ควรมีการบริหารจัดการให้มีศูนย์ข้อมูลกลางของจังหวัด เพื่อใช้ในการวางแผน ประกอบการตัดสินใจ และควรมีการจัดโครงสร้างหลักในการบริหารจัดการ ที่บูรณาการหน่วยงานต่างๆ เพื่อลดความซ้ำซ้อนกันของภารกิจ
Other Abstract: The objective of this study was to study process and obstacles of the implementation of the epidemic prevention policy of the 2019 coronavirus disease. Methodology was the qualitative research by applying an in-depth interview, collecting data from administrators, practitioners and 26 people in the provincial area. The results were; government policies and measures to prevent the spread of COVID-19 were formulated in legal form, implement through the committee by meeting / command / assign all relating missions with clarity. Communication factor were used both in the form of ordering at the meeting, official documents and the use of digital technologies responded immediately to the situation. Potential factor, the budget resources and equipment were not sufficient for the operation. Characteristics of policy leaders factor, who were local people. As a result, it could be asked for cooperation in implementing the measures. Finally, leadership factors, the governor had prepared plans to deal with the situation and command with explicit instructions by monitoring and evaluating the results of the measures intensively. As a result, the policies could be implemented under objectives. According to all mentioned results, researcher has policy recommendations as follows; Province should establish a central data center for planning and making decisions. Lastly, province should instruct a managerial structure in which integrates various provincial agencies to reduce the redundancy of missions.
Description: สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: รัฐประศาสนศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74457
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.379
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2020.379
Type: Independent Study
Appears in Collections:Pol - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6181068824.pdf16.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.